เห็นๆ อยู่ว่านครศรีธรรมราชมีวิทยาลัยศิลปะ ศิลปินอยู่กันที่นี่เยอะ แต่เรากลับแทบไม่มีพื้นที่แสดงผลงานให้พวกเขาเลย

“พื้นเพผมเป็นคนกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี มาอยู่นครศรีธรรมราชเพราะมาเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม

เมื่อก่อนอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน พอจบมาใหม่ๆ ก็ไปอยู่กับพี่ดิเรก สีแก้ว

พี่ดิเรกค่อนข้างมีอิทธิพลกับผม เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ผมออกจากงานร้านป้ายไปรับงานเขียนรูปเหมือนอยู่เกาะสมุย พอมีโอกาสได้พบปะแกบ้าง เห็นว่าแกหันมาเขียนบทกวี ผมก็สนใจการอ่านการเขียนตามแกไปด้วย จนมีรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์เป็นของตัวเองเล่มแรก (‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’, รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2554 – ผู้เรียบเรียง)

หลังจากหันมาเขียนหนังสือเป็นหลักอยู่ 3-4 ปี ก็มีคนรู้จักมาชวนให้ผมไปปั้นรูปปั้นสำหรับถวายวัด ช่วงนั้นไอ้ไข่วัดเจดีย์กำลังดัง ก็เลยได้งานปั้นรูปปั้นไก่แก้บนให้กับร้านค้าแถวนั้น ปรากฏว่างานชุกมาก ปั้นกันไม่ทัน จะบอกว่าขายดีจนเจ๊งก็ได้ เพราะทำไม่ทัน ออเดอร์เยอะจนเราทำงานเหมือนกรรมกร จึงขอหยุดดีกว่า

ทุกวันนี้ผมกลับมาปลูกบ้านอยู่กับแฟนที่อำเภอช้างกลาง ได้เขียนการ์ตูนอย่างที่เคยฝันไว้ตอนหนุ่มๆ (‘นักล่าวาฬ’ นิยายภาพรางวัลชนะเลิศ 7 Books Awards 2565) ทำภาพประกอบให้สำนักพิมพ์ของแฟน (สำนักพิมพ์เวลา https://www.facebook.com/TimePublishing) และเขียนหนังสือของตัวเอง

ทำไมต้องเป็นนครใช่ไหม นั่นสิ ผมเคยอยู่มาทั้งสุราษฎร์ เกาะสมุย ภูเก็ต และหาดใหญ่ แต่ก็พบว่าไม่มีที่ไหนดึงดูดผมได้เท่าที่นี่ อาจที่นี่เป็นเมืองใหญ่ที่ยังมีความเป็นท้องถิ่นอยู่ ขณะเดียวกันก็มีบรรยากาศของการศึกษาเรียนรู้อยู่ด้วย

ผมสังเกตว่าผู้คนในเมืองใหญ่ที่อื่นเขามักจะคุยเรื่องเงิน เรื่องความมั่งคั่งของตัวเอง แต่กับคนนคร ดูมีมิติที่น่าสนใจกว่า มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนมุมมองทางสังคม มีความตรงไปตรงมาแต่ก็เป็นมิตร มีลูกล่อลูกชน และอารมณ์ขัน มันมีบรรยากาศของคนมีความรู้มานั่งคุยกันสนุกๆ มากกว่า นี่อาจเป็นเหตุผลที่ผมวนเวียนใช้ชีวิตอยู่ที่นี่

นครมันเป็นเมืองที่มีบรรยากาศของการเรียนรู้ แต่พื้นที่เพื่อการเรียนรู้กลับไม่ค่อยมี เราไม่มีร้านหนังสืออิสระ แกลเลอรี่ หรือพื้นที่และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เท่าไหร่

ผมยังหวังเลยว่าคงดีมากๆ ถ้าวันเสาร์หรืออาทิตย์ ขับรถออกจากบ้านเข้าเมืองมาดูหนัง ซื้อหนังสือไปอ่านที่ร้านกาแฟ และแวะดูงานศิลปะก่อนกลับ นครคงน่าอยู่กว่านี้อีกไม่น้อย”   

จเด็จ กำจรเดช
นักเขียน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago