Categories: Livable & Smart City

[ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ]ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม

หัวหน้าโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) และหัวหน้าคณะประสานโปรแกรมฯ ภาคอีสาน

“4 เมืองในอีสาน ต่างมุ่งไปที่เรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ 
เพราะผู้นำเมือง มองเห็นแล้วว่า
เมืองรองของอีสานวันนี้มีโอกาส และเติบโตได้จริง”

เมืองในภาคอีสาน 

“โปรแกรมนี้ เรื่องสำคัญ คือ โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองต้องมาจากตัวเทศบาลเป็นหลัก เราจะไม่เอานักวิจัยเป็นตัวตั้ง ตัวหลักต้องเป็นเทศบาล คำถามง่าย ๆ แต่สำคัญมาก ๆ คือ “เขาต้องการอะไร” “อะไรคือสิ่งที่เขาสนใจ” และ “เรากับวิธีวิจัยจะมีส่วนช่วยพัฒนาเมืองของเขาได้อย่างไร” พอตอบเรื่องพวกนี้ได้ เราค่อยหานักวิจัยที่เชี่ยวชาญ หรือมีศักยภาพเข้าไปประกบทำงานด้วย 

เรื่องต่อมา คือ ก่อนจะเริ่มงาน หรือตัดสินใจว่าจะขึ้นโครงการแบบไหน ตั้งแต่ Day One ทีมโปรแกรม CIAP และบพท.​ เราช่วยกันคุยกับนายกฯ เครียร์ให้ชัดว่าโจทย์ที่อยากได้คืออะไรกันแน่ นายกฯ และเจ้าหน้าที่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องเข้าใจโจทย์นั้นจริง ๆ และลุยไปด้วยกัน ไม่เช่นนั้นความคาดหวังและเป้าหมายก็จะไม่สำเร็จ 

ในพื้นที่ภาคอีสาน โปรแกรม ฯ เข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนอยู่ทั้งหมด 4 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองศรีสะเกษ และเทศบาลเมืองสกลนคร โดยภาพรวมแล้ว ทุกเมืองมุ่งไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างเมืองของตนเองให้น่าอยู่ แต่ละที่อาจจะมีความหลากหลายในเรื่องกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ ระดับปัจเจก ครัวเรือน ไปจนถึงโครงข่ายระดับเมือง โดยใช้เครื่องมือ หรือประเด็นที่ตนเองสนใจ เช่น กาฬสินธุ์ใช้เรื่องการจัดการขยะ เผิน ๆ ดูจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม  แต่จริง ๆ ก็พุ่งเป้าไปที่การสร้างรายได้ให้คนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง และจัดการข้อมูลขยะจากต้นทางโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยวางแผนอนาคต หรืออย่างเทศบาลเมืองสกลนครก็จะเป็นเรื่องการยกระดับ Smart Government เขาอยากเอาระบบ  ERP (Enterprise Resource Planning) เข้ามาใช้ซึ่งมันเป็นเรื่องใหญ่ แต่ภายในระหว่างสำนักและกองต่างๆ การเชื่อมโยงข้อมูลก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็น เราก็ไปเป็นตัวกลางชวนขยับเรื่องการใช้และเชื่อมข้อมูลเน้นจุดเล็กๆ และเชื่อมต่อประโยชน์กับการบริการประชาชนให้สำเร็จเห็นภาพก่อน ส่วนศรีสะเกษก็เป็นเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของคนเป็นแนว Life Long Learning เพื่อผลักดันสินค้าชุมชนสู่ตลาดออนไลน์ โดยใช้ทรัพยากร และ Function ของเทศบาลเป็นเจ้าภาพหลัก และเมืองที่กำลังบูม อย่างร้อยเอ็ด ก็เลือกมุ่งเป้าไปที่การเชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจในพื้นที่ใจกลางเมือง ว่าจะมีส่วนเข้ามาช่วยเคลื่อนเมืองอย่างไร ให้เสริมแรงกันไปกับแผนพัฒนาที่เขาวางไว้กันเป็นสิบ ๆ ปี

จะเห็นได้ว่า 4 เมืองในอีสานที่ร่วมโปรแกรมฯ ต่างมุ่งไปที่เรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยเครื่องมือ และประเด็นที่หลากหลาย แต่ทั้งหมดมีที่มาร่วมกัน เพราะผู้นำเมือง และทุกฝ่ายมองเห็นแล้วว่า เมืองรองของอีสานวันนี้มีโอกาส และเติบโตได้ ถ้าทำได้และให้ทุกคนได้ประโยชน์   เราจึงบอกกับทุกคนตั้งแต่แรกว่า งานวิจัยต้องตอบคนในเมืองให้ได้ว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไร และเมืองได้ประโยชน์อะไร สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago