“หลังเรียนจบผมไปเป็นทหารมา 25 ปี แต่ความที่เราโตมากับธุรกิจปลาส้มของแม่ และที่บ้านก็มีผมกับน้องสาวกันสองคน ก็เลยตัดสินใจลาออกมาสานต่อกิจการ โดยผมกับน้องจะอยู่โรงงานช่วยแม่ทำปลาส้ม ดูแลเรื่องวัตถุดิบ และการจัดส่ง ส่วนแฟนผมไปเปิดร้านขายที่ตลาดสดแม่ทองคำที่ตำบลแม่ต๋ำแม่ทองปอนมาจากชื่อแม่ผม แต่ไหนแต่ไรคนพะเยาก็ทำปลาส้มกินหรือขายกันเล็กๆ อยู่แล้ว จนช่วงหนึ่งที่รัฐบาลส่งเสริมสินค้า OTOP เราจึงต่อยอดเป็นธุรกิจจริงจัง เราเป็นเจ้าแรกในพะเยาที่นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงการทำฉลากและแบรนดิ้ง อย่างคำว่าปลาส้มไร้ก้าง เราก็เป็นเจ้าแรกที่หยิบมาใส่ในชื่อ เป็น…
“ที่นี่เป็นบ้านเดิมคุณตา ภายหลังแม่ต่อเติมข้างหน้าเป็นคลินิกทำฟัน แต่ตอนนี้แม่ไม่ทำแล้ว พอเราเรียนจบกลับมาก็เห็นบ้านหลังนี้มีศักยภาพ พร้อมกับที่เห็นว่าพะเยายังไม่พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่ได้เชื่อมโยงกับชุมชน เลยไม่ไปทำงานที่ไหน กลับมาเปิดร้านที่บ้านเลยที่นี่เป็นร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ มีไอศกรีม และขนม ที่ตั้งชื่อว่า ‘นิทานบ้านต้นไม้’ ก็ตามตัวเลยค่ะ เราสนใจเรื่องความสัมพันธ์กับคนกับธรรมชาติและคนกับสังคม โดยสังคมที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือครอบครัว เลยใช้คำว่าบ้านมาแทนคุณค่าของครอบครัว แล้วให้ต้นไม้เป็นตัวแทนของธรรมชาติ เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาจทำให้เรามองข้ามสิ่งนี้ไป…
“ในฐานะอาจารย์สอนศิลปะและการออกแบบที่มหาวิทยาลัยพะเยา ผมพยายามสื่อสารกับทางมหาวิทยาลัยมาตลอดว่าเราควรมีหอศิลป์ไว้แสดงงานนักศึกษานะ เพราะเรามีคณะทางศิลปะ แต่ไม่มีที่แสดงงานให้พวกเขา มันก็ไม่ใช่ หลังจากขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง แต่ด้วยปัจจัยอะไรสักอย่างหอศิลป์จึงเกิดไม่ได้เสียที ผมจึงตัดสินใจลงมือทำด้วยเงินทุนตัวเองจะบอกว่าเป็นหอศิลป์ก็ไม่ถูกหรอก เป็นพื้นที่ศิลปะเสียมากกว่า ผมก่อตั้ง ‘อย่าเห็นแก่ตัวสถาน’ ขึ้นจากการรีโนเวทบ้านไม้ให้เช่าในตัวเมืองพะเยา ชั้นบนเป็นแกลเลอรี่แสดงงาน ส่วนชั้นล่างเป็นบาร์ขายเหล้า สาเหตุที่เลือกในตัวเมือง เพราะตอนนั้นพะเยายังไม่มีอาร์ทสเปซ และก็อยากให้นักศึกษาเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในเมืองด้วย ไม่ใช่แค่แสดงงานนักศึกษาอย่างเดียว อาจารย์ก็แสดงด้วย ศิลปินที่อื่นอยากมาแสดงก็มาได้…
“พะเยาเป็นหนึ่งในสี่เมืองของไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก ซึ่งก่อนหน้านี้เราในฐานะทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ต่อเนื่องมาสองปี ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วครับ (ทั้งสี่เมืองประกอบด้วยเชียงใหม่ สุโขทัยและหาดใหญ่ โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 จังหวัดพะเยา ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกอย่างเป็นทางการ)ในปีแรกของโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เราเน้นที่การประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในเขตเทศบาลเมืองเข้าใจก่อนว่าเราจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ไปทำไม เป็นแล้วมันจะดีต่อเมือง หรือช่วยปากท้องชาวบ้านได้อย่างไร พอเข้าปีที่สอง นอกจากเราจะได้ขยายพื้นที่โครงการจากความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เรายังมุ่งสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองเป็นหลัก โดยใช้กลไกจากโมเดลเศรษฐกิจใหม่…
“ในสมัยล้านนา นอกจากพะเยาจะมีภูมิศาสตร์เป็นเสมือนห้องครัวที่คอยปลูกข้าวหล่อเลี้ยงผู้คนในอาณาจักร เรายังเป็นเหมือนห้องสมุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ แหล่งความรู้ทั้งหมดจะถูกบันทึกลงศิลาจารึก และพื้นที่ในจังหวัดพะเยานี่แหละที่เป็นแหล่งตัดหินสำหรับทำศิลาจารึก ดังนั้นมันจึงมีการพัฒนาตัวอักษรฝักขามสำหรับจารลงศิลาที่นี่ด้วย และอักษรรูปแบบนี้ยังถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดความรู้ หรือการสื่อสารที่เป็นทางการในเมืองต่างๆ ทั่วอาณาจักรเมื่อครั้งอดีตหรือยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่ในเขตผายาว ก็มีร่องรอยของการตัดหิน และขวานหินโบราณ และต่อเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่มีการแกะสลักพระพุทธรูปในพื้นที่ รวมถึงแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเตาเวียงบัว แหล่งอารยธรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าพะเยามีต้นทุนทางการเรียนรู้มาตั้งแต่อดีต และกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด ในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 3…
“ที่คนแก่ชอบส่งสติ๊กเกอร์ไลน์หากัน ก็เพราะคิดถึงเพื่อน คิดถึงลูกหลาน บางครั้งหลายคนอาจลืมไปว่าคนชราก็ต้องการเพื่อน ต้องการเข้าสังคมเหมือนคนวัยอื่นๆ ถ้าไปดูสัดส่วนของสถิติประชากรในเขตเทศบาลเมืองพะเยา เรามีคนสูงวัยเกินกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด แต่ในขณะที่คนวัยอื่นๆ มีพื้นที่ให้ได้พบปะ หรือมีกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกัน ในขณะที่พื้นที่ของผู้สูงอายุ พะเยากลับมีน้อย และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็ได้แต่อยู่บ้าน ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเขาเกิดอาการซึมเศร้า หรือพอไม่มีพื้นที่ได้ผ่อนคลาย ก็อาจทำให้ง่ายต่อการเจ็บป่วย ไม่นับรวมบางคนที่ต้องป่วยติดเตียงอยู่บ้านอีกไม่น้อยศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เป็นพื้นที่ที่เทศบาลเมืองพะเยาตั้งขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมของผู้สูงอายุในเมือง โดยก่อนโควิด-19…
“เราเรียนมาทางดุริยางคศิลป์ หลังจากเรียนจบก็เป็นครูสอนดนตรี และเล่นดนตรีกลางคืนอยู่เชียงใหม่อยู่พักใหญ่ๆ จนประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราอกหัก ตอนนั้นเป็นอารมณ์ชั่ววูบเหมือนกัน ตัดสินใจขับรถกลับบ้านที่พะเยา แม่ก็เปิดประตูบ้านรับ หลังจากนั้นก็ไม่ให้ไปไหนเลย (หัวเราะ)ตอนแรกก็ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรหรอก พ่อแม่เราเป็นข้าราชการเกษียณ พี่ชายขายก๋วยเตี๋ยวเป็ด ส่วน ค่าจ้างนักดนตรีของที่นี่ก็ถูกกว่าเชียงใหม่เกือบครึ่ง ทำเป็นอาชีพแทบไม่ได้ ที่สำคัญเราพบว่าพะเยาเงียบมากๆ คือในแง่การใช้ชีวิตอยู่ มันก็สงบและสะดวกสบายดีหรอก…
“แม้เทศบาลเมืองพะเยาจะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนพะเยาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เศรษฐกิจดี และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว แต่การได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ก็ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับชาวบ้านได้อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของความคิดสร้างสรรค์และการส่งเสริมทักษะความรู้ใหม่ๆที่เห็นได้ชัดคือการที่มีทีมอาจารย์ร่วมกับผู้ประกอบการที่ทำสินค้า OTOP ออกแบบฉลากสินค้า บรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร ไปจนถึงแบรนด์ดิ้ง เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสินค้าท้องถิ่นที่เป็นมาให้ดูมีความเป็นสากลมากขึ้น ช่วยขยายตลาดให้สินค้าได้มากกว่าเดิม หรืออย่างเรื่องการศึกษา ในฐานะตัวแทนสำนักงานเทศบาล ผมรู้สึกปลื้มใจที่ทีมงานจากมหาวิทยาลัย ได้ประสานให้เกิดวิชาใหม่ๆ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล…
“จริงๆ ก็เป็นการจับผลัดจับผลูพอสมควรครับ ก่อนหน้านี้ผมเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก สอนอยู่สักพัก เพื่อนรุ่นพี่เขาทำหลักสูตรศิลปะขึ้นมาใหม่ให้วิทยาเขตพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา) ผมอ่านหลักสูตรแล้วสนใจ เลยย้ายมาสอนประจำที่นี่ ทุกวันนี้สอนมา 8 ปีแล้วผมสนใจหลักสูตรนี้ตรงที่เขามุ่งเน้นให้ศิลปะ งานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์รับใช้ชุมชน หาใช่การผลิตบัณฑิตศิลปะเพื่อเข้าหาแวดวงศิลปะเป็นศูนย์กลาง ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาคุณเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อยากเรียนปริญญาด้านศิลปะ คุณก็จะมุ่งไปหามหาวิทยาลัยศิลปากร ลาดกระบัง หรือวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่…
https://youtu.be/wTy-1y05ip8 ชมเรื่องราวการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ตามกรอบการพัฒนาขององค์การ UNESCO บนฐานทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง และเมืองพะเยา