“ผมเป็นคนอำเภอยะรัง เรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ ม.อ. ปัตตานี ช่วงที่เรียนผมมีความฝันอยากทำภาพยนตร์ และสนใจบอกเล่าวัฒนธรรมร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เลยรวมเพื่อนทั้งหมด 5 คน ตั้งกลุ่มทำหนังสารคดีประกวดของโครงการ Deep South Young Film Maker เรื่องแรกที่เราทำด้วยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีสามรุ่นในสังคมมุสลิมของสามจังหวัด ตอนส่งประกวด กรรมการเขาก็ให้ตั้งชื่อกลุ่ม คุยกันอยู่สักพัก แล้วมาลงเอยที่ชื่อ แบวอร์ก (Baewalk)
แบวอร์กเป็นการเล่นคำมาจาก ‘แบเวาะ’ ซึ่งแปลว่าตัวเงินตัวทองในภาษายาวี เราเปลี่ยนคำที่มีความ hate speech ของพื้นที่ จาก ‘เวาะ’ เป็น ‘วอร์ก’ ที่แปลว่าเดินในภาษาอังกฤษ ส่วนคำว่า ‘แบ’ โดดๆ จะแปลว่าเด็กผู้ชาย จากตัวเงินตัวทองในแบเวาะ เลยกลายเป็น เด็กผู้ชายเดินด้วยกันในแบวอร์ก เรามีสโลแกนล้อไปกับชื่อว่า Let’s walk with us หรือร่วมเดินไปกับเรา
หลังเรียนจบ กลุ่มพวกเราก็รับทำหนังโฆษณาและวิดีโอในพื้นที่สามจังหวัดกันต่อ ก่อนจะได้ทุนจากโครงการ Young Story Teller ของสถานทูตสหรัฐอเมริกา มาทำสื่อออนไลน์บอกเล่าเรื่องราวร่วมสมัยของผู้คนในสามจังหวัด ก็ทำเป็นเพจเฟซบุ๊คชื่อเดียวกับกลุ่ม ทำวิดีโอสารคดีสั้น วิดีโอสัมภาษณ์ และบทความพร้อมรูปประกอบ เราตั้งใจเป็นสื่อที่เล่าเรื่องคนในพื้นที่ และทำให้คนนอกพื้นที่ได้เห็นว่าวิถีของชาวมุสลิมในสามจังหวัดหาได้มีแค่เป็นภาพจำที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลักอย่างเดียว
อย่างเรื่องเบอร์เกอร์บัง หรือแฮมเบอร์เกอร์ตำรับชาวมุสลิม ซึ่งเราทำวิดีโอสั้นบอกเล่าถึงที่มาของอาหารสตรีทฟู้ดที่อยู่คู่กับวิถีของคนสามจังหวัด คนที่นี่คุ้นเคยแต่ส่วนใหญ่กลับไม่รู้ความเป็นมา เราก็ไปขุดค้นและนำเสนอ เพจเรายังแนะนำศิลปินหรือคนทำงานสร้างสรรค์ที่อยู่ในพื้นที่ ตั้งแต่ช่างภาพสตรีท ไปจนถึงช่างเขียนคัทเอาท์หนังคนสุดท้ายของยะลา เป็นต้น
ทุกวันนี้เราทำเพจ Baewalk ควบคู่ไปกับการรับงานวิดีโอโปรดักชั่น และงานสร้างสรรค์สื่อต่างๆ อยู่ในพื้นที่สามจังหวัด ตอนแรกพวกเราไม่คิดที่จะทำงานที่นี่เลยนะครับ เพราะเราตระหนักดีว่างานแบบนี้ไม่น่าจะมีคนจ้างมากพอจะทำเป็นอาชีพที่นี่ได้ ตอนจบมาใหม่ๆ พวกเราก็คิดจะไปสมัครงานบริษัทที่กรุงเทพฯ เหมือนกัน แต่อาจเพราะจับพลัดจับผลู ได้โปรเจกต์มาเรื่อยๆ และเริ่มเป็นที่รู้จักจากการแนะนำเป็นทอดๆ ก็เลยทำให้เรามีงานที่พอจะเลี้ยงตัวเองอยู่ที่นี่ได้
มีพี่คนหนึ่งบอกผมว่าพวกเรายังหนุ่ม กลัวอะไรกับความล้มเหลว ถ้าเราทดลองเริ่มอาชีพแบบนี้ที่บ้านเกิดเราเองตอนนี้ ถึงในอนาคตเราอาจจะล้ม แต่พวกเราก็ยังมีพลังพอจะลุกขึ้นมาสู้ใหม่อยู่ คำพูดนี้จุดประกายผมมาก และนั่นทำให้ผมกับทีมเลือกที่จะสู้ด้วยกันที่นี่ แทนที่จะไปหางานที่กรุงเทพฯ
เมื่อก่อนผมไม่มีความฝันเลยนะ ผมเรียนโรงเรียนปอเนาะ (โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม – ผู้เรียบเรียง) จนจบ ม.6 โดยไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร แต่ความที่ชอบวาดรูป ก็เลยไปสมัครเรียนทางศิลปะ จนมาพบตัวเองว่าชอบทำหนัง ได้มีโอกาสทำหนังประกวดจนได้รางวัล และพอมีโอกาสทำอาชีพที่ตัวเองอยากทำในบ้านเกิดตัวเองได้ ทุกวันนี้ถ้าใครถามผมว่าฝันถึงอะไรอยู่ คำตอบก็น่าจะเป็นการได้ทำงานสื่อเชิงสร้างสรรค์ในสามจังหวัดแบบนี้ต่อไป ได้พัฒนาผลงานตัวเอง และมีส่วนในการทำให้คนทำสื่อรุ่นใหม่สามารถมีที่ทางได้กลับมาทำงานที่ตัวเองรักในบ้านเกิดได้”
นุรดีน กาซอ
ผู้กำกับภาพยนตร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เพจ https://www.facebook.com/Baewalk2021
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…