ไม่ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แต่การค้นพบเส้นทางนี้ อย่างน้อยๆ มันก็ทำให้เราพบว่า เรามีชีวิตและเรียนรู้ไปเพื่ออะไร

“เราทั้งคู่ไม่ได้มีพื้นเพอยู่ที่นี่แต่แรก จุ้ยเป็นคนน่าน ส่วนโชะเป็นคนเชียงราย เราเจอกันตอนบรรจุราชการครูที่หาดใหญ่ พอตัดสินใจอยู่ด้วยกันก็มาคิดถึงเมืองที่อยู่ใกล้บ้าน แล้วก็มาลงเอยด้วยการย้ายมาทำงานที่พะเยา  

พอตัดสินใจแล้วจะใช้ชีวิตกันที่เมืองนี้ เราเลยลงมือปลูกบ้าน บ้านที่มีสวน มีพื้นที่ให้เราทำงานศิลปะและทำเวิร์กช็อปเล็กๆ (ครูจุ้ยเป็นครูศิลปะ ส่วนครูโชะสอนดนตรี – ผู้เรียบเรียง) คุยกันหลายรอบว่าบ้านเราควรจะเป็นแบบไหน จนมีโอกาสได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพี่โจน จันได เราชอบวิธีคิดในการสร้างสมดุลชีวิตและปรัชญาในการสร้างบ้านดินของเขา นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราทั้งคู่ตัดสินใจทำบ้านดิน


ทำไมต้องเป็นบ้านดินน่ะหรือ ข้อแรกคือความประหยัด ข้อต่อมาคือมันสอดรับกับทุ่งนาและสวนบริเวณนี้ และในฐานะที่เราทั้งคู่สนใจการเรียนรู้ผ่านกระบวนการศิลปะ บ้านดินจึงตอบโจทย์ที่สุด เราทำบ้านเองทุกขั้นตอน ได้ลองผิดลองถูก ได้ใช้ชีวิตและเรียนรู้ไปกับมัน หลายคนมักมองว่าบ้านดินดูแลรักษายาก แต่ก็เพราะเราเรียนรู้ไปกับมันตลอดเวลานี่แหละ เราจึงพบวิธีประยุกต์ให้บ้านดินมีความยั่งยืน อยู่ง่าย และอยู่สบายด้วย เราตั้งสโลแกนที่แห่งนี้ไว้ว่า live and learn mud house และตั้งชื่อบ้านว่า ‘บ้านดินคำปู้จู้’ โดยคำปู้จู้แปลว่าดอกดาวเรืองที่เราปลูกในบริเวณ

เพราะเราทั้งคู่เป็นครูสายศิลปะด้วย เราจึงตระหนักว่าศิลปะมันไม่ควรเรียนจบแค่ในห้องเรียน พอทำบ้านหลังนี้เสร็จก็เลยคิดจะเปิดเป็นพื้นที่กิจกรรมเสริมให้แก่นักเรียน แต่ก็ไม่คิดว่าจะทำให้เป็นทางการอย่างไร จนมาปี 2558 สำนักวัฒนธรรมเมืองพะเยามาเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาที่นี่ให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและของเมืองได้ ซึ่งก็สอดรับกับสิ่งที่เราสอนอยู่คือเครื่องปั้นดินเผา โดยพะเยาก็มีแหล่งเตาเผาโบราณที่ชื่อเวียงบัว รวมถึงที่เราทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 อยู่แล้ว เราก็คิดว่าถ้าเปิดเป็นพื้นที่เรียนรู้ก็น่าจะได้นะ

ตอนนั้นมีโครงการเปิดแหล่งเรียนรู้ 60 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่การเรียนรู้แห่งอื่นๆ ทั้งหมดล้วนเป็นพิพิธภัณฑ์ วัด ห้องสมุด หรือเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีแค่ของเราที่เดียวเลยที่เป็นบ้านคน บ้านที่เราอาศัยอยู่จริงๆ

ที่นี่สอนทุกอย่างเท่าที่เราได้เรียนรู้มาค่ะ หลักๆ คือการทำบ้านดินประยุกต์ ทำเตาดิน งานเซรามิก ไปจนถึงการเกษตร ขณะเดียวกันเราก็เปิดให้ผู้ที่สนใจใช้พื้นที่เราทำเวิร์คช็อปเรื่องอื่นๆ อย่างดนตรี ศิลปะ ไปจนถึงการทำอาหาร เรามองสองแง่มุม อันดับแรกคือคุณมาเรียนเพื่อเพิ่มทักษะทางวิชาชีพ อย่างที่เราสอนทำบ้านดิน ก็มีหลายคนมาเรียนเพื่อไปสร้างพื้นที่ของตัวเอง หรือเรียนเพื่อเอาไปใช้ในเชิงธุรกิจ

ส่วนอันที่สองที่สำคัญกว่าคือ การมาเรียนเพื่อได้รู้จักตัวเอง หลายคนมักเข้าใจว่าการที่เราเรียนศิลปะ ปลายทางคือการเป็นศิลปิน แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ศิลปะคือการทำความเข้าใจชีวิต มันเปิดโอกาสให้เราได้สำรวจความชอบของตัวเอง เข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบ การถอดบทเรียนจากสิ่งที่เราผิดพลาด ไปจนถึงเรื่องของสมาธิ และปรัชญา

ยิ่งสิ่งที่เราสอนคืองานเครื่องปั้นดินเผาด้วย เราใช้ดินเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ้าเอาดินเข้าเตาแล้วมันแตก ระเบิดไป คุณรับกับความไม่แน่นอนนี้ได้ไหม ขณะที่คุณปั้นดิน คุณคิดว่านี่ดีที่สุดแล้ว แต่คุณอาจยังไล่อากาศออกจากดินไม่หมด ก็มีโอกาสระเบิดในเตาไปโดนงานของคนอื่นด้วย เราจึงต้องดูแลของตัวเองให้ดีที่สุด เพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น

การศึกษาที่ถูกต้องควรจะทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น แต่คุณสังเกตไหมว่ายิ่งเรียนในชั้นเรียนมาก เราจะยิ่งรู้สึกว่าทำไมยากจัง ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเราอาจจะยังไม่รู้ว่าเราชอบอะไร การเรียนในห้องเรียนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะทำให้เราได้ความรู้ไปประกอบอาชีพ แต่การเรียนนอกห้องเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้เราได้รู้จักตัวเอง และถ้าเรารู้จักตัวเองแต่เนิ่นๆ เราจะไม่มาเสียเวลาทำในสิ่งที่ไม่ชอบ และเราจะทุ่มไปทั้งตัวเพื่อสิ่งที่เรารัก ซึ่งไม่ว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แต่การค้นพบเส้นทางนี้อย่างน้อยๆ มันก็ทำให้เราภูมิใจ และพบว่าเรามีชีวิตและเรียนรู้ไปเพื่ออะไร”  

ครูจุ้ย-ชลดา และครูโชะ-ศักดิ์ชัย เวยื่อ
ครูโรงเรียนเทศบาลและเจ้าของบ้านดินคำปู้จู้

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago