Categories: Citizenยะลา

ไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่อยากเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ หลายคนก็อยากทำงานที่ตัวเองรักในบ้านเกิดตัวเอง แต่ที่ผ่านมามันเป็นไปได้ยาก

“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก

ตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์

ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ ผมทำเรื่องงานออกแบบกราฟิกกับแลนด์มาร์คของเมืองยะลา ความที่ผมเป็นคนยะลา เห็นเมืองนี้มาตั้งแต่เด็ก คิดว่าเมืองน่าจะสวยขึ้นกว่านี้ ถ้ามีการนำกราฟิกดีไซน์ร่วมสมัยมาใช้กับป้ายบอกทางต่างๆ และพื้นที่สาธารณะ ช่วงเวลานั้นทำให้ผมเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ ของเมืองยะลา และนั่นทำให้ผมรู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ – นักออกแบบโครงการยะลาไอคอน) ซึ่งเขาเคยทำงานครีเอทีฟที่กรุงเทพฯ ก่อนกลับมาถางเส้นทางนี้ที่บ้านเกิดในยะลา เลยมีโอกาสร่วมงานกับพี่บอล และเริ่มเห็นถึงความเป็นไปได้ในการทำอาชีพนักออกแบบในยะลาเหมือนพี่เขา

หลังเรียนจบ ผมไปทำงานกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่กรุงเทพฯ และก็ได้งานฟรีแลนซ์ให้บริษัทที่มาเลเซีย แต่พอโควิด-19 มา จึงตัดสินใจออกมาเป็นฟรีแลนซ์และกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่ยะลา พอพี่บอลรู้ว่าผมกลับมาอยู่บ้านแล้ว เขาก็ชวนผมทำโปรเจกต์ยะลาไอคอน ซึ่งเป็นงานยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยงานออกแบบ ก่อนที่ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จะเข้ามาชวนพวกเราทำงานยะลาสตอรี่ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยผมรับหน้าที่ในการดูแลงานกราฟิกทั้งหมดของงาน

ทุกวันนี้ผมเป็นกราฟิกประจำ SoulSouth Studio ของพี่บอล โดยมีผมและเพื่อนที่เรียน ม.อ.ปัตตานี ด้วยกันมาช่วยกัน ซึ่งก็ทำหมดตั้งแต่การออกแบบ งานครีเอทีฟมาร์เกตติ้ง แบรนด์ดิ้ง ไปจนถึงสื่อวิดีโอ งานออกแบบสามมิติ และอื่นๆ ก็มีงานเรื่อยๆ ครับ เพราะพี่บอลเป็นที่รู้จัก และมีเครือข่ายผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ ในเมืองอื่นๆ อยู่มาก

แน่นอน งานกราฟิกในสเกลระดับท้องถิ่น อาจทำรายได้ไม่ฟู่ฟ่า หรือเปิดโอกาสให้เราได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ให้กับลูกค้าไม่มากนัก แต่ถ้าเทียบกับการได้ทำงานที่เรารักในบ้านเกิด รวมถึงการมีเวลาพอที่จะได้ทำงานส่วนตัวที่เราและทีมงานสนใจ ผมก็ว่าสิ่งนี้ก็คุ้มค่า และทำให้เรามีสมดุลในการใช้ชีวิตที่ดีมากๆ

ก็หวังว่าสิ่งที่เราทำจะมีส่วนช่วยยกระดับอาชีพสายครีเอทีฟนี้ให้ยะลาและเมืองเล็กๆ เมืองอื่น เพราะไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่อยากเข้าไปทำงานกรุงเทพฯ หลายคนก็อยากทำงานที่บ้านเกิดตัวเอง เพียงแต่ที่ผ่านมา พอคนในท้องถิ่นไม่ได้เห็นคุณค่าในงานสายนี้เท่าไหร่ การประกอบอาชีพจึงเป็นไปได้ยาก”  

อับดุลการิม ปัตนกุล

นักออกแบบ SoulSouth Studio

https://www.facebook.com/SoulSouthStudio

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago