เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลเมืองพะเยา ส่งชื่อพะเยาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ของยูเนสโก พร้อมกับจัดงานฉลองด้วยบรรยากาศชื่นมื่นและเปี่ยมด้วยความหวังร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ณ ลานหน้าอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ริมกว๊านพะเยานอกเหนือจากการใช้เครื่องมือสุดสมาร์ทที่ทีมวิจัยนำกลไกการบริหารจัดการแบบสตาร์ทอัพอย่าง Hackathon หรือโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มาปรับใช้กับพื้นที่การเรียนรู้ท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานนอกระบบ ความเจ๋งอีกเรื่องของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของที่นี่คือ…
“ปีแรกบีจะลงพื้นที่กับอาจารย์เอ (รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์) เป็นหลักก่อน ไปสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาว่าเรากำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเราทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ ส่วนน้องๆ คนอื่นๆ จะเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแยกกันไป จะทำพวกสืบค้นงานวิจัย งานสถิติ ประสานงาน หรือทำเอกสารเราไม่รู้จักกันมาก่อน มาเจอกันที่นี่ ทุกคนมีพื้นเพต่างกัน บีเรียนรัฐศาสตร์ ต้องตาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนแตงกวาและเนสเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม…
“กว๊านพะเยากับการทำปลาส้มคือสองสิ่งที่แม่คุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด กว๊านนี้เพิ่งมาสมัยพ่อแม่ของแม่ ส่วนปลาส้มนี่ทำขายกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตอนเด็กๆ แม่ยังเคยรับจ้างขอดเกล็ดปลาจีน ควักไส้และขี้ออกมา และทุบปลาทั้งตัวเพื่อเอาไปทำปลาส้ม ได้ค่าจ้างวันละหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ นี่เป็นทักษะที่ได้มาตั้งแต่เล็ก พอโตมาแม่ก็ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ทำปลาส้มขายอย่างเดียว นี่ก็ 40 กว่าปีแล้ว เริ่มจากชำแหละปลาก่อน แยกก้าง หัว หาง และไข่ออก เอาเฉพาะเนื้อ…
“ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผมมีโอกาสลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และพบโรงเรียนที่ถูกปิดและทิ้งร้างหลายแห่ง บางแห่งยังมีอาคารที่มีสภาพดีอยู่เลย จึงนึกเสียดายที่จังหวัดเรามีสถานที่ที่มีศักยภาพหลายแห่ง แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน และระหว่างสำรวจความต้องการของประชาชน ผมพบว่าเมืองของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง. การจัดสรรอำนาจและงบประมาณที่มักกระจุกตัวอยู่ในตัวเมือง พื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่ได้รับการพัฒนา บางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ต้องพูดถึงเด็กๆ ที่ไม่เคยได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ และสอง. ในเชิงสังคม ทั้งในแง่ที่เมืองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย…
“พี่เริ่มรวมกลุ่มก่อนโควิดมาหลายปีแล้ว ตอนนั้นทางเทศบาลเมืองพะเยาเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านและคนวัยเกษียณที่อยู่บ้านเฉยๆ ในชุมชน ก็รวมกลุ่มกันได้สามสิบกว่าคนมาคุยกันว่าอยากทำอะไร แล้วสรุปได้ว่าเป็นงานกระเป๋าที่ทำจากผ้า พวกกระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าสตางค์ รวมถึงงานผ้าอื่นๆ เพราะทุกคนสามารถทำเองได้จากที่บ้านช่วงแรกๆ ก็ได้เทศบาลนี่แหละที่หาตลาดให้ เพราะเขาจะมีเทศกาลหรือพวกงานออกร้านสินค้าจากชุมชนอยู่บ่อยๆ หรือเวลาข้าราชการจากองค์กรไหนท่านเกษียณ เขาก็ออร์เดอร์ให้ทางกลุ่มทำกระเป๋าเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็สร้างรายได้ให้ทางกลุ่มให้ทุกคนพออยู่ได้ แต่พอโควิดเข้ามา งานจัดไม่ได้ เราก็ขายกระเป๋ากันไม่ได้ ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยหยุดไปพักหนึ่งมาจน อาจารย์เอ…
“นักท่องเที่ยวมักถามผมว่าทำไมจึงมีบ่อน้ำผุดขึ้นมาในกว๊าน ก็ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งน้ำทำไมยังมีบ่อน้ำอยู่ (หัวเราะ) คือกระทั่งคนพะเยาเองบางคนก็อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อ 80 กว่าปีก่อน พื้นที่กว๊านตรงนี้ทั้งหมดเคยเป็นหมู่บ้าน คนที่อยู่ทันเห็นสภาพเดิมส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว บ่อน้ำตรงนั้นจึงเป็นอนุสรณ์ให้เรายังจำได้อยู่ว่าเมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นอะไรผมเป็นคนตำบลบ้านตุ่น ตรงท่าเรือโบราณบ้านทุ่งกิ่ว เมื่อก่อนพ่อผมเป็นทหารรับใช้จอมพล ผิน ชุณหะวัน ที่กรุงเทพฯ แกย้ายมาอยู่พะเยาช่วงสงครามโลก สมัยนั้นพะเยายังมีถนนไม่ทั่วถึง การจะเดินทางไปโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตตัวเมือง คือต้องนั่งเรือข้ามกว๊านไป ผมจำได้ว่าค่าเรือรอบหนึ่งแค่ 50…
“พี่กับสามีเริ่มทำสวนนนดาปี 2548 เนื่องจากเราเป็นข้าราชการทั้งคู่ ก็เลยจะมีเวลาทำสวนแห่งนี้เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ จึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนวันหยุด ทำไปได้สักพัก สามีพี่ตัดสินใจลาออกจากราชการมาทำสวนเต็มตัว ส่วนพี่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2565 นี้เอง เราทำเกษตรปลอดสารและสวนสมุนไพร เพราะเห็นว่าสองสิ่งนี้คือขุมสมบัติดีๆ นี่เอง ไม่ได้หมายถึงว่าสวนนี้เป็นแหล่งธุรกิจจริงจังอะไร แต่ทั้งราก ทั้งใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก เราสามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้หมด จึงมองว่านี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด…
“ในฐานะที่พี่เคยเป็นพยาบาล ก็คิดว่าหนึ่งในผลสำเร็จของอาชีพเราก็คือการได้เห็นผู้คนมีสุขภาพที่ดี แล้วสุขภาพที่ดีเริ่มจากอะไร ก็เริ่มจากอาหารการกินที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เราป่วย ความคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่พี่จะเออร์ลี่รีไทร์แฟนพี่เป็นคนพะเยา เขาเป็นวิศวกรในบริษัทรถยนต์ ก่อนที่จะเกษียณออกมา เราใช้เงินเก็บส่วนหนึ่งซื้อที่ดินที่อำเภอดอกคำใต้ไว้ เราทั้งคู่ก็กลับมาดอกคำใต้ เริ่มสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปี 2559 เราตั้งชื่อสวนว่า ‘ผ่อโต้ง’ ซึ่งเป็นคำเมือง แปลว่าดูสวน คิดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราอยากทำการเกษตรที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ การหมั่นไปดูสวนของเราเองนี่แหละคือหัวใจหลัก เราเริ่มจากปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าถ้ามาจากดินในอำเภอดอกคำใต้นี่จะหอมและอร่อยที่สุด…
“แม้กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จะมีหน้าที่ในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงกับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาลำพังหน่วยงานเทศบาล เราหาได้มีกลยุทธ์เชิงวิชาการมากนัก การร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่ขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยพะเยา จึงสร้างแต้มต่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาในเมืองของเราให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น โดยที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยามาเสริมให้เรา คือการสานเครือข่ายจนทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงการศึกษาที่ตอบโจทย์กับการทำงาน การใช้ชีวิต และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เห็นได้ชัด คือเมื่อมองหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เรามีวิชาวิทยาการคำนวณเปิดสอนเป็นปกติอยู่แล้ว แต่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ได้เชื่อมวิชานี้เข้ากับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ…
“ถ้าไม่ติดงานอะไร ผมมักจะปั่นจักรยานมานั่งดื่มกาแฟริมกว๊านอย่างนี้ทุกเช้า ตอนแรกก็ทำกาแฟดริปขายคนที่มาเดินเล่นเหมือนกันครับ แต่พอมีข้อห้ามไม่ให้มีรถเข็นมาขายเกิน 11 โมง ผมก็เลยไม่ขาย ใครอยากดื่มกาแฟ ผมทำเสิร์ฟเลย ก็กลายเป็นว่าพอมีคนมาดื่มของผมไป คราวต่อมาเขาก็เอาเมล็ดกาแฟมาแบ่งให้ลอง เป็นการตอบแทนอาชีพของผมคือช่างกระจกและอลูมิเนียมครับ ก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่อยู่จนถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ ต่อไม่ไหว เลยกลับมาทำงานที่บ้าน กรุงเทพฯ อะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แค่อยากจะมานั่งสวนสาธารณะหรือริมแม่น้ำแบบนี้ ก็ต้องเสียค่าเดินทาง…