แนวทางเพิ่มเติมที่เสนอโครงการพื้นที่เมืองเรียนรู้คือต้องมีทายาทสืบทอด คนเล่าเรื่องน่ะมี ขาดเด็กรุ่นใหม่มาดำเนินการต่อ

“วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม รวมตัวกันเพราะอยากให้คนข้างนอกรู้จักชุมชนเรา ที่มีทั้งวัฒนธรรม โบราณสถาน ชุมชนเก่าแก่ และมีพื้นที่ทำการเกษตรคู่กับชุมชนมาหลายร้อยปี แล้วเวลาคนมาเที่ยวจันท์ ก็ไปที่ท่องเที่ยวหลักอย่างน้ำตกพลิ้ว หาดเจ้าหลาว ทะเล เขาไม่เน้นวัฒนธรรม ไม่ได้มาลงพื้นที่ชุมชน รายได้ก็เลยกระจุก เพราะบริบทชุมชนไม่มี

เราก็ไปดูงานที่อื่น กลับมาทำโปรแกรมท่องเที่ยว เช่น นั่งรถโมบายล์เที่ยวดูรอบชุมชนว่าเรามีอาชีพอะไรบ้าง ทำสวน ทำนา ประมงเล็ก มีร้านค้าสวัสดิการของกลุ่ม ร้านขายผลไม้ริมทาง ไหว้พระที่วัดตะปอนน้อย ดูโบสถ์เก่าแก่อายุ 400 กว่าปี (สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2125) มีมัคคุเทศก์เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดตะปอนน้อย ถ้านักท่องเที่ยวอยากดูกิจกรรมที่ไม่มีนอกเหนือจากงานประเพณี อย่างชักเย่อเกวียนพระบาทเล่นช่วงสงกรานต์ เราก็เอาเด็กนักเรียนมาทำกิจกรรมให้ดู มีค่าใช้จ่าย 1,000-1,500 บาท ต่อ 1 กิจกรรมแล้วแต่ขนาดกลุ่ม รายได้ก็ให้เด็ก แพ็กเกจ 1 วันก็มีอาหารเครื่องดื่ม อาหารพื้นถิ่น 3 อย่าง หัวละ 100 บาท มีอาหารหลักคือน้ำพริกกะปิ ผักลวก หมูชะมวง ผัดผัก จะกินที่ไหนก็แล้วแต่นักท่องเที่ยวเลือก บ้านพัก วัด หรือที่สวน ถ้าไปโซนตะปอนใหญ่ เราก็ให้คนโซนนั้นทำ โฮมสเตย์คือเจ้าของบ้านรับ เราแบ่งรายได้ แต่หักรายได้เข้าศูนย์ฯ 5% เป็นค่าจัดการบริหาร ค่าไปรับส่งนักท่องเที่ยว ค่าประชุม ค่าเสียเวลาให้สมาชิกที่ไปประชุม มีกิจกรรมให้เลือก เช่น การละเล่นสะบ้า กิจกรรมนั่งรถซาเล้งเวียนรอบชุมชน กิจกรรมชิมชมช้อปที่สวนเกษตรอินทรีย์ ตามผลผลิตที่มีในสวน เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียนยังไม่มีก็ไม่ได้ทาน นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวเจาะจงมาว่าอยากกินทุเรียนเอาแหล่งไหนมาก็ได้ อันนี้เราหาให้ได้ วางใส่เป็นบุฟเฟต์ หัวละ 300 บาท เราเป็นท่องเที่ยวชุมชน ราคาจะต่ำกว่าเอกชนที่เขาเก็บหัวละ 400 บาท เราไม่เอากำไรเกินควร ให้นักท่องเที่ยวอยู่รอด เราอยู่ได้ ของเราต่างจากที่อื่นตรงที่ถ้าคุณมาที่นี่ คุณได้กินอาหารปลอดสารพิษ ของเราการันตี แปลงเรามีใบรับรอง Organic Thailand

ที่เรามาทำสวนเกษตรอินทรีย์เพราะพ่อตายเพราะสารเคมีตกค้างในร่างกาย ฉีดสารพิษเยอะ ทิ้งหนี้ปุ๋ยหนี้ยาไว้ประมาณสองแสน สมัย 25 ปีที่แล้วเยอะนะ เราไปเคลียร์หนี้ปุ๋ยยาไม่ได้เลยต้องทำเกษตรอินทรีย์ ไปอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การทำน้ำหมักใช้เองที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติของอาจารย์ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร) กลับมาทำจนได้ใบรับรองตอนปี 2553 สวนเกษตรอินทรีย์ที่นี่เชิดหน้าชูตาของจังหวัด ที่นี่ไม่ค่อยมีคนทำ ส่วนใหญ่ทำเคมี เขารวยเพราะทุเรียน เขาจะมาทำทำไม เราทำนาด้วย ก็อยู่ได้ แต่ทุเรียนเราไม่ใช่อินทรีย์ เพราะพื้นที่ปลูกเป็นพืชกำบัง เป็นทุเรียนปลอดภัย และเรามีเครื่องคัดมังคุดที่เกษตรอำเภอขลุงสนับสนุนมาให้กลุ่มแปลงใหญ่ เราขายโดยตรงกับล้งที่นี่ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนเรามี 4 ชุมชนในจันท์ ชุมชนสอยดาวใต้ เที่ยวแบบโอโซนภาคเหนือ ที่ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน ชุมชนเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ ชุมชนปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ และชุมชนตะปอนเรา เช่น นักท่องเที่ยวอยากไปทะเล เราก็ส่งไปปากน้ำแหลมสิงห์ เที่ยวทะเลเสร็จอยากเที่ยวสวนก็ขึ้นมาสวนเรา บ้านพักโฮมสเตย์ในกลุ่มเรามี 8 หลัง ทำมาตั้งแต่ปี 2552 ไม่ดัง ไม่เวิร์ก แต่เรื่อยๆ สำหรับลูกค้าประจำ เขากลับมาใหม่ เราจะทดสอบว่าชุมชนเราน่าอยู่แบบไหน หนึ่ง เป้าหมายคือกลุ่มเก่า สอง หน่วยงานราชการ สาม คนที่มาดูแล้วกลับไปทำแล้วมาดูต่อเติม เขามา ไม่ได้มาเที่ยวสวนอย่างเดียว มาดูเรื่องปลูกทุเรียน มาเอาความรู้โน่นนี่ เหมือนสวนที่ศรีสะเกษเขามาจนเขาเก็บทุเรียนได้แล้วตอนนี้ ที่เขากลับมา เพราะเขาประทับใจตัวคนในชุมชน มาร้อยได้ล้าน โฮมสเตย์บางหลังนะ หน้าเก็บทุเรียน ลูกค้ามาพัก เอาฝากเขาจนไปมามาเที่ยวกลับกลายเป็นญาติสนิท ถึงหน้าฤดูกาลเขาก็มาเที่ยวใหม่ ไปพักบ้านหลังเดิม อย่างนี้มันก่อเกิดญาติได้ เราให้เหมือนญาติ ไม่ขาดทุน เขามาเที่ยวทีแรก เราให้เขา ทีหลังเขาพาญาติพี่น้องมาด้วย มาช่วยอุดหนุนเรา ขาดทุนคือกำไร ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา

เราวางแผนเส้นทางปั่นจักรยานรอบชายทะเลขึ้นมาบนหมู่บ้าน แต่ยังเป็นไปไม่ได้ คือเราทำเส้นทางแล้ว แต่ยังไม่มีกิจกรรม ไม่มีจักรยานให้นักท่องเที่ยว เส้นทางปั่นรอบนึงประมาณ 6-7 กิโล ออกจากวัดตะปอนน้อย ไปวัดตะปอนใหญ่ วัดสุวรรณรังษี วัดเจดีย์ทราย เส้นทางอบต. จบที่ตะปอนน้อยเหมือนเดิม แต่เส้นทางยังติดขัดอยู่ 2 กิโล ตรงหลังวัดตะปอนน้อยไปถึงเขื่อนล่าง ที่เป็นทางลูกรัง ถนนยังเป็นดิน ขี่ลำบาก ทางหน่วยงานก็เอาเข้าแผนแล้วแต่ยังไม่ได้ทำให้ อีกจุดหนึ่งคือตอนนี้เขื่อนบนทำเสร็จแล้ว น้ำก็มีระบายคลองตลอด เราก็เตรียมทำกิจกรรมล่องเรือไปดูป่าชายเลน ปั่นได้ ล่องเรือได้ ลำธารไปได้แล้วแต่ขาดอุปกรณ์การเดินเรือ นี่คือสิ่งที่เราต้องการขยายเส้นทางท่องเที่ยวเพิ่ม

แนวทางเพิ่มเติมที่เสนอโครงการพื้นที่เมืองเรียนรู้คือต้องมีทายาทสืบทอด คนเล่าเรื่องน่ะมี ขาดเด็กรุ่นใหม่มาดำเนินการต่อ ถ้าหมดรุ่นเราแล้วใครจะทำต่อ ลูกหลานไม่ได้ใส่ใจเท่าไหร่ ยังไม่เห็นความสำคัญไง เขาต้องเห็นว่าคนเข้ามารุมเยอะๆ มานั่งมองเขามาทำไม มาเที่ยวแล้วได้ประโยชน์อะไร เงินไหลมาตรงไหน ถ้าเห็นเม็ดเงินเขาก็จะตาโต คนที่ทำรุ่นเก่าก็แก่แล้ว รุ่นใหม่สมัยนั้นคือเรา เดี๋ยวนี้เป็นรุ่นเก่าสมัยนี้แล้ว ก็อยากได้คนรุ่นใหม่มาอีก อย่างน้องพิม (พิมพรรณ์ ประคองทรัพย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านตะปอนน้อย) ก็โอเค แต่เป็นคนต่างบ้าน คนที่นี่ยอมรับคนต่างบ้านยาก ต้องมีผลงานโดดเด่นให้เขาเห็น เราก็คนต่างบ้านแต่จะผ่านวิกฤติได้ก็เป็น 20 ปี เป็นคนบุรีรัมย์ แต่เรามีใจรักในพื้นที่ ไปอยู่ที่ไหนก็อยากทำคุณงามความดีให้กับพื้นที่เขา อย่างการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน เราทำงานวิจัยออกมาแล้ว ไปถามผู้เฒ่าผู้แก่มาเรียบเรียงเป็นประวัติศาสตร์พื้นบ้าน เอาเข้าไปอยู่ในการเรียนการสอนแต่ละโรงเรียน แล้วก็เอาไปไว้ที่อบต. รุ่นเราก็อยากให้ดังนะ เพื่อเป็นผลงาน เวลานักท่องเที่ยวเข้ามา เออ ริเริ่มการท่องเที่ยวมาจากใคร กลุ่มไหน แต่มันก็ยังไม่ถึงจุดดังของมันล่ะมั้ง ก็ไม่แน่ วันนึง การเปลี่ยนแปลงของยุคและสมัย อาจจะให้คนในเมืองอยากมาอยู่นอกเมือง เราอาจจะดังก็ได้”

ทองใส สมศรี
ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago