“ที่ดินตรงนี้ประมาณ 80 ไร่ เป็นของกงสีครอบครัวผม ซึ่งอยู่ติดกับป่าโกงกางกลางเมืองระยอง ส่วนใหญ่เราปล่อยไว้เป็นพื้นที่สีเขียว แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้ประโยชน์ อย่างบ่อน้ำตรงนี้เป็นบ่อพักน้ำสำหรับทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่อยู่ถัดไป หรืออาคารด้านหลังเคยเป็นโรงไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ของลุง แต่ปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง
ผมจบสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็กลับมาทำงานในด้านการพัฒนาชุมชนที่ระยองได้ราวหนึ่งปี และพบว่ามุมมองของเรากับบริษัทไม่ตรงกัน จึงลาออกมา ความที่ผมเป็นนักกีฬาแบดมินตันอยู่แล้ว และมีโรงไม้เก่าในพื้นที่บ้านอยู่ เลยตัดสินใจเปลี่ยนโรงไม้นี้มาเป็นคอร์ทแบดมินตันให้เช่า และก็ใช้พื้นที่นี้เปิดสอนแบดมินตันไปพร้อมกัน
พอเปิดคอร์ทแบดแล้ว ก็พบว่าช่วงกลางวันที่ไม่มีคนมาใช้สนาม พื้นที่มันเงียบ จึงเปิดคาเฟ่ไปด้วย ซึ่งได้ทำเลอยู่ริมบึงน้ำกลางป่าเป็นที่ดึงดูด ผมเรียนด้านผังเมืองมา ก็ตั้งใจลึกๆ อยากให้คาเฟ่ในสวนแห่งนี้มันเชื่อมพื้นที่สีเขียวของเมือง ให้คนในพื้นที่ที่เหนื่อยๆ จากการเดินป่าโกงกางมาพักผ่อน มานั่งเล่น หรือมาเดินชมสวน
แต่พอเปิดไปสักพัก กลายเป็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวมากกว่า ผิดวัตถุประสงค์นิดหน่อย อาจเพราะร้านผมต้องเข้ามาในซอยลึกด้วย เลยมีความคิดว่าจะพัฒนาพื้นที่ปากซอยให้เป็นคาเฟ่อีกแห่ง เพราะข้ามถนนไปก็เจอป่าโกงกางเลย คนมาเดินเล่นจะได้ใช้บริการสะดวกๆ ขึ้น
ผมว่าเมืองระยองมีความย้อนแย้งที่น่าสนใจหลายอย่าง ในแง่บวก เราเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ทุกมุมเมืองเต็มไปด้วยโรงงาน แต่ก็กลับมีป่าโกงกางเป็นเหมือนปอดขนาดใหญ่ใจกลางเมือง รวมถึงเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่ดีมากๆ
ส่วนในแง่ลบ แม้เราจะเป็นเมืองที่มีวิศวกรหรือคนทำงานระดับหัวกะทิย้ายมาอยู่มากมาย แถมยังเป็นเมืองที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดในประเทศ แต่เมืองกลับไม่มี facility พื้นที่สาธารณะดีๆ หรือกระทั่งระบบขนส่งมวลชนให้คนในเมืองได้ใช้เลย
กลับกลายเป็นว่าในย่านกลางเมือง เรามีแต่คาราโอเกะ ผับ และสถานบันเทิงขนาดใหญ่และหรูหราเพื่อรองรับบุคลากรเหล่านี้เต็มไปหมด กิจกรรมของคนทำงานในเมืองจึงเน้นไปที่การกินดื่มเป็นหลัก ส่วนสวนหย่อมดีๆ พื้นที่ออกกำลังกาย หรือพื้นที่ทางกิจกรรมอื่นๆ ส่วนมากกลับไปอยู่ในพื้นที่ของโรงงานแต่ละแห่งแทน ซึ่งมันก็ย้อนแย้งอีก เพราะเอกชนไม่ควรลงทุนกับ facility เหล่านี้ รัฐต้องลงทุน เอกชนควรเก็บเงินไปลงทุนกับการขยายงานให้คนในเมืองเพิ่มมากกว่า
เช่นเดียวกับการคมนาคม นอกจากรถประจำทางที่วิ่งระหว่างอำเภอ ระยองก็ไม่มีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมจุดต่างๆ ในเมืองเลย นั่นทำให้คนระยองต้องพึ่งพารถส่วนตัวเกือบ 100% หรือโรงงานต่างๆ ต้องลงทุนกับรถรับส่งพนักงานของเขาจากบ้านไปที่ทำงาน และก็เพราะทุกคนใช้รถส่วนตัว พื้นที่สำหรับการเดินเท้าจึงไม่มีประสิทธิภาพ ทางเท้าไม่ค่อยมีเพราะไม่ค่อยมีคนเดิน และเมื่อคนไม่ค่อยเดิน รัฐก็เลยไม่เห็นความจำเป็นในการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง
ถ้าระยองมีรถเมล์ดีๆ สักสายหนึ่งไว้เชื่อมเมืองอย่างต่อเนื่อง มีพื้นที่ทางกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ศูนย์การค้าและสถานบันเทิง ผมมองว่าระยองจะสามารถพัฒนาไปสู่พื้นที่ที่ตอบสนองกับความต้องการของทุกคนได้มากกว่านี้อีกเยอะ
พี่ในก๊วนแบดมินตันคนหนึ่งเคยบอกกับผม ระยองตอนนี้มีโรงงานมากเป็นพันๆ โรง และมีโรงงานขนาดใหญ่สองโรงขนาบหัวเมืองและท้ายเมือง พื้นที่ที่ปลอดภัยจากมลภาวะทางอากาศมากที่สุดในขณะนี้คือในย่านใจกลางเมือง เพราะลมมันพัดควันเสียออกไปทางอื่นหมด ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งความย้อนแย้ง เพราะในช่วงหลายปีหลัง ผู้คนส่วนมากเลือกที่จะไปซื้อบ้านจัดสรรกระจายกันอยู่นอกเมืองออกไปเรื่อยๆ เพราะพวกเขามีรถส่วนตัวจะไปอยู่ไกลแค่ไหนก็ได้ และก็เพราะไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ในเมืองมากไปกว่าการกินดื่มหรือช้อปปิ้ง
สำหรับผมเมืองระยองควรต้อง compact กว่านี้ ซึ่งความ compact นั้นก็ต้องมาพร้อมกับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนด้วย”
พัฒก์ เกสรแพทย์
เจ้าของบ้านพัฒก์ (Baanpat) คาเฟ่และสนามแบดมินตัน
https://www.facebook.com/baanpatrayong?locale=th_TH
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…