“พื้นเพผมเป็นคนสมุทรสาคร ได้ภรรยาเป็นคนปากพูน เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ และความที่พ่อตาทำสวนมะพร้าว เลยรับกิจการทำสวนมะพร้าวต่อมา ก่อนหน้านี้ผมเป็นช่างก่อสร้าง จึงไม่มีปัญหากับการทำงานบนที่สูงอย่างการปีนต้นมะพร้าว ชุมชนที่ผมอยู่นี่มีการทำสวนมะพร้าวส่งต่อมาหลายรุ่น จะมีทั้งเก็บผลขาย ไม่ก็ทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งสวนของผมนี่ทำน้ำตาลมะพร้าวอย่างเดียว ทำมายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมมีสวนอยู่ 7 ไร่ เป็นมะพร้าวน้ำตาล ลำต้นไม่สูง ใช้บันไดปีนเก็บได้เลย น้ำตาลสดนี่ได้จากช่อดอก ผมจะปีนขึ้นไปปาดตาลและหาถังไปรองน้ำตาลจากช่อดอก…
“เนื่องจากแต่เดิมเรามีอาชีพเป็น product specialist ของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ จึงมีโอกาสได้ไปเห็นหลายเมืองทั่วประเทศ จากหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปสอนลูกค้าใช้เครื่องมืออยู่เสมอ ซึ่งจากที่ได้ไปเห็นมาทั้งหมด เราพบว่านครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่เราอยากใช้ชีวิตอยู่มากที่สุด ชอบหลายอย่างเลยค่ะ ทั้งภูเขา ทะเล อาหารการกิน ความเป็นเมืองที่ยังคงมีเสน่ห์แบบชนบท รวมถึงอุปนิสัยของคนท้องถิ่นที่เป็นมิตรและตรงไปตรงมา และนั่นทำให้แม้เราจะไม่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานที่นคร แต่ถ้าเรามีวันหยุด เราจึงเลือกมาใช้เวลาพักผ่อนที่เมืองแห่งนี้ เรามีความฝันมาตลอดว่าอยากเปิดร้านกาแฟ ประกอบกับที่เราอิ่มตัวกับงานประจำ ก็เลยคิดว่างั้นมาเปิดที่เมืองที่เราอยากมาใช้ชีวิตอยู่อย่างนครแล้วกัน…
“กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลปากพูนเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของบทเรียนที่ว่า หากทุกคนหันหน้าเข้าหากัน และคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ต่อให้มีวิกฤต เราก็จะเจอโอกาส ผมเข้ารับราชการประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ทางตำบลปากพูน และอีกหลายชุมชนที่ทำประมงพื้นบ้านในจังหวัด ประสบปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำขาดแคลนจากการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายเลยมีการรณรงค์ให้เลิกทั้งหมด โดยทางหมู่ 4 ตำบลปากพูน ที่เป็นชุมชนเลียบคลองที่เชื่อมไปถึงปากอ่าวปากพูน เป็นตัวตั้งตัวตีในการยกเลิกอย่างจริงจัง จำได้เลยว่าช่วงสามเดือนแรก ชาวประมงที่นี่เขาก็แทบจะยอมแพ้กัน จนเข้าเดือนที่ 4 เท่านั้นแหละ…
“ผู้ใหญ่เกิดที่ปากพูนเลยค่ะ ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิก อบต.ปากพูน เราผูกพันกับพื้นที่ เข้าใจปัญหา และคิดว่าด้วยหน้าที่การงานเรามีส่วนพัฒนาบ้านเกิดเราได้ จนตำแหน่งใน อบต. หมดวาระลง เลยสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เพราะคิดว่าในระดับหมู่บ้าน เราดูแลลูกบ้านเราได้ และก็มีอิสระในการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดเรา ตอนนี้ทำมา 13 ปีแล้ว ปีนี้เข้าปีที่ 14 หมู่…
“การอพยพแบบเทครัวคือการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะของการที่ผู้คนโยกย้ายไปทั้งครอบครัวหรือทั้งชุมชน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีการอพยพรูปแบบนี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงศึกสงคราม เช่นที่ครั้งหนึ่งกองทัพนครศรีธรรมราชไปทำสงครามกับรัฐไทรบุรี และก็ได้นำเชลยศึกจากไทรบุรีกลับมาด้วยอย่างไรก็ดี ในตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีการอพยพแบบเทครัวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน นั่นคือราวทศวรรษ 2470 ที่ชาวบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ล่องเรือลงใต้มาขึ้นฝั่งยังปากพูนกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ กระทั่งในทุกวันนี้หลายชุมชนริมคลองในปากพูน ก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรีที่ยังคงพูดภาษากลางสำเนียงเพชรบุรีอยู่ นอกจากนำวิถีชีวิตและสำเนียงภาษามาปักหลักที่นี่ อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีนำติดตัวมาด้วย นั่นคือนวัตกรรมพื้นบ้านในการจับสัตว์น้ำที่เรียกว่าบ้านปลา…
“นอกจากการที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ในระดับที่กิ่งก้านของต้นโกงกางอันสูงใหญ่โน้มเข้าหากันจนเกิดลักษณะคล้ายอุโมงค์อันงดงาม ความพิเศษของผืนป่าในหมู่ 4 ของตำบลปากพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ป่าโกงกาง1 ยังรวมถึงการเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านปากพูนจากรุ่นสู่รุ่นชาวบ้านใช้พื้นที่กว่าครึ่งของป่าชายเลนทำประมง บ่อเลี้ยงกุ้ง ปู และปลาตามธรรมชาติ และหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ซึ่งเกิดจากผึ้งหลวงที่อพยพมาจากป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมาทำรังตามกิ่งไม้ของต้นแสมดำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมหล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนนี้กว่า 100 ครัวเรือน โครงการวิจัยย่อยของพวกเรามีชื่อว่า ‘อุโมงค์โกงกาง: ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนายกระดับสู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน’ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์…
“ไอ้เฒ่า เป็นภาษาใต้ หมายถึงคนที่คงแก่เรียน หรือในบางพื้นที่ยังแปลได้ว่าเพื่อน ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร หรืออยู่ในสังคมไหน ทุกพื้นที่จะมีไอ้เฒ่าที่เป็นเหมือนหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นมันสมอง หรือเจ้าของภูมิปัญญาของกลุ่มนั้นๆ อยู่เสมอ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของตำบลปากพูน ผมรับผิดชอบโครงการที่ 2 ที่ชื่อ เกลอปากพูน: การสร้างกลไกความร่วมมือและเครือข่ายพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายในตำบลปากพูน โดยหน้าที่ก็คือการตามหาไอ้เฒ่าจากพื้นที่ต่างๆ ยึดตามโครงการย่อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอุโมงค์ป่าโกงกาง เจ้าของสวนมะพร้าว…
“ก่อนหน้านี้ เวลาชาวประมงในปากพูนจับสัตว์ทะเลมาได้ ก็มักจะเจอปลาตัวเล็กๆ อย่างปลาจวดหรือปลาดาบเงินติดมาด้วย เขาก็จะแยกพวกมันไปปล่อยลงทะเล เพราะปลาพวกนี้ขายไม่ได้ หรือถ้าขายก็จะได้ราคาไม่คุ้ม เพราะคนรับซื้อเขาจะเอาไปทำอาหารสัตว์จนมีช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจในชุมชนซบเซา ชาวบ้านก็มาคุยกันว่าเราจะทำยังไงจะหาเงินเพิ่มได้ ก็เลยคิดถึงการเอาปลาตัวเล็กๆ มาแปรรูป เพราะคนแก่ๆ อย่างป้าและแม่บ้านในชุมชนมีกันหลายคน ส่วนมากอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร ถ้ารวมตัวกันมาแปรรูปอาหารทะเล นอกจากมีรายได้เพิ่มเข้ามา ยังได้เจอเพื่อน ได้มีอะไรทำด้วย ทางกรมประมงจังหวัด และผู้ใหญ่กระจาย…
“เหนียวห่อกล้วยก็คือข้าวต้มมัดในภาคกลางนั่นแหละ บ้านยายทำมาตั้งแต่รุ่นคุณยายของยายแล้ว ตอนเด็กๆ ยายก็ช่วยคุณยายและแม่ของยายห่อ ตอนนั้นขายห่อละ 25 สตางค์ ขายที่บ้านบ้าง ไปฝากขายตามร้านค้า บางครั้งเอาไปขายแผงลอยริมถนน หรือไม่ก็เดินเร่ขายในปากพูน ตอนกลับมาเริ่มขายใหม่ คนในชุมชนเขาก็สงสัยว่าเหนียวห่อกล้วยนี่นะ คือที่ไหนเขาก็ทำกัน จะขายได้สักเท่าไหร่เชียว แต่ยายก็บอกว่าเราไม่ได้ขายให้คนในชุมชนน่ะ เพราะพอหลานมาช่วย เขาก็ทำเพจเฟซบุ๊คและมีหน้าร้านใน Shopee ช่วงปี…
“ในส่วนของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน พวกเรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 5 การประเมินและพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนปากพูน ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าโครงการให้ไปสอบถามชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนประสบปัญหาเรื่องใด และต้องการให้โครงการวิจัยมาหนุนเสริมเรื่องใดเป็นพิเศษเราทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน โดยได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 21-60 ปี เกือบ 400 คน พร้อมไปกับการจัดเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในภาพรวมเราพบว่าชาวปากพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในแง่มุมด้านสุขภาพ การทำงาน และสัมพันธภาพ ยังอยู่ในระดับปานกลาง…