[CITY ISSUE เมืองสระบุรี ]Shrinking City & Urban Renewal

เทศบาลเมืองสระบุรีโจทย์อันท้าทายการรับมือสภาวะเมืองหดตัว

จังหวัดสระบุรีมีจุดแข็งเชิงยุทธศาสตร์หลายด้านทั้งเป็นพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงในอนาคตกำลังมีการพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่น้ำโขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekong Exonomic Cooperation Strategy: ACMECS) กำหนดให้จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ผ่านเส้นทางถนนสายเอเชียและโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ที่เชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงในสปป.ลาว โดยเส้นทาง East-West Economic Corridor (EWEC) เริ่มจากเมืองเมาะลำไย-ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-วังตี-ดานัง ผนวกกับเส้นทางจากเวียงจันทน์-หนองคาย-อุดรธานี-ขอนแก่น-นครราชสีมา-สระบุรี ซึ่งเส้นทางนี้จังหวัดสระบุรีจะได้รับประโยชน์โดยตรง ส่วนประเทศเวียดนามเริ่มจากเมืองดานัง-เมืองวิน-ฮานอย-ไฮฟอง เป็นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เต็มรูปแบบ อันทำให้เดินทางโดยรถยนต์ระหว่างกันได้ผ่านถนนสายเอเชีย ส่งผลให้จังหวัดสระบุรีได้ประโยชน์มากที่สุด และมีความพร้อมในการพัฒนาจังหวัดในเชิงรุกสู่เมืองศูนย์กลางการขนส่งของประเทศที่เชื่อมโยงกับเมืองหลักและแหล่งการผลิตในประเทศและสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ขณะเดียวกัน เทศบาลเมืองสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมของจังหวัดและเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ได้แก่

– ประชากรในท้องถิ่นเทศบาลเมืองสระบุรีมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. 2557-2566 ส่งผลให้พื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรีกำลังประสบกับปรากฏการณ์เมืองหดตัว

– สัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรในเทศบาลเมืองสระบุรีสูงกว่าภาพรวมประเทศไทย และอยู่ในระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (ประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ 20) ตั้งแต่ปี 2561 และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

– อาคารพาณิชยกรรมในพื้นที่ไม่ได้รับการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ค่อนข้างทรุดโทรม และถูกทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก

– การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเดินทาง ได้แก่ การพัฒนารถไฟทางคู่แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย และโครงการทางพิเศษสายใหม่ฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี (ทางด่วน) เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านระบบคมนาคมต่อเมืองสระบุรี และส่งผลให้การสัญจรผ่านพื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมเทศบาลเมืองสระบุรีมีแนวโน้มลดลง

ด้วยศักยภาพและประเด็นความท้าทายดังกล่าว เทศบาลเมืองสระบุรีจึงวางแผนพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมเทศบาลเมืองสระบุรีเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ร่วมกับคณาจารย์ผู้วิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบพท. ในโครงการ “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” ผ่านกระบวนการหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีสู่เมืองน่าอยู่ (Livable City) ที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน บนฐานความเข้าใจในบริบทของการศึกษาท้องถิ่นและภูมิสังคมในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชนในพื้นที่และผู้มาเยือน โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากอาคารและพื้นที่ร้าง และการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะไปสู่พื้นที่เพื่อให้บริการที่เหมาะสมกับบริการพัฒนาใหม่ ในฐานะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว

ภาคีเครือข่ายได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ศึกษาและออกแบบ โดยประสานความร่วมมือในการศึกษาและออกแบบการพัฒนาข้อมูลเมืองจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม (City Data Platform) กล่าวคือ การบ่มเพาะเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยในกรอบการวิจัยและการดำเนินงานหลายมิติ อาทิ กระบวนการหรือกิจกรรมการสำรวจเมือง การพัฒนาระบบข้อมูลเมืองด้วยการจัดทำระบบนำเสนอชั้นข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดสภาวะเมืองหดตัว การแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนา (City Open Data) การพยากรณ์และวิเคราะห์ทิศทางเมือง ผ่านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา และการวางแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเมือง เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อออกแบบเทคโนโลยีในการพัฒนาเมือง (City Sensors and City Media) การสร้างภาพลักษณ์ของเมือง (City Branding) พร้อมการกำหนดแนวทางการติดตั้งและติดตามผลลัพธ์จากการติดตั้งเทคโนโลยีระบบข้อมูลเมืองที่เหมาะสมในพื้นที่ศึกษา (City MRV – Monitoring, Reporting and Verification) เป็นต้น นำมาสู่การสร้างข้อสรุปแนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะในศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีให้มีความสอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของเทศบาลเมืองสระบุรี

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. จัดตั้งโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ โดยการพัฒนาฐานข้อมูลเมืองส่งเสริมการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองสระบุรีร่วมกันกับภาคีเครือข่าย

2. ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระดับพื้นที่โดยทำงานร่วมกับโครงการกลางของโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

3. เพื่อกำหนดแนวทาง แผนพัฒนา พร้อมทิศทางและเป้าหมายของพื้นที่ยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดลำดับความสำคัญของการพัฒนาโครงการและกำหนดมาตรการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรี

4. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเมืองในการประเมินผลลัพธ์และตรวจวัดผลจากการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย

5. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ยุทธศาสตร์ในศูนย์กลางพาณิชยกรรมเทศบาลเมืองสระบุรี

#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

4 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

4 weeks ago