“เหนียวห่อกล้วยก็คือข้าวต้มมัดในภาคกลางนั่นแหละ บ้านยายทำมาตั้งแต่รุ่นคุณยายของยายแล้ว ตอนเด็กๆ ยายก็ช่วยคุณยายและแม่ของยายห่อ ตอนนั้นขายห่อละ 25 สตางค์ ขายที่บ้านบ้าง ไปฝากขายตามร้านค้า บางครั้งเอาไปขายแผงลอยริมถนน หรือไม่ก็เดินเร่ขายในปากพูน
ตอนกลับมาเริ่มขายใหม่ คนในชุมชนเขาก็สงสัยว่าเหนียวห่อกล้วยนี่นะ คือที่ไหนเขาก็ทำกัน จะขายได้สักเท่าไหร่เชียว แต่ยายก็บอกว่าเราไม่ได้ขายให้คนในชุมชนน่ะ เพราะพอหลานมาช่วย เขาก็ทำเพจเฟซบุ๊คและมีหน้าร้านใน Shopee
ช่วงปี 2563 นี่ขายดีมาก จำได้ว่าวันหนึ่งมีออร์เดอร์มากถึง 70 กิโลกรัม ถ้านับเป็นจำนวนคือ 2,000 คู่ต่อวัน ต้องมีแรงงานมาช่วยยายห่อวันละ 12 คน ยิ่งพอโควิดมา ธุรกิจคนอื่นเขาซบเซา แต่ยอดขายออนไลน์ของเรานี่สูงมาก ทำเป็นโรงงานเลย บางวันเริ่มทำตอน 7 โมงเช้า เสร็จเอาอีกที 4 ทุ่มก็มี
กล้วยที่ยายใช้เป็นกล้วยน้ำว้าจากอำเภอปากพนัง แม้หน้าตาจะไม่สวย แต่มีรสหวานอร่อย และไม่มีเม็ด ข้าวเหนียวที่ใช้ห่อสั่งมาจากขอนแก่น ส่วนกะทิเราคั้นสดจากมะพร้าวของปากพูนเรานี่เอง มีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อม ทุกคนจะรู้กันว่าเหนียวห่อกล้วยยายศรีกัดคำแรกก็เจอกล้วย คำสุดท้ายก็เจอกล้วย
จะให้ฝากอะไรหรอ ยายไม่รู้สิ เอาเป็นประโยคที่รายการมนุษย์ต่างวัยเขาเคยมาทำลงยูทูป และให้ยายกับเพื่อนๆ ช่วยกันพูดโฆษณาใส่กล้องแล้วกัน จำได้ว่าเพื่อนๆ ยายมีเป็นสิบคน รวมอายุกันได้น่าจะเป็นพันปี (หัวเราะ) เราตะโกนประโยคนี้อยู่หลายครั้งจนผู้กำกับเขาพอใจ ยังจำได้ดีเลย (ยิ้ม) #เหนียวห่อกล้วยยายศรีไม่ได้มีดีแค่สูตรโบราณแต่เป็นเหนียวห่อกล้วยเปลี่ยนชีวิตตตตต (ลากเสียงยาว)
บุญศรี นางนวล
เจ้าของร้านเหนียวห่อกล้วยยายศรี
https://www.facebook.com/kanom.kunyaysri/
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…