“เมื่อราว 50 กว่าปีที่แล้ว ผมขับรถตุ๊กตุ๊กรับส่งนักท่องเที่ยวในตัวเมืองหาดใหญ่ ขับไปได้สักพักก็เริ่มรู้ว่าจะพานักท่องเที่ยวไปที่ไหนและไปเที่ยวอย่างไรให้ตอบโจทย์คนแต่ละกลุ่ม แล้วผมก็เลยสอบเพื่อขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และทำอาชีพนี้มาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าหลังจากหาดใหญ่เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกมาเนิ่นนาน ผมเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองนี้ก็ว่าได้ ซึ่งในยุคแรกพูดตรงๆ ได้เลยว่า เละครับ เรายังไม่มีการจัดการ ไกด์ผีหรือไกด์เถื่อนเยอะมาก นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา หลายคนโก่งราคาหรือไปหลอกเอาเงินจากเขา บางรายฮั้วกับสถานบันเทิงเพื่อฟันราคาเพิ่ม พาไปซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ หรือในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ท ก็มีการเอารูปห้องพักปลอมมาหลอกนักท่องเที่ยว…
“เมื่อเดือนสิงหาคม (2565) ที่ผ่านมา ทางเทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว IMT-GT ซึ่งเป็นแผนงานความร่วมมือของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยในการพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดกรีนซิตี้ (Green City) โดย พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วยการประชุมครั้งนั้นเป็นรูปธรรมอันชัดเจนว่าเทศบาลนครหาดใหญ่เรากำลังเดินหน้าขับเคลื่อนเมืองด้วยยุทธศาสตร์เมืองสีเขียว ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเมืองในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ การจัดการขนส่ง…
“พ่อผมทำงานที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นก็ตามมาด้วยพี่ชาย ส่วนผมทำงานบริษัทเอกชน แต่ก็เติบโตมากับชุมชนรถไฟ และคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนรถไฟที่นี่ดี แต่ไหนแต่ไรรถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา และจุดเริ่มต้นของความเจริญของเมืองหาดใหญ่ก็มาจากการตั้งชุมทางรถไฟหาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบราชการรวมศูนย์ การรถไฟจึงแปลกแยกตัวเองจากชุมชนและเมืองพอสมควร กล่าวคือต่อให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคประชาชนมีโครงการพัฒนาเมืองอะไรก็ตาม แต่ถ้าหน่วยงานระดับบนของการรถไฟไม่เอาด้วย หน่วยงานส่วนท้องถิ่นก็จะไม่สามารถร่วมโครงการพัฒนานั้นได้ด้วยเหตุนี้เมื่อย้อนกลับมามองเฉพาะในหาดใหญ่ จึงเห็นได้ชัดว่าแม้พื้นที่ของสถานีและชุมชนรถไฟที่มีหลายร้อยไร่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นมาก แต่พื้นที่ดังกล่าวกลับดูคล้ายเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการเชื่อมโยงกับเมือง การรถไฟเรามีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ด้วยบรรยากาศบางอย่าง คนหาดใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากเข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย…
“ผมเริ่ม Tuber เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากความที่ก่อนหน้านี้ผมทำงานกรุงเทพฯ และพบว่าวงการสตาร์ทอัพในไทยกำลังมา พร้อมๆ กับการเกิด Co-working space หลายแห่ง ประกอบกับที่พบว่าคนหาดใหญ่ที่มีศักยภาพในวงการเทคโนโลยีต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อย ก็คิดว่าถ้าเราเปิดพื้นที่ในบ้านเกิดเราได้ ก็คงมีส่วนขับเคลื่อนแวดวงสตาร์ทอัพให้หาดใหญ่และภาคใต้ จึงตัดสินใจเปิดที่นี่ขึ้นมาเป็น Co-working space แห่งแรกของเมือง…
“คณะผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ 3 เรื่อง คือการทำให้หาดใหญ่เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว และน่าลงทุน ด้วยเหตุนี้ เมืองเราจึงขับเคลื่อนด้วย 3 กลไกหลัก ได้แก่ สมาร์ทซิตี้ (smart city) กรีนซิตี้ (green city) และเลิร์นนิ่งซิตี้ (learning city)…
“ผมเรียนกรุงเทพฯ จบมา ก็ทำงานเป็นสถาปนิก ก่อนจะเปิดบริษัทรับจัดอีเวนท์และคอนเสิร์ต ทำอยู่พักใหญ่ แล้วรู้สึกเบื่อกรุงเทพฯ ประกอบกับที่อยากกลับมาดูแลแม่ด้วย เลยตัดสินใจปิดบริษัท กลับมาเริ่มใหม่ที่หาดใหญ่พอมาอยู่บ้าน ผมก็ทำงานคล้ายๆ กับที่กรุงเทพฯ ทำบริษัทออกแบบ และเปิดอีกบริษัทไว้ทำอีเวนท์ ทำอย่างนี้มาได้ประมาณ 2-3 ปี จนมีโอกาสไปเยี่ยมเยียน a.e.y. space ของพี่เอ๋…
“หาดใหญ่มีคลองระบายน้ำอยู่สองแห่ง คลองอู่ตะเภาทางทิศตะวันตกของเมือง และคลองเตยทางทิศตะวันออก ทั้งสองแห่งทำหน้าที่ระบายน้ำจากในเมืองออกสู่ทะเล โดยคลองที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมือง และอยู่คู่กับวิถีคนหาดใหญ่ จนคนส่วนใหญ่เคยชินจึงไม่ได้เห็นว่ามันมีความสำคัญอะไรคือคลองเตย คลองนี้เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ตัวเมืองไม่เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีหลายครัวเรือนรุกล้ำพื้นที่ริมคลอง หรือหนักเข้าก็มีบางคนเอาขยะไปทิ้งในนั้น ทำให้ไม่เพียงน้ำในคลองเน่าเสีย แต่ขยะยังไปอุดตันทำให้คลองบางช่วงสูญเสียศักยภาพในการระบายน้ำอีก พี่เป็นหนึ่งในทีมงานของพี่เจี๊ยบ (สิทธิศักดิ์ ตันมงคล, หัวหน้าโครงการคลองเตยลิงก์) โดยเป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐซึ่งก็คือเทศบาลนครหาดใหญ่ ก็ช่วยดูเรื่องผังเมือง และเป็นตัวกลางเชื่อมหน่วยงานหรือชุมชนต่างๆ…
“ผมย้ายมาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่ ป.4 มีแค่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่ก็อยู่ทันเห็นช่วงที่หาดใหญ่รุ่งเรืองมากๆ ในแบบที่ถนนใจกลางเมืองคับคั่งไปด้วยผู้คนทั้งวันทั้งคืนมาแล้ว แต่ภาพแบบนี้ไม่มีในหาดใหญ่มาร่วมๆ 20 ปีแล้ว และสถานการณ์มันก็ดร็อปลงเรื่อยๆ จนมาตกสุดช่วงโควิด-19 ก่อนที่จะมีแนวโน้มกลับมาดีขึ้นในช่วงเวลานี้ถ้าเทียบหาดใหญ่ยุคหลังโควิดกับช่วงเวลาของวัน ผมคิดว่าเราอยู่ราวๆ ตี 4 คือสำหรับคนที่นี่ยังเห็นว่ามืดอยู่ แต่คนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเริ่มจะเห็นแนวโน้มแล้วว่าอีกสัก 2 ชั่วโมงก็เช้า อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบนี้เป็นแค่ความรู้สึก…
“ปู่ผมทำนาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ยังไม่มีการสร้างสถานีรถไฟโคกเสม็ดชุน หรือชุมทางหาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ ตอนผมเป็นนักเรียน เมืองหาดใหญ่ยังมีถนนหน้าสถานีรถไฟแค่ 3 สาย ซึ่งตอนแรกยังไม่มีชื่อด้วยซ้ำ เราเลยเรียกกันว่าถนนสาย 1 สาย 2 และสาย 3 บ้านเรือนสมัยนั้นเป็นเรือนไม้อยู่ห่างๆ กัน พ้นจากถนน 3 สายนี้ไปก็เป็นทุ่งนาแล้วสมัยก่อนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีหาดใหญ่ส่วนหนึ่งจะใช้สำหรับขนปศุสัตว์ไปขายที่มาเลเซีย ข้ามอุโมงค์เลยพื้นที่ที่ตอนนี้คือถนนศรีภูวนาถไป เคยเป็นด่านกักสัตว์เพื่อให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนส่งออก…
“อาตมาเป็นคนสมุทรสาคร บวชอยู่กรุงเทพฯ ได้ 6 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2514 พระอาจารย์ว่วยจง เจ้าอาวาสวัดฉื่อฉาง ถึงแก่มรณภาพ อาตมาจึงเดินทางมาหาดใหญ่เป็นครั้งแรกเพื่อร่วมงานศพ และช่วยดูวัดนี้ต่อ จนปี พ.ศ. 2517 เขาก็ให้เป็นเจ้าอาวาส จึงต้องอยู่ที่วัดแห่งนี้ไม่ได้ไปไหนตั้งแต่นั้นฉื่อฉางเป็นคำภาษาจีนเพี้ยนมาจาก ‘ฉื่อซ่านซื่อ’ แปลว่าเมตตากรุณา…