“ผมเรียนจบด้านไบโอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา จบมาช่วงโควิดพอดี เลยคิดว่ากลับมาตั้งหลักที่แก่งคอยบ้านเกิดเราก่อน เพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุเยอะ ก็กลับมาช่วยพ่อดูแลอากง อาม่า และอาโก
พอดีกับตอนที่กลับทางบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ได้ร่วมกับ Depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และเทศบาลเมืองแก่งคอย ทำโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่มาทำงานโครงการสมาร์ทซิตี้เชื่อมกับทางเทศบาล ผมเลยสมัครเข้ามาทำงานนี้ และความที่ผมทำธุรกิจส่วนตัวปลูกผักไฮโดรโปนิกในโรงเรือนที่บ้านอยู่แล้วด้วย โดยส่งขายที่ร้านของพ่อในตลาดสดเป็นหลัก งานใหม่นี้ก็เลยลงตัว ได้ทำงานออฟฟิศตอนกลางวัน ได้ปลูกผักขายหารายได้เสริมที่บ้าน และมีเวลาให้ครอบครัว ที่สำคัญงานประจำนี้ ยังมีส่วนในการร่วมหาทิศทางพัฒนาบ้านเกิดผมไปพร้อมกันด้วย
บทบาทของนักดิจิทัลพัฒนาเมืองของผม นอกจากประสานระหว่าง Depa กับทางเทศบาล คือคิดโครงการที่น่าจะช่วยพัฒนาเมืองหรือส่งเสริมอาชีพผู้คนในเมืองได้ ก็มีเขียนโครงการ ‘สวนผักกินได้กินดี’ ส่งเสริมให้ชาวบ้านทั้ง 16 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมีสวนผักเป็นของตัวเอง โดยสวนที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีที่ดินขนาดใหญ่ แค่มีพื้นที่สัก 1×1 ตารางเมตร ก็ทำสวนในรูปแบบแนวตั้งได้แล้ว เริ่มนำเข้าแผน เพื่อที่จะหางบประมาณมาลง และให้ทางเทศบาลร่วมขับเคลื่อนต่อไป
ที่ผมอยากทำให้โครงการนี้มันเกิด ส่วนหนึ่งก็มาจากผมเองด้วย ก่อนหน้านี้พ่อผมเปิดร้านขายผักในตลาด (เฮียนิตย์ผักออร์แกนิก) ซึ่งประสบปัญหาว่าบางครั้งคนปลูกผักส่งประจำให้เรา เขาก็ไม่มีของส่ง เราก็เลยไม่มีของมาขาย ผมก็เลยเสนอว่างั้นเราศึกษาวิธีจากอินเทอร์เน็ท และปลูกผักไฮโดรโพนิกของเราเองแล้วกัน ก็ทดลองเรื่อยมาจนทุกอย่างนิ่ง กลายเป็นว่าผมก็มีรายได้เสริมมาอีก และธุรกิจพ่อก็สามารถรันต่อได้อย่างราบรื่น
เรื่องนี้เลยทำให้ผมคิดว่าถ้าเราส่งเสริมองค์ความรู้ให้ผู้คนในเทศบาลปลูกผักกินเองที่บ้าน หรือแต่ละชุมชนมีสวนกลางสักแห่งที่ให้คนในชุมชนได้มาปลูกและใช้ประโยชน์ร่วมกัน ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงบางคนยังสามารถต่อยอดไปเป็นอาชีพเสริมได้อีก เพราะช่วงหลังๆ ผู้คนเริ่มหันมาสนใจกินอาหารเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นแล้ว ผักปลอดสารเคมีก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ ผมเลยเขียนโครงการนี้ไปให้ทางเทศบาลเอาเข้าแผนต่อไป
นอกจากโครงการสวนผัก ทางสำนักงานผมยังร่วมกับทางหอการค้าแก่งคอยมีแผนจะพัฒนาแพลทฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดท่าน้ำแก่งคอย ทำในรูปแบบสมาร์ทไกด์ (smart guide) มีการติดตั้งว่าถ้าใครอยากรู้ความเป็นมาของพื้นที่ อาจจะเข้าไปกดปุ่มฟังเสียงดู เป็น qr code ลองเปิดดูว่าที่นี่มีประวัติความเป็นมายังไง โดยนำร่องจากพื้นนี้ก่อน แล้วค่อยขยายไปตามจุดต่างๆ ทั่วเมือง
อีกโครงการที่อยากให้เกิดมากๆ คือสมาร์ทบัส (smart bus) อยากให้แก่งคอยเรามีรถวิ่งรอบเมือง เป็นรถพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ เพราะที่ผ่านมา แก่งคอยไม่มีขนส่งสาธารณะ ใครจะมาเที่ยวแก่งคอยก็ต้องขับรถส่วนตัว ช่วงเสาร์-อาทิตย์ รถจึงติดหนัก คนจากรอบนอกก็ไม่อยากเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในตลาด ถ้าเรามีสมาร์ทบัสวิ่งตามจุดต่างๆ ทั่วเมือง มันจะอำนวยความสะดวกทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวได้เยอะครับ
อาจเพราะผมเกิดและโตที่นี่ด้วย ผมจึงผูกพันกับที่นี่ และไม่รู้สึกว่าจะต้องย้ายไปทำงานที่ไหน มันเป็นความผูกพันแบบที่เห็นคนในตลาดทักทายกันทุกวัน ไปไหนก็เจอคนรู้จัก ขาดเหลืออะไรก็มีคนคอยช่วยเหลือกัน อบอุ่นประมาณนี้น่ะครับ ซึ่งมันแตกต่างจากเมืองใหญ่ที่ถึงผู้คนจะเยอะแยะกว่านี้ จะคึกคักกว่านี้มาก แต่กลับรู้สึกว่าทำไมมันเหงาเหลือเกิน เพราะทุกคนต่างใช้ชีวิต ต่างคนต่างอยู่
แต่นั่นล่ะครับ ถ้ามองในมุมของคนรุ่นใหม่ที่นี่อาจเหงาสักหน่อย เพราะคนรุ่นผมอยู่กันน้อยมากๆ ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเมืองในปัจจุบันมันยังไม่รองรับ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมอยากทำงานนี้ (นักดิจิทัลพัฒนาเมือง) เพื่อเปิดพื้นที่หรือโอกาสใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่กลับเข้ามาอยู่ด้วยกันที่นี่”
สิรภพ แซ่จึง
นักดิจิทัลพัฒนาเมือง
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…