[ CITY MOMENT เมื่อพนัสนิคมเป็นมากกว่าเมืองน่าอยู่ ]

จักสาน อาหารถิ่น ดินแดนเอ็งกอ ทุนวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

“เครื่องจักสาน” “อาหารท้องถิ่น” “เอ็งกอ” และ “ผู้คน” ร่วมสำรวจต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่ช่วยเติมเต็มความสมาร์ทให้กับเมืองน่าอยู่ 

เมืองจักสาน กับการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานชาวพนัสฯ

จากเมืองที่สันนิษฐานกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพระรถเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน พนัสนิคมได้รับการสถาปนาเป็นเมืองชั้นจัตวาเมื่อปี 2371 ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยท้าวทุม (พระอินทอาษา) เป็นผู้นำชาวลาวเข้ามาสวามิภักดิ์ และตั้งเมืองขึ้น โดยชาวลาวที่เข้ามายังได้นำภูมิปัญญาด้านการจักสานไม้ไผ่เข้ามาด้วย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ “เมืองจักสานพนัสนิคม”

ทั้งนี้ จากเดิมที่ชาวพนัสนิคมได้สานไม้ไผ่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องมือจับสัตว์น้ำส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ปี 2521 มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ ได้เข้ามาสนับสนุนให้เกิดการยกระดับงานหัตถกรรมพื้นบ้านและเปิดสอนทักษะออกแบบลวดลายเฉพาะตัว โดยเฉพาะ “ลายดอกพิกุล” ที่ต่อมาได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของเมืองพนัสนิคม ในปี 2548 นับจากนั้น เครื่องจักสานของพนัสนิคมก็ถูกวางจำหน่ายไม่เพียงภายในประเทศ หากยังถูกส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลกและมีกลุ่มตลาดที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานด้วยไม้ไผ่ ที่ทำสินค้าระดับพรีเมียม ศูนย์จักสานใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีจุดเด่นในการหลอมรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้ากับเทศกาลประจำปีของเมือง ต่อยอดไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยอีกนับไม่ถ้วน

หมี่แดงแกงลาว รสชาติของพหุวัฒนธรรม

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวลาวในพนัสนิคม ไม่เพียงนำมาซึ่งภูมิปัญญาการทำเครื่องจักสาน แต่พวกเขายังนำอาหารการกินแบบคนลาว เข้ามาในเมืองแห่งนี้ด้วย เช่นเดียวกับที่ชาวจีนเข้ามาตั้งรกราก ก็นำเมนูอาหารและขนมจากเมืองจีน เข้ามาเติมรสกลมกล่อมให้กับวิถีคนเมืองเช่นกัน ทั้งก๋วยเตี๋ยวเป็ด ขนมก้นถั่ว หอยทอด ฯลฯ ในขณะที่เมนู “หมี่แดงแกงลาว” หนึ่งในอาหารขึ้นชื่อของเมือง ก็เป็นผลลัพธ์ของการผสมผสานที่คนพนัสนิคมภาคภูมิใจ

หมี่แดงแกงลาว คือเมนูที่ปรุงขึ้นจากเส้นหมี่สีแดงอันเหนียวนุ่ม กับเครื่องแกงลาวที่หอมอร่อยจากเครื่องเทศ สมุนไพร และปลาร้า เป็นเมนูที่ไม่ปรากฏที่มา หากทราบอีกที คนพนัสนิคมก็อิ่มอร่อยกับเมนูที่มีมาหลายชั่วอายุไปแล้ว

เอ็งกอ ศิลปะการแสดงเพาะต้นกล้าเยาวชน
“เอ็งกอ” คือการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอพนัสนิคม ซึ่งแสดงเฉพาะในงานสำคัญ เช่น งานบุญกลางบ้าน ที่จัดประจำทุกปี โดยเทศบาลยังจัด “มหกรรมเอ็งกอ” ซ้อนเข้าไปในงานใหญ่ดังกล่าวด้วย การแสดงนี้มีเอกลักษณ์ที่ผู้แสดงทาหน้าด้วยสีสันสดใส แต่งกายแบบจอมยุทธ์ และจำลองเหตุการณ์ตามตำนานของเหล่า 108 วีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซานที่รวมพลังกันต่อสู้ขับไล่ทรราช

การแสดงเอ็งกอใช้ทั้งการเต้นตีไม้ ตีกลอง และโบกธงบนยอดไผ่ โดยผู้แสดงส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชาย ตามต้นฉบับจากเมืองจีน กระนั้นเมื่อเอ็งกอมาเบ่งบานในวัฒนธรรมของคนพนัสฯ จึงมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบบางอย่างเพื่อสะท้อนตัวตนของคนที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สีเขียวและเหลืองที่เป็นสีประจำเมืองในเครื่องแต่งกาย หรือการใช้หมวกสานที่สะท้อนเอกลักษณ์ของเมืองจักสาน เป็นต้น

ปัจจุบันพนัสนิคมมีคณะนักแสดงเอ็งกอที่มีการสืบทอดอย่างจริงจัง รวมถึงยังมีการบรรจุเอ็งกอเข้าไปในหลักสูตรวิชากิจกรรมชุมนุมในโรงเรียนเทศบาลบางแห่ง ซึ่งถือเป็นการเพาะต้นกล้าให้กับคนรุ่นใหม่ในเมืองนี้ เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป


“แต้มต่อทางวัฒนธรรมของพนัสนิคมที่ชัดเจน ได้สะท้อนภาพของความร่วมแรงร่วมใจของคนพนัสฯ ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ประเพณี “งานบุญกลางบ้านและเผยแพร่เครื่องจักสานพนัสนิคม” งานประจำปีที่จัดขึ้นทุกวันศุกร์-อาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ณ สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพนัสนิคม ของดีของเมือง ความน่าสนใจของกิจกรรมนี้ไม่เพียงแค่ฉากหน้าที่นำเสนอความชาญฉลาดในการประยุกต์ประเพณีบุญกลางบ้านของคนไทยภาคกลางในแบบฉบับเฉพาะตัว หากเป็นความร่วมแรงร่วมใจของผู้คนทั้ง 12 ชุมชนย่อยในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม และชาวอำเภอพนัสนิคมที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสร้างสรรค์งานประจำปีนี้ให้เป็นรูปธรรมในทุก ๆ ปี จนเกิดเป็นภาพสะท้อนของเมืองที่ขึ้นชื่อว่าน่าอยู่ที่สุดในประเทศ – เมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องสิ่งแวดล้อมดี และความสามัคคีของผู้คนที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคง”

Wecitizens Editor

Recent Posts

[ THE CITIZENS ] เมืองพนัสนิคม<br />ปราณี มูลผลา<br />ผู้ก่อตั้งศูนย์เครื่องจักสานใหญ่ที่สุดในโลก

“ก่อนการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรม พนัสนิคมก็เป็นเมืองเกษตรกรรมเหมือนเมืองอื่น ๆ ละแวกนี้ แตกต่างก็ตรงคนพนัสฯ มีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม สมัยก่อนเขาจะปลูกต้นไผ่ไว้หัวไร่ปลายนา แล้วก็ตัดไผ่มาเป็นเครื่องมือ เป็นข้อง ไซ สุ่ม ไว้จับสัตว์น้ำหากิน หรือทำเป็นภาชนะใช้งาน ตั้งแต่เกิดมา ฉันก็เห็นคนพนัสฯ…

9 hours ago

[ THE CITIZNES ] เมืองพนัสนิคม<br />ภูวิช บุญนาคกัลยกร<br /> เจ้าของ I-Destiny Gallery Resort และผู้ร่วมก่อตั้งงานพนัสบันดาลใจ

“หลังจากทำงานเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ ได้สิบกว่าปี มันก็ถึงจุดจุดหนึ่งที่ผมรู้สึกถึงความไม่ยั่งยืน จริงอยู่ รายการที่ผมทำค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่งานในวงการบันเทิงเนี่ยมันมีวาระของมัน ประกอบกับตอนนั้นแม่ก็เริ่มมีอายุมากขึ้นแล้ว แต่แกก็ยังคงเปิดร้าน ไม่ยอมหยุดทำงานสักที ผมจึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างให้เขารู้สึกวางใจที่เห็นว่าเรามีความมั่นคง ความคิดเรื่องการทำธุรกิจที่พักก็เริ่มขึ้นแต่ก่อน ผมไม่เคยมองว่าพนัสนิคมจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเลย แต่มองอีกมุม  พนัสนิคมก็ไม่เคยมีที่พักที่สามารถรับรองแขกผู้ใหญ่สักเท่าไหร่ ถ้าใครมาแต่งงานที่พนัสนิคม…

2 days ago

[ THE INSIDER ]<br />สาธิต ขันธวิทย์<br />สถาปนิกชำนาญการ กองช่างเทศบาลเมืองพนัสนิคม

“ผมเป็นคนพนัสนิคม ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นนักผังเมืองในเทศบาลเมืองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จริงอยู่ที่พอทำงานในเมืองใหญ่ ตำแหน่งรับผิดชอบต่าง ๆ ของหน่วยบริหารราชการจึงค่อนข้างจะครอบคลุม แต่การพัฒนาเมืองกลับไม่ได้ถูกนำโดยผู้คนท้องถิ่น มันถูกขีดมาจากระบบใหญ่จากบนลงล่าง และทิศทางการออกแบบเมืองมันจึงถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ ชาวบ้านหลายคนอาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งพวกเขาทำอะไรไม่ได้มาก  ข้อดีของการอยู่เมืองเล็ก ๆ อย่างพนัสนิคม คือการที่ไม่เพียงชาวบ้านทุกคนเข้าถึงทรัพยากรของเมือง…

2 days ago

[THE INSIDER เมืองพนัสนิคม]<br />กนกวรรณ เจริญวัฒนวิญญู<br />นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ เทศบาลเมืองพนัสนิคม

“เราเป็นคนอำเภอเกาะจันทร์ แต่ช่วงมัธยมฯ มาเรียนที่พนัสนิคม ซึ่งเราเห็นว่าพนัสนิคมเป็นเมืองสะอาดมาตั้งแต่นั้น คือตั้งแต่ตอนเราเป็นเด็ก เมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วนะ จนพอสอบบรรจุเป็นข้าราชการด้านสาธารณสุข ตอนเขาให้เลือกเทศบาลสังกัด เราจึงเลือกเทศบาลเมืองพนัสนิคม ซึ่งไม่ใช่เพราะที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน แต่เมื่อเราหาข้อมูล จึงรู้ว่าเมืองนี้จริงจังเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมจริง ๆ จึงรู้สึกว่างานที่เราทำมันมีคุณค่า พอได้มาทำงานเราก็เห็นแบบนั้นจริง…

3 days ago

[ เมืองพนัสนิคม ]<br /> ระวีกานต์ ศรีใย<br />นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ เทศบาลเมืองพนัสนิคม

“เราเป็นคนบ้านบึง พื้นเพครอบครัวเราทำงานราชการสายท้องถิ่น พอเรียนจบจึงเลือกทำงานสายนี้ เราเคยเป็นลูกจ้างประจำในสำนักงานเทศบาลอีกแห่งหนึ่ง และย้ายมาบรรจุอีกหนึ่งที่ ก่อนตัดสินใจย้ายมาบรรจุที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม เอาจริง ๆ  ถึงแม่เราเคยทำเทศบาลฯ จนเกษียณที่นี่ แต่ก่อนหน้านี้ เราไม่มีความรู้สึกอะไรเกี่ยวกับพนัสนิคมเลย เราก็เคยขับรถผ่านและแวะกินก๋วยเตี๋ยวเป็ด และซื้อปลาร้า จำได้แค่ว่าเมืองนี้มีตลาดเก่าที่น่ารักดี และมีเครื่องจักสานขายเยอะเท่านั้นเอง…

3 days ago

[ พหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ กับการเปิดพื้นที่ให้คนพนัสฯ รุ่นใหม่ ]<br />ดร.เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์<br />หัวหน้าโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด พนัสนิคม

ภายใต้โจทย์ในการแก้ปัญหาสภาวะ “เมืองหด” และทำให้เมืองที่น่าอยู่อยู่แล้วอย่างพนัสนิคม มีความน่าอยู่ที่ครอบคลุมถึงโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับคนรุ่นใหม่ เทศบาลเมืองพนัสนิคมจึงร่วมกับ บพท. ผ่านทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขับเคลื่อน โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบูรณาการคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของเขตพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม เพื่อย้อนกลับมาสำรวจต้นทุนของเมือง รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการรวบรวมและนำเสนออัตลักษณ์ของเมือง เพื่อสร้างแม่เหล็กดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับมาช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจบ้านเกิด พร้อมบรรเทาปัญหาสังคมสูงวัยที่เมืองกำลังเผชิญ…

5 days ago