ชุมชนหน้าโรงเลื่อยมีประวัติศาสตร์สำคัญสองเรื่อง คือเป็นชุมชนดั้งเดิมในยุคตั้งเมืองเมื่อ 200 กว่าปีก่อน กับเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหนักเก่าแก่แห่งเดียวในเมืองกาฬสินธุ์

2 years ago

“กาฬสินธุ์มีโรงงานอุตสาหกรรมหนักแห่งเดียวในจังหวัดคือโรงงานแปรรูปไม้ หรือโรงเลื่อย ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนที่แม่เป็นประธาน นั่นคือชุมชนหน้าโรงเลื่อยชุมชนหน้าโรงเลื่อยตั้งอยู่ติดกับลำน้ำปาว หรือคลองปาว ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ผู้ก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ โดยพระยาโสมพะมิตร เดิมเป็นเจ้านายลาวที่อพยพเทครัวมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งรกรากใหม่บริเวณแก้งส้มโฮง ดงสงเปือย (แก่งสำโรง โค้งสงเปือย) หรือบริเวณริมคลองปาวแห่งนี้ ก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จไปเข้าเฝ้าในหลวง รัชกาลที่ 1 เพื่อขอสวามิภักดิ์เข้ากับสยาม ในปี พ.ศ.…

สำคัญกว่าค่าตอบแทน คือการที่เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ ไม่ว่าพวกเขาจะโตไปทำอาชีพอะไร ถ้ามีพื้นฐานตรงนี้ ก็ไปต่อได้ง่ายทั้งนั้นครับ

2 years ago

“ผมเป็นครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ และสอนวิชาดนตรีในชั่วโมงวิชาชุมนุม ก็จะชวนเด็กๆ ที่สนใจอยากเล่นดนตรี พอมีแวว หรือมีพื้นฐานทางดนตรีมาซ้อมวงกันโรงเรียนเราเปิดสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเป็นโรงเรียนร่วม รับเด็กที่บกพร่องด้านการเรียนรู้มาเรียนด้วย จึงมีวิชาชมรมที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเสริมเพื่อช่วยพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กๆ ต้องยกเครดิตให้ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์กิ่งเพชร ธารพร ที่คอยสนับสนุนชมรมดนตรี ซึ่งไม่เพียงการสนับสนุนเครื่องดนตรีให้เด็กๆ ได้ฝึกซ้อม…

ถ้านึกถึงไส้กรอกปลา ต้องที่กาฬสินธุ์

2 years ago

“แต่ก่อนผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน ที่ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สมัยเป็นนักศึกษาเคยช่วยอาจารย์ทำงานวิจัยอยู่หลายโครงการ จึงคุ้นเคยกัน พอเรียนจบ ผมก็ไปทำงานที่สมุทรสาครก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อาจารย์จิระพันธ์ ทำวิจัยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กาฬสินธุ์ จนนำมาสู่นวัตกรรมด้านอาหารของจังหวัด จุดเริ่มต้นมาจากที่เกษตรกรชาวกาฬสินธุ์เขาเลี้ยงปลาดุกสายพันธุ์รัสเซีย ซึ่งกำลังประสบภาวะล้นตลาด เพราะขนาดของมันใหญ่เกินไป ผู้คนไม่นิยมบริโภค อาจารย์ก็เลยคิดถึงการแปรรูปปลาสายพันธุ์นี้เป็นอาหารประเภทอื่น ก่อนมาลงตัวที่ไส้กรอกปลาด้วยกระบวนการอิมัลชั่น (emulsion)อาจารย์ได้ร่วมมือกับท่านนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ จารุวัฒน์…

“ถ้าคุณแค่ทำตามทีโออาร์ ด้วยการจัดตั้งตลาดให้ชาวบ้าน พอสิ้นสุดโครงการแล้วคุณก็ไป มันก็ไม่ต่างอะไรกับชวนชาวบ้านมาเล่นขายของ”

2 years ago

“พี่มีอาชีพหลักเป็นครูโรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีอาชีพเสริมคือขายผ้าพื้นเมืองของชุมชน โดยพี่จะเป็นคนไปหาผ้าทอจากชุมชนต่างๆ เช่น ผ้าขาวม้าและผ้าคลุมไหล่ของตำบลโพนงาม ผ้าทอของอำเภอสามชัย หรือกลุ่มผ้าโทเร เป็นต้น มาขายตามงานต่างๆ ในเมืองกาฬสินธุ์ เวลาใครนึกถึงกาฬสินธุ์ จะคิดถึงผ้าไหมแพรวา ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อ แต่นั่นล่ะ ผ้าไหมแพรวาไม่ได้เป็นผ้าทอชนิดเดียวที่มีในบ้านเรา และอีกอย่างราคาก็ค่อนข้างสูง ไม่ใช่ทุกคนจะซื้อหามาใช้ได้ พี่จึงเลือกผ้าทอชนิดอื่นๆ ที่มีราคาไม่แรงนัก…

ตรุษจีนปากน้ำโพ ภาพสะท้อนการพัฒนาเมืองแบบคนนครสวรรค์

2 years ago

ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทยและเลขานุการกฎบัตรไทย นักวิจัยที่เข้ามายังเทศบาลนครนครสวรรค์และมีส่วนขับเคลื่อนให้เกิดคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาเมือง กล่าวชื่นชมเมืองแห่งนี้ว่าเป็นเมืองที่เขาพบความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างน่าทึ่งและไม่เคยพบจากเมืองไหนมาก่อน ถึงขนาดนิยามว่านครสวรรค์มีศักยภาพเป็นเมืองหลวงแห่งกฎบัตรของประเทศไทยเช่นเดียวกับสองคีย์แมนคนสำคัญอย่าง นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ และประธานสภาเทศบาลฯ สมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ที่ได้รับเสียงชื่นชมจากทั้งกลุ่มนักวิชาการ เครือข่ายภาคธุรกิจและภาคประชาชน ถึงความตั้งใจสานความร่วมมือและเปิดโอกาสให้คนนครสวรรค์ทุกกลุ่มมีส่วนในการแบ่งปันข้อคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางของเมือง รวมถึงการออกแบบกรอบของกฎบัตรและแนวทางพัฒนาเมืองด้วยสมาร์ทซิตี้ ที่ครอบคลุมผู้คนทุกระดับ รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึง แต่นั่นล่ะ ไม่ใช่เพียงเพราะการที่เมืองมีผู้นำเข้มแข็ง…

ปากน้ำประแส
เรือรบหลวง ทุ่งโปรงทอง และวิถีประมงพื้นบ้านอันยั่งยืน

2 years ago

ตั้งอยู่ในอำเภอแกลง ห่างจากเทศบาลนครระยองราว 57 กิโลเมตร ตำบลปากน้ำประแสเดิมเคยเป็นหมู่บ้านประมงพาณิชย์ที่แสนคึกคักและรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในแถบภาคตะวันออก หากปัจจุบันด้วยกฎหมายการประมงที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้การประมงแบบเดิมซบเซาราวพลิกฝ่ามือ อย่างไรก็ตาม ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และประวัติศาสตร์ที่เชื่อมร้อยกับพื้นที่และชุมชน ทำให้ปากน้ำประแสเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด สถานที่ที่คุ้มค่าแก่การขับรถมาเยือนจากตัวเมืองระยองเพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศของการพักผ่อนที่ไม่เหมือนที่ไหน และเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไม สะพานประแสสินสะพานประแสสินมีสถานะกลายๆ ของการเป็น ‘ประตู’ ทางเข้าเมือง (ตำบลปากน้ำประแส) สะพานที่ทอดยาวซึ่งมาพร้อมทางจักรยานและทางเดินเท้าแห่งนี้ เป็นจุดชมวิวชุมชนปากน้ำประแสและท้องทะเลอันกว้างใหญ่สุดสายตา…

ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ
ปอดของคนระยอง และทางเดินชมป่าชายเลนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

2 years ago

อาจเรียกได้ว่าเป็นทุกขลาภของเมืองอุตสาหกรรมอย่างระยอง เพราะแม้จะเป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในประเทศ หากก็ต้องแลกมาด้วยมลภาวะทางอากาศจากจำนวนโรงงานที่มีมากถึง 4,000 แห่ง (ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง) อย่างไรดี ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสมดุลหนุนเสริมคุณภาพชีวิตของชาวระยอง คือการที่เมืองอยู่ติดชายทะเล และการมีป่าโกงกางพื้นที่กว่า 500 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คอยซับมลภาวะ เป็น ‘ปอด’ สำคัญของคนระยอง ไม่เพียงเท่านั้นป่าโกงกาง…

ตลาดใต้ พิษณุโลก
หลบเวลาไปชมวิถีตลาดเช้าสุดคลาสสิคของเมืองพิษณุโลก

2 years ago

แม้จะมีองค์ประกอบแบบเฉกเช่นตลาดเช้าที่พบได้ทั่วประเทศ - ผู้คนขวักไขว่ แผงขายอาหาร เขียงหมู น้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ สภากาแฟ หรือบรรยากาศจอแจตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน กระนั้นเมื่อพินิจถึงรายละเอียด คุณจะพบว่าตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก ตลาดเช้าที่ซ่อนตัวอยู่ระหว่างถนนบรมไตรโลกนาถและแม่น้ำน่าน ไม่ไกลจากหอนาฬิกาใจกลางเมือง กลับมีเอกลักษณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้ ตึกแถวเก่าแก่ในยุคโมเดิร์นเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว บรรยากาศแบบย่านคนไทยเชื้อสายจีนที่คลุกเคล้าไปกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนพิษณุโลก วิถีตลาดท้องถิ่นที่ซ้อนทับไปกับชีวิตคนเมือง แผงขายสินค้าแบบกะดินกลางถนน…

“ถ้าคุณไปเที่ยวเมืองไหน การมาเดินตลาดเช้าที่มีความดั้งเดิมของเมืองนั้น ก็จะทำให้คุณรู้จักเมืองนั้นได้ลึกซึ้งที่สุด”

2 years ago

“บ้านผมอยู่แถวตลาดเหนือ ซึ่งอยู่บริเวณวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) สมัยเด็กๆ ยังทันเห็นตลาดในสภาพดั้งเดิม ที่พ่อค้าแม่ค้าจับปลาในแม่น้ำน่านขึ้นมาขาย มีผู้คนจากทั่วสารทิศนำของป่าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแบกะดินขาย เห็นวิถีชีวิตกึ่งชนบทกึ่งเมืองหมุนเวียนในตลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ตลาดแห่งนี้ก็เปลี่ยนตาม ทุกวันนี้ตลาดเหนือก็เป็นตลาดในแบบที่เราเห็นได้ทั่วไปจากที่อื่นๆ ทั้งนี้ การได้มาเดินตลาดใต้ตอนเช้า จึงเป็นเหมือนได้เห็นตลาดใกล้บ้านที่ผมคุ้นเคยในอดีต เพราะตลาดแห่งนี้ยังคงรักษาความดั้งเดิมของตัวเองไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และในฐานะที่ผมทำงานสำนักงานการท่องเที่ยวเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งตลาดใต้ก็อยู่ในพื้นที่ดูแลของเราด้วย ผมจึงพร้อมประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ไปพร้อมกับฟื้นฟูตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก…

“ไม่ใช่ย่านนี้ไม่มีคนอยู่นะครับ หลายบ้านเขาก็ยังอยู่ เพียงแต่เหลือแค่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ จึงปิดบ้านไว้เฉยๆ”

2 years ago

“บ้านหลังนี้สร้างปีเดียวกับที่ผมเกิดเลย ปีนี้เป็นปีที่ 49 ล่ะครับ สมัยก่อนเราเปิดเป็นร้านโชห่วย ขายดีมาก เพราะอยู่ใกล้ๆ กับโรงหนังกิตติกร ซึ่งเป็นโรงหนังที่ฉายหนังจีนเป็นหลัก ซึ่งก็สอดรับกับบรรยากาศของย่านตลาดใต้ดีที่เป็นย่านคนจีน จนโรงหนังปิดตัวลง ร้านโชห่วยก็เลิกตามไปผมอยู่ตลาดใต้ตั้งแต่ยุคที่มีทั้งโรงหนัง โรงแรม ตลาดที่เปิดตั้งแต่เช้าจนค่ำ รวมถึงบางส่วนของย่านที่ยังเป็นป่ารก พอมาสมัยนี้ไม่เหลือป่ารกแล้ว โรงหนังถูกทุบทิ้งกลายเป็นทาวน์เฮ้าส์ ส่วนโรงแรมยังอยู่ (โรงแรมเทพประทาน) แต่ไม่ได้ถูกบูรณะอะไร…