“รูปแบบของานยอสวยไหว้สาพญามังราย ฉลองครบรอบ 726 ปีเมืองเชียงใหม่ ที่ทางเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมจัดงานไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แตกต่างจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือในที่สุดเราก็สามารถสืบค้นจากเอกสารโบราณเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงหอบรรพกษัตริย์ตามประเพณีดั้งเดิมได้ เราจึงมีการจัดเครื่องสักการะเป็นกับข้าวพื้นเมือง 9 อย่างตรงตามเอกสาร ไม่ใช่การถวายหัวหมูแบบธรรมเนียมเซ่นไหว้ของคนจีนเหมือนก่อน
หลายคนอาจสงสัยว่าจะอะไรกันหนักหนากับเครื่องเซ่นไหว้ ก็ต้องบอกว่าในเมื่อเราจะทำตามประเพณีแล้ว เราก็ควรเข้าใจความหมายในทุกบริบทของประเพณี ทำไมคนโบราณถึงเลือกใช้กับข้าว 9 อย่างนี้ ทำไมต้องถวายขันโตกแยกถาดเหล้า ถาดล้างมือ หรืออื่นๆ ไม่ใช่แค่ว่าพอมีพิธีกรรม เราก็แค่จัดไปตามพิธีกรรม ถ้าเป็นแบบนั้นเมืองไหนนำไปจัดก็ได้
ถึงป้าจะพูดแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าศิลปวัฒนธรรมล้านนาจะต้องถูกแช่แข็งไปตามตำราเสมอนะ ป้าเชื่อว่าทุกอย่างต้องมีวิวัฒน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย แต่ก็ควรอยู่ภายใต้ความเข้าใจในรากเหง้า อย่างปีนี้เรายังนำเสนอองค์ความรู้เรื่องการตานต้นจ้อ ต้นจ้อคือตุงสำหรับสักการะชนิดหนึ่ง แต่มีขนาดเล็กลง เรานำต้นจ้อมาสักการะองค์สามกษัตริย์ โดยมีการประยุกต์ดีไซน์ให้ต่างออกไปจากเดิมบ้าง แต่ยังคงความหมายดั้งเดิมของต้นจ้ออยู่
อีกเรื่องที่สำคัญคือในทุกๆ พิธีกรรม ผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดงาน ควรจะเป็นชาวบ้าน ชาวชุมชน ผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมในพื้นที่ด้วย เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องความเชื่อ แต่ประเพณีล้านนายังเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ในบางพิธีกรรมที่คนภายนอกมองว่าสวยจัง แต่ฟันเฟืองสำคัญเบื้องหลัง คือฝีมือของคนทำตุง คนทำเครื่องดำหัว สล่าหัตถกรรมอื่นๆ เหล่านี้คือชาวบ้านธรรมดาที่ทำมาหากินอยู่ในเชียงใหม่ ตราบใดที่วิถีชีวิตคนเมืองและการท่องเที่ยวเชียงใหม่ยังผูกโยงอยู่กับศิลปวัฒนธรรม คนเหล่านี้ก็จะสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้อย่างภาคภูมิ
หรืออย่างการเผยแพร่ความรู้เรื่องเครื่องบวงสรวงที่เป็นอาหารพื้นเมือง อย่างลาบ หรือไก่คู่ตามจารีตดั้งเดิม ก็ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเมืองได้อีก เราสามารถบอกได้ว่าเมนูที่คุณมากินที่เชียงใหม่เมนูนี้ อยู่ในเครื่องสักการะอารักษ์เมืองของเราเชียวนะ ขึ้นแท่นแบบเดียวกับภัตตาคารชื่อดังในมิชลินไกด์เลย
ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้วที่ป้าร่วมกับเพื่อนๆ จากหลายชุมชนในเขตเมืองเชียงใหม่ ขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ จากจุดเริ่มต้นที่ป้าอยากมีส่วนในการแก้ปัญหาต่างๆ ของเมืองด้วยการใช้วัฒนธรรมเป็นตัวนำ ป้าภูมิใจที่คนตัวเล็กๆ อย่างพวกเราสามารถผลักดันหลายๆ เรื่องให้ประสบความสำเร็จ อย่างการรณรงค์เรื่องผางประทีปแทนการปล่อยโคมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม การผลักดันให้คนในชุมชนมีส่วนในการจัดประเพณีหรือพิธีกรรมของเมืองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก แทนที่จะเป็นการให้รัฐจ้างออร์แกไนซ์จากที่อื่นมาทำงานเต็มรูปแบบเหมือนเมื่อก่อน
หรือที่ภูมิใจที่สุดคือการทำเวิร์คช็อปช่างฟ้อนที่เราสามารถสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่จากสถาบันศึกษาต่างๆ กว่า 20 แห่งทั่วเมือง โดยทุกวันนี้เรามีช่างฟ้อนรุ่นใหม่มากถึง 22 คณะ หรืออย่างงานปีใหม่เมืองปีล่าสุดที่เทศบาลอยากให้มีช่างฟ้อนมาร่วมฟ้อนรำเป็นสิริมงคลจำนวนเท่าปีเกิดของเมืองเชียงใหม่คือ 726 คน เราก็ได้เหล่าคนรุ่นใหม่ที่เคยร่วมกิจกรรมกับเรา มาร่วมฟ้อนครบจำนวนโดยใช้เวลาในการรวบรวมไม่นาน
การได้เห็นเด็กสมัยใหม่หลายคนที่ชอบฟังเพลงเค-ป๊อบ หรือสนใจในวัฒนธรรมตะวันตก แต่ยังสามารถฟ้อนร่วมกับคนเฒ่าคนแก่ รุ่นแม่ รุ่นยายได้ เป็นเรื่องน่าปลื้มใจมากทีเดียว และป้าคิดว่าสิ่งนี้คือส่วนหนึ่งของดอกผลตลอด 11 ปีที่เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้ดำเนินการมา”
///
เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง
ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…