ในชุมชนป่าห้าซึ่งอยู่ใกล้กับย่านนิมมานเหมินท์ ยังเห็นร่องรอยของลำเหมืองโบราณ เช่นเดียวกับอุดมคติของชุมชนที่ยังหลงเหลืออยู่

“เราไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ ที่ดินตรงนี้เป็นของสามี และเขาปลูกบ้านไว้ หลังจากเราไปสอนหนังสือที่ขอนแก่นและเรียนต่อ จนได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เลยได้มาอยู่ที่นี่

เคยไปดูแผนที่ของทางเทศบาล ในนั้นระบุว่าชุมชนป่าห้าที่เราอยู่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งถ้ามองทางกายภาพก็แออัดจริงๆ บ้านเรือนสร้างแทบจะขี่คอกัน แถมที่ดินบ้านเราก็อยู่ต่ำกว่าระดับถนน ฝนตกหนักทีก็มีสิทธิ์น้ำท่วม ดีที่บ้านเรามีบริเวณพอจะปลูกต้นไม้ทำสวน รวมถึงขุดบ่อไว้ระบายน้ำ เป็นโอเอซิสเล็กๆ กลางเมือง และถ้ามองในด้านทำเล ตรงนี้คืออุดมคติเลยล่ะ เราสอนหนังสือที่ ม.ช. ขับรถออกไปแค่ 5 นาที อยู่ใกล้สวนสาธารณะ ตลาด โรงพยาบาล ชีวิตแทบไม่ต้องเสียเวลากับการเดินทาง

ชื่อชุมชนป่าห้ามาจากที่เมื่อก่อนชุมชนนี้มีต้นห้าหรือต้นหว้า ขึ้นชุม โดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมต่อกับถนนห้วยแก้ว แต่ก็เป็นเหมือนหลายๆ ย่านในเชียงใหม่ที่ตั้งชื่อตามต้นไม้พื้นถิ่นแต่เดี๋ยวนี้แทบหาไม่ได้ ต้นห้าในชุมชนป่าห้าตอนนี้เหลืออยู่สองต้น ต้นหนึ่งอยู่ในที่ดินของคอนโดมิเนียม ส่วนอีกต้นอยู่ในที่ดินของชาวบ้านใกล้ๆ ศาลพ่อปู่ แทบไม่เหลือหลักฐานแล้ว

อีกสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคือลำเหมือง ซึ่งก็กำลังถูกคุกคามจากยุคสมัยพอกัน ลำเหมืองในชุมชนนี้มีสองแห่ง คือเหมืองห้า กับเหมืองห้วยแก้ว ผู้คนดั้งเดิมขุดลำเหมืองเพื่อรับน้ำที่ไหลมาจากดอยสุเทพ นำไปใช้ตามบ้านเรือน รวมถึงช่วยระบายน้ำไม่ให้ท่วม ทุกวันนี้มีเหมืองห้วยแก้วที่พอจะมีน้ำไหลอยู่บ้าง ส่วนเหมืองห้านี่แห้งขอด หลายช่วงถูกถมเพื่อขยายถนน บางส่วนเป็นที่จอดรถ หรือเข้าไปอยู่ในที่ดินส่วนบุคคล พอลำเหมืองใช้การไม่ได้ ฝนตกหนักทีไร น้ำจึงมักท่วม บ้านเราจึงต้องขุดบ่อไว้แก้ปัญหาตรงนี้ มีเครื่องสูบน้ำไว้ตัวหนึ่ง ถ้าวันไหนพายุเข้าหนักๆ เราก็สูบออกจากบึง แต่ก็นั่นแหละ เพราะชุมชนไม่มีที่ระบายน้ำอย่างเพียงพอ เราสูบออกมันก็ไปขังอยู่ที่ใดที่หนึ่งอยู่ดี

ถึงจะพูดในแง่ลบ แต่เอาเข้าจริงชุมชนป่าห้าเป็นเพียงชุมชนไม่กี่แห่งในเขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่ที่ยังเห็นร่องรอยของลำเหมืองอยู่นะ ที่อื่นนี่แทบไม่เหลือแล้ว แถมชุมชนนี้ก็ยังอยู่ใกล้ย่านที่ถือว่าพลุกพล่านและเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดอย่างนิมมานเหมินท์ด้วย เช่นเดียวกับที่เรายังเห็นชุมชนเก็บบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ไว้ตรงศูนย์กลาง หรือการไหว้ศาลผีปู่ย่า ที่นี่จึงเป็นเหมือนภูมิทัศน์ที่ซ้อนทับกันระหว่างวิถีสมัยใหม่กับรูปแบบสังคมในอดีต

และถ้าเราไปถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน เขาก็จะพูดคล้ายๆ กันว่าเมื่อก่อนยังเห็นทางน้ำไหลรินอยู่เลย ฟังแล้วก็สะท้อนใจ เพราะสมัยที่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ และสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อราวปี 2523 เราก็เห็นแบบนั้น ยังทันเห็นสะพานน้ำดีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อลำเลียงน้ำจาก ม.ช. ข้ามคลองชลประทานมาลงที่เหมืองห้า คุณภาพน้ำในชุมชนจึงดี ที่สำคัญชุมชนนี้ยังเป็นตัวเชื่อมสำคัญของน้ำจากดอยสุเทพที่ไหลเข้าเมือง มันจึงมีความ healthy มากๆ แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็เอาสะพานนี้ออก บวกกับการขยายตัวของเมืองอันขาดการวางแผนและควบคุม ชุมชนจึงเป็นแบบที่เห็น

แต่นั่นล่ะ เราก็ไม่ได้คิดว่าการพัฒนาอะไรต่อมิอะไรคือความเลวร้าย หรือสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ถือว่าสายเกินแก้ การที่ยังคงเหลือลำเหมืองที่น้ำไหลรินอยู่ก็ดี หรือลำเหมืองที่แห้งขอดแต่ก็พอเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนผันก็ดี หรือการที่คนเฒ่าคนแก่ยังมีความทรงจำต่อกายภาพของชุมชนในอดีตก็ดี เราเชื่อว่าการเห็นจะสร้างความตระหนักรู้ และนำไปสู่การให้ความสำคัญ อยู่ที่ว่าเราจะสื่อสารอย่างไรให้คนที่ยังอยู่ คนรุ่นใหม่ หรือคนที่เข้ามาใหม่เข้าใจ และมาร่วมกันพัฒนาให้ชุมชนเจริญโดยไม่ทำให้กายภาพดั้งเดิมสูญหายไปมากกว่านี้

เพราะอย่างน้อยที่สุดป่าห้าก็ยังเป็นย่านที่เราคิดว่ามีอุดมคติชุมชนหลงเหลืออยู่ อย่างที่ เจน จาคอบส์ (Jane Jacobs) นักเขียนและนักมานุษยวิทยาเรื่องเมืองเคยเขียนไว้ – เวลาเราเดินไปบนถนนในย่าน มองไปทางนี้ก็จะรู้ว่าคุณลุงที่นั่งอยู่ตรงนั้นชื่ออะไร รู้ชื่อของแม่ค้าขายของชำ ช่างซ่อมมอเตอร์ไซค์ในย่าน คือแม้ไม่ได้สนิท แต่ก็รู้จักกันหมด บรรยากาศในย่านมันฟูมฟักความอุ่นใจแก่ผู้อยู่อาศัย ชุมชนป่าห้ายังมีลักษณะแบบนี้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เราหาไม่ได้จากบ้านจัดสรรหรือย่านการค้าสมัยใหม่อีกต่อไปแล้ว”

///

รศ.ดร. ปรานอม ตันสุขานันท์

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และชาวชุมชนป่าห้า

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago