“ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ นอกจากดูแลโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กในสังกัดเทศบาลแล้ว พันธกิจของเราคือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับคนทุกวัย เช่น ตลาดนัดที่มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่เป็นพื้นที่จุดประกายด้านศิลปะ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่มีหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับคนสูงวัย และกิจกรรมให้พวกเขาได้ผ่อนคลาย เป็นต้น
ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่ากาฬสินธุ์พร้อมด้วยคุณสมบัติของเมืองแห่งการเรียนรู้ เพิ่งมารู้ก็เพราะเมื่อทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มาสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนกลไกเมืองแห่งการเรียนรู้นี่แหละ คือเราก็ทำของเรามาเรื่อยๆ จนทางมหาวิทยาลัยเอาหลักวิชาการเข้ามา และเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้กับชุมชนต่างๆ จนพบว่าทางเทศบาลกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีเป้าหมายเดียวกัน
อย่างงานตลาดสร้างสุขที่จัดทุกเย็นวันอังคารและพฤหัสบดีรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ที่เทศบาลร่วมเป็นเจ้าภาพ นายกเทศมนตรีท่านยังมอบหมายงานนี้ให้กับสำนักงานผม ซึ่งดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับการทำตลาดเลย แต่อย่างที่บอกว่ากาฬสินธุ์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ กระทั่งตลาดนัดก็ยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ได้เลย
อาจเป็นเพราะเมืองกาฬสินธุ์เราไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆ มากนัก การมีถนนคนเดินในรูปแบบตลาดนัด จึงกลายมาเป็นที่พบปะของผู้คนในเมือง เป็นที่ทำกิจกรรม และพักผ่อนร่วมกัน อย่างสมัยก่อน เทศบาลเขาพยายามจัดพื้นที่เรียนรู้ที่สวนสาธารณะริมแก่งดอนกลาง มีการจัดกิจกรรมและทำห้องสมุดเล็กๆ ในศาลาด้านหน้าสวนสาธารณะ แต่ปรากฏว่าไม่ค่อยมีคนมาใช้บริการเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะมาวิ่งหรือนั่งเล่นที่สวน จนย้ายพื้นที่เรียนรู้มาจัดในตลาดนี่แหละ เด็กๆ มาใช้พื้นที่จริงๆ หรือผู้ใหญ่ก็หยุดนั่งฟังเสวนาบนเวที พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองอีกด้วย
ขณะเดียวกัน นอกจากการทำตลาดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ อีกเรื่องที่ผมคิดว่าเมืองของเราไม่เหมือนที่ไหน คือการมีหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งนัดพบ และทำกิจกรรมเกี่ยวกับเมืองร่วมกันของประชาชน เพราะแทบจะไม่มีเมืองไหนที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะจะกลายเป็นศูนย์กลางเมืองได้เท่าเราเลยนะครับ
ส่วนที่มาของหอศิลป์แห่งนี้เกิดจากที่จังหวัดได้ถ่ายโอนอาคารศาลากลางหลังเก่าให้ทางเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ดูแล ชั้นบนทางวัฒนธรรมเขาทำพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ไว้แล้ว นายกเทศมนตรี (จารุวัฒน์ บุญเพิ่ม) ท่านก็อยากทำพื้นที่ชั้นล่างให้ดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาด้วย และก็พอดีกับที่ท่านรู้จักเครือข่ายศิลปินร่วมสมัยท้องถิ่น ก็เลยชวนกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะขึ้น โดยกองการศึกษาของผมได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่แห่งนี้
หอศิลป์เราจะจัดแสดงนิทรรศการศิลปะของศิลปินท้องถิ่น รวมถึงศิลปินชั้นนำในไทยไปจนถึงระดับนานาชาติ อย่างล่าสุดศิลปินจากลาวและเวียดนามก็มาจัดแสดงงานที่นี่ ก็คิดว่าต่อไปน่าจะเป็นศูนย์กลางศิลปะระดับภูมิภาคได้
นิทรรศการจะหมุนเวียนทุกเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นนิทรรศการกลุ่มที่มีธีมเนื้อหาเดียวกัน ต่อหนึ่งนิทรรศการจะจัดแสดงอย่างน้อยหนึ่งเดือน พอหมดนิทรรศการหนึ่ง ก็จะปิดเพื่อเตรียมนิทรรศการใหม่ราว 2 สัปดาห์ หมุนเวียนไปแบบนี้ ปีหนึ่งก็จะมีงานให้ดูราว 6 นิทรรศการ ทางกองการศึกษาก็ได้งบจากเทศบาลมาจัดงาน ทั้งการขนส่งงานศิลปะ การติดตั้งไปจนถึงทำพิธีเปิด ขณะที่คณะกรรมการหอศิลป์ฯ จะเป็นฝ่ายคัดสรรผลงานของศิลปินมาจัดแสดง
ผมหวังให้หอศิลป์แห่งนี้ช่วยสร้างระบบนิเวศทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้กับเมือง มันอาจช่วยจุดประกายให้คนรุ่นใหม่เห็นถึงโอกาสใหม่ๆ และกลับมาทำธุรกิจที่มีรูปแบบร่วมสมัยให้กับเมือง เพราะต้องยอมรับว่าหลายปีที่ผ่านมา กาฬสินธุ์เป็นเมืองสมองไหล เด็กนักเรียนเรียนจบไป ก็ไปต่อระดับอุดมศึกษาที่กรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่อื่นๆ พอเรียนจบเขาก็หางานทำที่นั่นเลย เพราะกาฬสินธุ์ไม่ได้มีงานรองรับคนรุ่นใหม่เพียงพอนอกจากงานราชการ คือถ้าระบบนิเวศด้านนี้มันเข้มแข็ง คนรุ่นใหม่อาจจะอยากกลับมาลงทุนอะไรใหม่ๆ ในบ้านเกิดเขาบ้าง
ผมเกิดและโตที่กาฬสินธุ์ รู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานอยู่ที่บ้านเกิด ถึงเมืองมันค่อนข้างเล็กและไม่มีอะไรหวือหวา แต่ก็มีทุกอย่างครบถ้วนดี และไม่มีบรรยากาศของการแข่งขันแบบเมืองใหญ่ๆ แต่อย่างที่บอกว่าเมืองมันต้องการพลังงานสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่อีกเยอะ ทุกวันนี้กาฬสินธุ์มีความน่าอยู่ ผู้คนมีความสุข และเราก็มีต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติอยู่มาก ถ้าคนรุ่นใหม่กลับมาในเมืองมากขึ้น เมืองจะมีสีสันกว่านี้ และดึงดูดให้เกิดการลงทุน เสริมเศรษฐกิจเมืองมากกว่านี้เช่นกัน”
กันติพงษ์ เบ้าจังหาร
ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…