“คลองสานมีศักยภาพทั้งมิติเชิงประวัติศาสตร์ มิติเชิงวัฒนธรรม มิติของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย บริบทตัวพื้นที่คลองสานเองที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนเก่าผสมกับวิถีชีวิตใหม่ๆ มีความเป็นย่านท่องเที่ยวด้วย ประกอบกับมีพื้นที่เอกชนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติลดหย่อนภาษีให้เอกชนให้ที่ดินกับรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เลยพัฒนาพื้นที่คลองสานเป็นต้นแบบ และเป็นย่านที่หลายๆ กลุ่มให้ความสนใจเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าสามารถกระตุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ได้ไปในทางท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเพื่อชุมชนด้วย ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ทำยังไงให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจริงๆ เราหาสามเครือข่าย กลุ่มรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาคุยกัน ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกแบบโปรแกรมที่ทำให้มีการใช้งานที่ตอบสนองกับคนในพื้นที่จริงๆ…
“จุดเริ่มต้นของร้าน Deep Root Café คือการปั่นจักรยานมาเจอ นึกว่าคุ้นๆ นะ เป็นทางเดินกลับบ้านเราเองตอนยังเด็กมาก บ้านผมอยู่สำเพ็ง ฝั่งโน้น ผมเรียนโรงเรียนแสงอรุณ จากวัดซางตาครู้สเดินผ่านทางนี้ ก็ร้างๆ อยู่แล้วล่ะ พอมาเห็นรู้สึกสงสารพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นห้าสิบปี รู้สึกว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้มั้ย อีกข้อนึง ผมทำงานในตัวเมืองโซนสยามสแควร์ เราอยากหนีความวุ่นวาย อยากให้มีพื้นที่รีแลกซ์สำหรับคนในเมืองที่วุ่นวายกับชีวิตในวันหนึ่งๆ…
“ในตัวผมมีสองบทบาทคือนักวิชาการที่เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ฯ และทำงานสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับบทบาทที่เป็นคนในชุมชนกุฎีจีน คือผมเป็นเขย แต่งงานก็เข้าไปอยู่ในย่านจนทุกวันนี้ ลูกก็โตอยู่ในย่าน ซึ่งสองบทบาทนี้เกื้อหนุนกัน เห็นมุมมองตั้งแต่ระดับนโยบาย การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามา ทำให้มองภาพรวมของชุมชนได้กว้างกว่าคนที่อยู่ในชุมชนเอง ขณะเดียวกัน ก็เห็นความต้องการของคนที่อยู่ในชุมชน รู้ว่าลิมิตของเขามีแค่ไหน…
“ผมเป็นคนอุดรฯ แต่มาจบนิติศาสตร์ ที่มข.ครับ จริง ๆ ไม่ได้เรียนมาทางสายศิลปะ ด้วยความที่ทางบ้านไม่ได้มีฐานะ ช่วงเรียนก็เลยหางานทำ ทำมันทุกอย่างรับหมด ตั้งแต่แจกใบปลิว ไปถึงขายน้ำปั่น หรือจะเล่นดนตรีอันนี้ก็รับ อย่างหลังนี่คือผมถนัด ชอบ และก็ทำวงกับเพื่อนแบบจริงจัง ก่อนจะจบได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำบทความ แล้วนิตยสารชื่อ ‘ทางอีสาน’ เป็นนิตยสาร Local…
เปิดแนวคิด กลยุทธ์ และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองพะเยา และเมืองหาดใหญ่ สู่การเป็นสมาชิกใหม่เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ UNSECO โดยนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) [ เมืองพะเยา ] - รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่พะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล…
We Citizens Thailand ชวนอ่านเรื่องราวของหาดใหญ่ผ่าน e-book ที่ Wecitizens : เสียงหาดใหญ่ - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
เรียนรู้ราชบุรีผ่านวิถี ประวัติศาสตร์ และความครีเอทีฟ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว “เวลาพูดถึงราชบุรี คนส่วนมากจะคิดถึงโอ่งมังกรและสวนผึ้ง แต่ถ้ามองลึกลงไป เมืองแห่งนี้คือพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของดินแดนสุวรรณภูมิในอดีต พ่อค้าจากจีนและอินเดียต่างเดินทางมาค้าขาย จนเกิดการแลกเปลี่ยนและสั่งสมทางศิลปวัฒนธรรม ราชบุรีจึงเป็นทั้งพื้นที่การค้าและวัฒนธรรมในระดับโลก เรื่องราวตรงนี้แหละคือบทเรียนสำคัญ ถ้าคนราชบุรีได้เรียนรู้ พวกเขาจะเกิดความภาคภูมิใจ และสิ่งนี้จะกลายมาเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาเมืองต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี…
จากเมืองสร้างสรรค์และน่าอยู่ สู่ ‘ราชบุรี เมืองแห่งการเรียนรู้’ ศาสตราจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ “ความที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น อว. ส่วนหน้าของจังหวัดราชบุรี (หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ประจำจังหวัดราชบุรี) จึงมีพันธกิจในการพัฒนาและบูรณาการงานวิจัยให้มาช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในราชบุรีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อ บพท. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยในระดับพื้นที่…
“พวกเราเรียนสายศิลป์จีนธุรกิจ โรงเรียนดรุณาราชบุรี รุ่นที่เรียนสาขานี้มีอยู่ 12 คน แต่จะเรียนร่วมห้องกับเพื่อนที่เรียนศิลป์ภาษาอังกฤษและไอทีพร้อมกัน ยกเว้นวิชาหลักที่แยกกันไปเรียนตอน ม.4 เราสองคนได้ร่วมกิจกรรมอบรมยุวมัคคุเทศก์ของโครงการเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนต่อการมองเมืองราชบุรีบ้านเกิดของเรา เพราะแม้เราจะคุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ แต่ความเป็นจริง ถ้าเราไม่ได้รู้จักและสอบถามคนในพื้นที่ ก็กลับแทบไม่รู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆ เลย พอเข้าร่วมอบรมจึงได้รู้ว่า อ่อ ชุมชนริมน้ำตรงนี้เริ่มขึ้นมาได้อย่างไร โอ่งมังกรก็มีที่มาที่น่าสนใจนะ กำแพงเมืองเก่าทำไมถึงไปอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ…
“ผมเกิดอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ย้ายมาทำธุรกิจที่ราชบุรี แต่ถูกโกงเงิน เลยต้องมาสมัครเป็นลูกจ้างประจำสำนักงานไปรษณีย์ ทำได้สักพักก็มีปัญหากับหัวหน้างาน จึงลาออกมา พอดีกับที่ทาง อบจ. กำลังหาเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในวิหารบนเขาแก่นจันทร์ ผมก็เลยได้ทำงานนี้เขาแก่นจันทร์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองราชบุรี แม้เป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าขึ้นมาข้างบน ก็จะเห็นเมืองราชบุรีได้ทั้งหมด บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแก่นจันทร์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเจ้าแม่แก่นจันทร์ วิญญาณอารักษ์ที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ตามตำนานท้องถิ่นของเมืองราชบุรี นอกจากนี้ บริเวณเชิงเขายังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์รัชกาลที่…