[CITY ISSUE นครปากเกร็ด ] From Resilient to Livable Smart City

เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด

โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data Report) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมือง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากโจทย์หลักที่เทศบาลฯ โดย วิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี ต้องการยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือปัญหาน้ำท่วม อันเป็นความท้าทายสำคัญที่ผู้คนในเขตเทศบาลฯ มองเห็นตรงกัน ซึ่งสอดรับกับที่ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านการจัดการภัยพิบัติในระดับเมือง ตระหนักในศักยภาพของเมืองปากเกร็ดในการเป็น Resilient City (เมืองที่มีความพร้อมต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง) รวมถึงการเป็นเมืองต้นแบบในการรับมือกับภัยพิบัติ จึงร่วมมือกันทำวิจัยในกรอบของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ผ่านการสนับสนุนของ บพท.


“ปากเกร็ดเป็นเมืองที่มีความพร้อมในสาธารณูปโภค พื้นที่เพื่อการผ่อนคลาย และเศรษฐกิจที่ดีอยู่แล้ว หากเราสามารถทำให้ประชาชนวางใจว่าเมืองจะปลอดพ้นจากปัญหาน้ำท่วม หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ สิ่งนี้จะช่วยเสริมภาพของเมืองน่าอยู่โดยสมบูรณ์ และแน่นอน การหนุนเสริมในด้านนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกวิถีชีวิตของผู้คน ก็จะทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดไปพร้อมกัน” วิชัย บรรดาศักด์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด กล่าว

โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการฯ ประกอบไปด้วยการจัดตั้งโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (CIAP) การสำรวจข้อมูลเมือง (City Scan) การจัดทำโครงสร้างข้อมูลเมือง (City Data Infrastructure) และการส่งเสริมการลงทุนระดับพื้นที่ นอกจากนี้ โครงการยังเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการจัดเวทีสาธารณะเพื่อรวบรวมความคิดเห็น (แนวทางวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

ในส่วนของผลลัพธ์ของงานวิจัยจะปรากฏในรูปแบบของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น

·  City Digital Data Platform (CDDP) หรือระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาเมือง

·  LINE OA Pakkret Connect ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติสำหรับประชาชนที่ได้รับการยกระดับฟังก์ชันแบบเรียลไทม์ และเปิดให้ประชาชนแจ้งข่าวสารอย่างทันท่วงที

·  Climate Change & Disaster Learning Platform แพลตฟอร์มการเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ โดยนำร่องที่กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนสังกัดของเทศบาลฯ·  โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและประชาชน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการภัยพิบัติด้วยเทคโนโลยี

และที่สำคัญคือการจัดเวทีภาคประชาชนเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง “ต้นแบบเมืองที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย” ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความเป็นเมืองน่าอยู่และน่าลงทุน  

“แม้โจทย์ของเราคือการพัฒนาแผนและเครื่องมือเสริมศักยภาพการรับมือกับภัยพิบัติที่ทางเทศบาลฯ ได้ริเริ่มไว้ดีอยู่แล้ว แต่หัวใจสำคัญอีกเรื่องที่เราคาดหวังจากงานวิจัยนี้ คือการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการกำหนดทิศทางและแผนการพัฒนาเมืองร่วมกับเทศบาลฯ ซึ่งหากกระบวนการนี้สำเร็จ นี่ต่างหากที่จะเป็นผลลัพธ์ของการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองน่าอยู่อย่างแท้จริง” รศ. ดร.สมพร กล่าว

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อจัดตั้งโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIA) ระดับพื้นที่
2. หนุนเสริมกิจกรรมการสำรวจเมือง (City Scan) การจัดตั้งกลไกในพื้นที่ (City Charter) และการจัดทำ City Data Infrastructure
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระดับพื้นที่
4. เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเมืองของเทศบาลนครปากเกร็ด เพื่อมุ่งสู่ “ต้นแบบเมืองที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหาร จัดการความเสี่ยงอุทกภัย”
5. เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาสำคัญของเมือง (City Solution) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการยกระดับ การบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมร่วมกับโครงการกลาง โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago