“พี่เป็นคนอยุธยา แต่สามีเป็นคนแก่งคอย พอแต่งงานกัน ก็เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ มาช่วยสามีทำกระชังปลาที่ตำบลบ้านป่า (พงศ์ศักดิ์แพปลา)
สามีพี่ทำแพปลาจนอยู่ตัวและส่งลูกเรียนจนจบหมด พี่ก็เริ่มมีเวลาว่าง เลยชวนแม่บ้านมาตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชนด้วยกัน เพราะเห็นว่าแต่ละคนก็มีทักษะการทำขนม เลยเอาความรู้มาแบ่งปันกัน และทำกลุ่มทำขนมส่งขายตามที่ต่างๆ เราตั้งกลุ่มในปี 2561 มีสมาชิก 47 คน แต่หลักๆ จะมีแม่บ้านหมุนเวียนมาทำขนมราวๆ 6-7 คน
ทำขนมไทยค่ะ ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ข้าวเหนียวสังขยา และอื่นๆ พวกขนมสดนี่เราจะไม่ได้วางขายที่ไหน ทำตามออร์เดอร์เป็นหลัก เช่นทำเป็นของว่างสำหรับงานสัมมนาหรือประชุม ทำให้เจ้าภาพไปแจกในงานบุญ เป็นต้น ส่วนขนมแห้งที่เก็บไว้ได้นานหน่อย เช่น ทองม้วน ดอกจอก โรตีกรอบ นี่จะทำขายโดยฝากขายตามร้านต่างๆ ในแก่งคอยและอำเภอใกล้เคียง ถ้าขนมตัวไหนหมด เราก็จะมารวมกันทำด้วยกันที่นี่
ตรงนี้เดิมเป็นศูนย์เกษตรชุมชน แต่ทางศูนย์เขาไม่ได้ดำเนินการต่อ หน่วยงานราชการท้องถิ่นเขาเลยชวนกลุ่มพี่มาใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อทำขนม ก็จะมาเจอกันที่นี่ ไม่ได้ทำทุกวันค่ะ ถ้ามีออร์เดอร์เราถึงจะมา หรือขนมแห้งตัวไหนหมด เราก็นัดกันเข้ามาทำ
ขนมขายได้เท่าไหร่ เราก็แบ่งให้คนทำเท่าๆ กัน โดยส่วนหนึ่งก็แบ่งเข้ากลุ่มสำหรับค่าน้ำไฟหรืออื่นๆ ไม่ใช่เงินที่เยอะอะไร แต่ก็พอเป็นรายได้เสริมให้แม่บ้านทุกคน แต่สำคัญกว่านั้น คือการที่เรามีพื้นที่และมีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน เหมือนมาเจอเพื่อน มาคุยเล่นกัน ไม่เหงาดี
ทุกวันนี้กลุ่มสัมมาชีพชุมชนเราได้งบจากสำนักงานเกษตรอำเภอแก่งคอยมาขับเคลื่อนด้วย และขยับมาเป็น ‘วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่า’ เลยได้โอกาสเป็นที่ศึกษาดูงานให้กับกลุ่มอื่นๆ หรือถ้ามีงบประมาณมา เขาก็จะพากลุ่มเราไปศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนอื่นด้วย ก็ได้เรียนรู้วิธีการทำงานหรือการหาช่องทางการตลาดของชุมชนอื่นไปพร้อมกันด้วย เป็นประโยชน์มากๆ
พี่มีลูกสองคน คนโตแต่งงานไปอยู่กับครอบครัวเขาที่อยุธยา ส่วนลูกคนเล็กเป็นพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล และก็ช่วยพ่อเขาทำกระชังปลา ถามว่าแก่งคอยในมุมพี่เป็นยังไง? จริงๆ ถ้าไม่ได้แต่งงานมาอยู่ที่นี่ พี่ก็ไม่คิดจะมาอยู่เลยนะ เพราะไม่รู้จะมาทำไม แต่พอมาอยู่แล้วก็ผูกพัน
แก่งคอยน่าอยู่นะ ถึงเมืองมันมีโรงงานอุตสาหกรรมเยอะ แต่ก็มีป่า มีภูเขา มีพื้นที่ธรรมชาติไม่น้อยไปกว่ากัน ขณะเดียวกัน พอเป็นเมืองอุตสาหกรรม มันก็ทำให้เราหากินง่าย ผู้คนมีกำลังซื้อ และถ้าให้เปรียบกับบ้านเกิดพี่ที่อยุธยา พี่ชอบแก่งคอยมากกว่า เมืองมันสงบ ไม่วุ่นวายดี และหน่วยงานท้องถิ่นที่นี่เขาค่อนข้างแอคทีฟ ทั้งภาครัฐและเอกชนเขามีโครงการมาส่งเสริมอาชีพชาวบ้านเยอะดี ช่วยหาตลาด หรือส่งเสริมเรื่องการทำมาหากินให้เรา ถึงเมืองมันสงบ แต่ก็ไม่เงียบเหงา”
จำเนียร โกจันทึก
ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านป่า
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…