[THE CITIZENS : เมืองสระบุรี]<br />ฐิติมา มีมะโน<br />ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสระบุรี

2 months ago

“อธิบายความเป็นเมืองสระบุรีก่อนว่า เป็นเส้นทางที่มีถนน 2 เส้นคือถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ เมืองเป็นศูนย์กลางของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ เศรษฐกิจ สังคม ทีนี้ เกิดถนนวงแหวนเส้นเลี่ยงเมือง จากอำเภอเมืองไปเชื่อมต่ออำเภอเสาไห้เป็นเส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก เส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกไปทางตำบลตะกุด ทางอำเภอแก่งคอย จริง ๆ คนในเมืองคือคนในตลาด คนชุมชนเก่าแก่ชาวจีน ก็ไม่ต่างจากพฤติกรรมชุมชนตลาดของแต่ละจังหวัดนะ ที่ไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย แต่เมื่อมีการกระจายของเมืองเป็นวงกลมที่เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นรัศมีกว้างขึ้น…

[ THE CITIZENS : เมืองสระบุรี ]<br />อินธิเดช เสถียรพันธ์ <br />เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสระบุรี

2 months ago

“การพัฒนาเมืองต้องร่วมมือกัน ถ้าปราศจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน มันไม่เกิดขึ้น แล้วควรเป็นความร่วมมือแบบจริงใจ เอาจริง ๆ แค่ทุกคนทำตามหน้าที่ตัวเอง ผมว่าเราทำได้ ภาครัฐก็ควรเชื่อมโยงกันทุกหน่วยงาน ในยุคนายกฯ คนล่าสุด (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า เมืองพัฒนาไปหลายรูปแบบ ตรงโน้นตรงนี้มีการเปลี่ยนแปลง…

[ THE RESEARCHER เมืองสระบุรี]<br />หัวหน้าโครงการและนักวิจัยโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว”

2 months ago

ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” และ ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการ จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ศักยภาพในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจในเขตภาคกลางตอนบน เนื่องจากมีระบบโครงข่ายการคมนาคมเพียบพร้อมสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่าง ๆ ได้สะดวก ภายในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร แหล่งผลิตอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการก่อสร้าง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ…

THE MAYOR :<br />ความมุ่งมั่น “สร้างเมืองน่าอยู่ สร้างคนคุณภาพ” ของ ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี

2 months ago

ตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระบุรีสมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2564 ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นำพาคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี ร่วมกันพัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์ “ยกระดับคุณภาพคน ชุมชน เมือง เศรษฐกิจ สังคม และดิจิทัล ให้ดีขึ้น อย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืน” ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา…

[CITY OVERVIEW] เมืองสระบุรี

2 months ago

รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร…

[CITY ISSUE เมืองสระบุรี ]<br />Shrinking City & Urban Renewal

2 months ago

เทศบาลเมืองสระบุรีโจทย์อันท้าทายการรับมือสภาวะเมืองหดตัว จังหวัดสระบุรีมีจุดแข็งเชิงยุทธศาสตร์หลายด้านทั้งเป็นพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงในอนาคตกำลังมีการพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่น้ำโขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekong Exonomic Cooperation Strategy:…

[THE CITIZENS นครปากเกร็ด] ธนพร กองสัมฤทธิ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ เทศบาลนครปากเกร็ด

3 months ago

“เราเรียนจบมาด้านสิ่งแวดล้อม (ปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และปริญญาโทด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ผู้เรียบเรียง) จบมาเราก็ได้งานเป็นนักวิชาการสิ่งแวดล้อมที่เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งทำต่อเนื่องมา 7 ปีแล้วถึงจะเป็นเมืองปริมณฑลขนาดใหญ่ แต่ปากเกร็ดก็ยังมีธรรมชาติที่สมดุล เมืองเราติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ และยังมีชุมชนที่ยังทำเกษตรกรรมอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากขึ้นทุกทีในเมืองใหญ่แบบนี้แต่รากฐานที่ดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการต่อยอดด้วย เทศบาลนครปากเกร็ดจึงได้ร่วมกับภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชน ผลักดันให้เกิดโครงการอนุรักษ์ทุเรียนนนท์กว่า 60 สายพันธุ์ที่สวนสมเด็จฯ…

[CITY ISSUE นครปากเกร็ด ] From Resilient to Livable Smart City

3 months ago

เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Report) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากโจทย์หลักที่เทศบาลฯ โดย…

[CITY OVERVIEW นครปากเกร็ด] ปากเกร็ด นครแห่งสายน้ำกับการเป็นต้นแบบจัดการภัยพิบัติระดับสากล

3 months ago

น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบัน แต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา แม้ชาวบ้านหลายรุ่นจะคุ้นชินกับน้ำที่ท่วมเรือกสวนและบ้านเรือนในฤดูน้ำหลาก หากไม่ใช่กับปัจจุบัน เมื่อชุมชนปากเกร็ดกลายมาเป็นนครขนาดใหญ่ที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารจัดการระดับประเทศเช่นนี้ เทศบาลนครปากเกร็ดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่…

[THE RESEARHER นครปากเกร็ด] รศ.ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

3 months ago

WeCitizens สนทนากับ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลนครปากเกร็ด ถึง “โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดและการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด” ที่เขาขับเคลื่อน ว่าด้วยจุดเริ่มต้นและเป้าหมายในการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการภัยพิบัติในระดับนานาชาติ เทศบาลนครปากเกร็ดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน และการจัดการน้ำท่วมส่งผลต่อการทำปากเกร็ดให้เป็นเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ไปติดตามกัน ก่อนอื่น ในฐานะที่คุณเป็นอาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ทำไมจึงเลือกมาทำงานวิจัยไกลถึงเทศบาลนครปากเกร็ด   ต้องเท้าความก่อนว่าผมจบปริญญาเอกด้านรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการภัยพิบัติจากสหรัฐฯ…