Categories: City View

โลกหมุนได้ด้วยรัก

เขาว่ากันว่า Love makes the world go round.  คุณเชื่อไหม

ฉันเชื่อนะเพราะเคยผ่านพบอะไรหลายอย่างที่ทำให้นึกขึ้นมาว่าเออ โลกนี้หมุนได้ด้วยรักจริงๆ แหละ 

อย่างเช่นตอนที่จบการพูดคุยทางโทรศัพท์กับลูกศิษย์คนหนึ่งถึงกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา  ลูกศิษย์คนนี้เป็นนักศึกษาเกรดเอและเธอไม่ได้เก่งแต่การเรียน การจัดการเธอก็ทำได้คล่องแคล่วและมีมนุษยสัมพันธ์ดี  ถ้าหากจะหางานทำในเมือง เธอก็คงไปได้สวย แต่เมื่อเรียนจบ เธอเลือกไปทำงานพัฒนาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในฉะเชิงเทรา  

เกือบ 30 ปีผ่านไป เธอก็ยังอยู่ที่นั่น ยืนหยัดร่วมกับชาวบ้านฝ่าฟันอุปสรรคนานาชนิดที่ดาหน้าเข้ามา ทั้งภัยธรรมชาติ ภัยอิทธิพลมืดและภัยจากนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญและสนใจแต่ผู้มีเงินมากกว่าชาวบ้านตาดำๆ ตลอดมา (แม้แต่โครงการรับจำนำข้าวที่อ้างว่าทำเพื่อเกษตรกร ก็ยังให้ประโยชน์เฉพาะคนที่มีที่นามากพอเนื่องจากมีการกำหนดขั้นต่ำของปริมาณข้าวที่จะรับจำนำแทนที่จะกำหนดขั้นสูงเพื่อให้โอกาสกับชาวนาที่มีที่นาน้อยและกันชาวนารวยออกไป) 

คำว่า “โลกหมุนได้ด้วยรัก” ผุดขึ้นมาในหัวเมื่อคุยกับเธอเพราะฉันรู้สึกว่าความรักบ้านเกิด ความรักผืนแผ่นดินของคนตัวเล็กๆ เหล่านี้แหละที่ช่วยให้โลกหมุนไปได้ด้วยดีท่ามกลางกระแสการทำลายล้างด้วยน้ำมือมนุษย์ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ใช่นโยบายประชานิยมบ้าเลือด ไม่ใช่นักการเมืองที่สนใจแต่คะแนนเสียงมากกว่าผลดีต่อประชาชนในระยะยาว ไม่ใช่นายทุนที่พร้อมจะย้ายฐานไปที่อื่นเมื่อแผ่นดินนั้นไม่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ แต่เป็นความรักผืนดิน ความรักบ้านเกิดของคนตัวเล็กๆ เหล่านี้ต่างหากที่ช่วยให้สังคมไทยยังดำรงอยู่และดำเนินต่อไปได้

คนจำนวนไม่น้อยมองนักพัฒนาเอกชน (ที่มักเรียกกันว่าเอ็นจีโอ) ว่าเป็นตัวป่วน  พวกเขาป่วนไหม ก็ป่วนนะเพราะจำเป็นต้องป่วนตราบใดที่ความสงบยังแฝงไว้ซึ่งความไม่เป็นธรรมในสังคม  ฉันรู้จักเอ็นจีโอหลายคนที่ต้องตะลอนกินนอนไปในที่ต่างๆ ที่ไร้ความสะดวกสบาย รับเงินเดือนไม่มากและทำงานแบบไม่มีเวลาและวันหยุดเพราะต้องพร้อมรับสถานการณ์ที่จะมาถึงเมื่อไรก็ได้  ถ้าใจไม่รักและไม่เชื่อในสิ่งที่ทำ ฉันคิดว่าพวกเขาคงทำงานไม่ได้ยืนนานเช่นนั้น  

ฉันเชื่อว่าความรักของคนเหล่านี้แหละที่ทำให้โลกหมุนไป

————

คำว่า Love makes the world go round. ยังผุดขึ้นมาในหัวขณะที่ฉันนั่งอยู่ในห้องส้วมที่เกียวโต!  จะตลกเกินไปไหมถ้าหากฉันจะบอกว่าสิ่งที่ฉันประทับใจที่สุดในการไปเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้วไม่ใช่ใบไม้เปลี่ยนสีที่สวยจับใจ ไม่ใช่วัดวาอารามและปราสาทที่อลังการ แต่เป็นห้องส้วมที่พบได้ทั่วไปในที่สาธารณะ!  

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ทำให้ฉันรู้สึกว่าการตั้งชื่อห้องส้วมว่า “ห้องสุขา” นั้นถูกต้องตรงเผงเลยทีเดียว  สิ่งแรกที่สะดุดความรู้สึกคือที่นั่งที่อุ่นสบาย  ปกติเวลาไปเมืองนอกแล้วอากาศหนาวๆ ก็ต้องเตรียมใจไว้เลยเวลาจะนั่งโถว่าจะต้องสัมผัสกับความเย็นเฉียบ  ถ้าเป็นส้วมบ้านเพื่อนก็จะมีขนแกะปูทับบนที่นั่งเพื่อให้อุ่น แต่ถ้าเป็นส้วมสาธารณะแล้ว รับรองว่าเย็นเจี๊ยบเลยทีเดียว  แต่ที่ญี่ปุ่น ส้วมสาธารณะทุกแห่งจะต่อไฟเข้าเพื่อให้ความอบอุ่นกับที่นั่งแถมยังปรับระดับความร้อนได้อีกด้วย  

จะไม่ให้ประทับใจได้ยังไง ก็ฉันยังไม่เคยไปประเทศไหนที่ใส่ใจกับก้นของคนเดินดินข้างถนนมาก่อนเลย! ☺

แต่สุขาของญี่ปุ่นยังมีอะไรมากกว่านั้นให้เล่นเพราะข้างๆ ที่นั่งจะมีปุ่มมากมายให้เลือก  เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้มีน้ำฉีดออกมาแบบไหนเมื่อเสร็จธุระ จะเปิดเพลงทำนองไหน ฯลฯ  อ้อ แล้วยังมีกระปุกฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดตัวโถก่อนนั่งอีกด้วยนะคะ (ช่างรักความสะอาดเสียจนฉันนึกสงสารคนญี่ปุ่นเวลามาเจอความสกปรกของห้องน้ำเมืองไทยจริงๆ)  

ทุกปุ่มมีตัวอักษรเบลกำกับสำหรับคนตาบอด  ที่ไม่ค่อยเคยเห็นมาก่อนคือมีรูปที่อธิบายการใช้ของทุกอย่างที่มีอยู่ในห้องน้ำอย่างถูกต้อง  เห็นแล้วรู้สึกว่าอย่างนี้สิ ถึงจะเรียกว่า Informative society หรือสังคมของการเรียนรู้จริงๆ  สังคมไทยยังห่างไกลจากคำนี้นัก  ถึงแม้จะบ้าเฟสบุ๊คกันทั่วบ้านทั่วเมืองแต่ฉันพบเสมอว่าคนไทยก็ยังไม่นิยมอ่านข้อมูลและคู่มือต่างๆ อยู่ดี  และฉันมักจะรู้สึกบ่อยๆ ว่าพวกเราไม่ค่อยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นฐานในการคิดและตัดสินใจแต่นิยมใช้ความเห็นรวมไปถึงข่าวลือที่ไม่มีการตรวจสอบมากกว่า

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้ฉันเกิดนึกถึงประโยค Love makes the world go round. ขึ้นมาในห้องส้วมก็คือเก้าอี้สูงที่แอบอยู่มุมห้องบางห้องของห้องส้วมผู้หญิงสำหรับใส่ลูกเล็กที่เธออุ้มมา  นั่นสินะ ฉันก็ไม่เคยนึกถึงมาก่อนเลยว่าผู้หญิงที่ต้องกระเตงลูกออกมาหาหมอหรือต้องอุ้มมาซื้อกับข้าวที่ตลาดด้วยนั้น เธอทำอย่างไรกับเด็กเวลาเข้าส้วม (โดยเฉพาะส้วมยองๆ แบบส้วมสาธารณะเมืองไทย!)  

ฉันรู้สึกขึ้นมาทันทีที่เห็นเก้าอี้สำหรับเด็กว่าญี่ปุ่นไม่ได้ก้าวหน้าเพราะเก่งเทคโนโลยี แต่เพราะเขามีแก่ใจคิดถึงปัญหาของคนรอบตัวจึงได้คิดเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับคนเหล่านั้น  ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ทำให้โลกก้าวหน้า  ความรักความเอาใจใส่กับเพื่อนมนุษย์ต่างหากที่ทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเพื่อตอบโจทย์ที่เป็นปัญหาอยู่

—————

โลกนี้หมุนได้ด้วยรัก ฉันเชื่อเช่นนั้นจริงๆ แต่ไม่ใช่รักที่หยุดอยู่แค่ตัวกู ของกู หากเป็นรักที่เกิดจากความอารีอารอบ ความใส่ใจและความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักกันมาก่อน  ฉันเชื่อว่าความรักเช่นนี้แหละที่ทำให้โลกเราหมุนไป

อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย

Share
Published by
อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

1 day ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

3 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago