แม้หาดใหญ่จะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคใต้ แต่เมืองของเราก็ยังสามารถเพิ่มแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมือง ซึ่งเกี่ยวกับรากเหง้าของพวกเราโดยตรง ให้มากขึ้น และชัดเจนขึ้นได้อีก

“แม้หาดใหญ่จะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคใต้ และภายในเขตเทศบาลก็มีศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ครอบคลุม ตั้งแต่อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์สุขภาพ ไอที หอศิลป์ ไปจนถึงหอดูดาว แต่เมืองของเราก็ยังสามารถเพิ่มแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมือง ซึ่งเกี่ยวกับรากเหง้าของพวกเราโดยตรง ให้มากขึ้น และชัดเจนขึ้นได้อีก

ปัจจุบันสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ กำลังรวบรวมและจัดทำข้อมูลประวัติศาสตร์ของเมืองหาดใหญ่ เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงที่มา พัฒนาการ และเกร็ดต่างๆ เกี่ยวกับเมืองแห่งนี้ โดยเรามีแผนจัดทำนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองที่หอศิลป์นครหาดใหญ่ เฉลิมพระเกียรติฯ รวมถึงในรูปแบบของหนังสือ และสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ถึงผู้คนในวงกว้างต่อไป

พี่คิดว่าสื่อที่เกี่ยวกับเมืองตรงนี้สำคัญ เพราะไม่เพียงทำให้คนในหาดใหญ่รู้จักที่มาที่ไปของตัวเอง และสถานที่ต่างๆ ที่แวดล้อมเราอยู่ แต่ยังช่วยสร้างความภูมิใจ เป็นเสมือนเครื่องมือดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับมาทำงานที่นี่ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองต่อไป

เพราะแม้เราจะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาซึ่งดึงดูดให้เกิดการลงทุนจนเมืองมีการขยายตัวอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่หนึ่งใน pain point ของเราก็คือ คนรุ่นใหม่หลายคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันใดสถาบันหนึ่งของที่นี่ ส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะออกไปทำงานที่อื่น แม้เมืองจะมีการเติบโต แต่ก็ขาดพลังขับเคลื่อนจากคนรุ่นใหม่ไปพอสมควร

และด้วยเหตุนี้ควบคู่ไปกับการสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่มาทำงานที่หาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่ก็พยายามชักชวนและพร้อมเปิดรับฟังข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวคิดของกลุ่มสตาร์ทอัพในเมืองเราอยู่เสมอ ขณะเดียวกัน พี่มองว่าการเชื่อมโยงของเครือข่ายการศึกษาในพื้นที่ก็เป็นสิ่งสำคัญ เรามีสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางและมีคุณภาพ ถ้ามีการเชื่อมโยงกิจกรรมหรือหลักสูตรการศึกษาระหว่างสถาบัน โดยเฉพาะกับทักษะทางวิชาชีพ สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยพัฒนาทักษะของผู้เรียน แต่ยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้คน และเมืองของเรา

เมื่อการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว การค้าการลงทุนในเมืองกลับมาคึกคักอีกครั้ง และอย่างที่ทราบกัน เมืองหาดใหญ่มีต้นทุนอันดีเยี่ยมอยู่สองเรื่องหลัก คือการเป็นศูนย์กลางการศึกษา และศูนย์กลางด้านการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดของภาคใต้ พี่จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะเชื่อมโยงต้นทุนทั้ง 2 เข้ากับการท่องเที่ยว และเมืองของเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยมุมมองและพลังจากคนรุ่นใหม่มาขับเคลื่อนต่อไป”

ณภัทร วิทยาทันต์
ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago