filter: 0; fileterIntensity: -0.01; filterMask: 0; captureOrientation: 0; runfunc: 0; algolist: 0; multi-frame: 1; brp_mask:0; brp_del_th:0.0000,0.0000; brp_del_sen:0.0000,0.0000; motionR: 0; delta:null; bokeh:0; module: night;hw-remosaic: false;touch: (-1.0, -1.0);sceneMode: 13107200;cct_value: 0;AI_Scene: (-1, -1);aec_lux: 245.49857;aec_lux_index: 0;albedo: ;confidence: ;motionLevel: 0;weatherinfo: weather?Sunny, icon:0, weatherInfo:101;temperature: 43;zeissColor: bright;
พื้นที่ 20.13 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลเมืองสระบุรีคือสังคมเมืองขนาดกำลังพอดี มีบรรยากาศไม่เร่งรีบอย่างเมืองมหานคร และมีเสน่ห์เรียบง่ายของเมืองเล็ก ที่สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะครบถ้วนในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต เทศบาลฯ ผลักดันโครงการพัฒนาเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง มีแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ เช่น สร้างพื้นที่สีเขียวแห่งแรกของเมืองสระบุรี กว่า 20 ไร่ ปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรีและพื้นที่โดยรอบ สร้างสถานที่ที่ใช้รักษาร่างกายด้วยธาราบำบัด ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองร่วมสมัย และโครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และการพักผ่อนสำหรับประชาชนและผู้มาเยือน
หากโจทย์อันท้าทายของเทศบาลเมืองสระบุรีอยู่ที่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตั้งแต่การมีสะพานต่างระดับ รถไฟความเร็วสูงตัดผ่านเมือง พฤติกรรมการจับจ่ายและความเป็นอยู่ของประชาชนที่กระจายออกไปรอบนอกเมืองมากขึ้น การกระตุ้นการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่จึงเป็นหนทางหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หมุนเวียนในระบบ เทศบาลเมืองสระบุรีจับมือร่วมกับทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม จัดงานมหกรรมต่าง ๆ และยกระดับวัฒนธรรมประเพณี ในรูปแบบเทศกาล 4 งานใหญ่ ๆ ประจำปี คือเทศกาลตรุษจีนปากเพรียว เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และงานมหกรรมอาหาร
สำหรับงาน “มหกรรมอาหาร เทศบาลเมืองสระบุรี” เป็นงานประจำปีที่จัดมาจนถึงปี 2568 นี้เป็นครั้งที่ 12 โดยจัดช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี ด้วยกิจกรรมสนุก ๆ อย่างการแข่งขันปรุงอาหาร ประกวดส้มตำลีลา การแสดงบนเวทีของนักเรียนและวงดนตรี การออกร้านจำหน่ายอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ให้ผู้คนได้มาชอปปิง มาชิม กับร้านรวงร่วม 90 ร้าน โดยเป็นร้านที่ได้รับมาตรฐานการอบรมและการตรวจสารพิษ เพื่อให้เป็นงานมหกรรมอาหารที่สะอาด รสชาติอร่อย และไร้แอลกอฮอล์
ขณะที่เทศกาลงานประเพณีอย่างตรุษจีน สงกรานต์ ลอยกระทงนั้น เทศบาลฯ เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2567 นับว่าประสบความสำเร็จในแง่เศรษฐกิจหมุนเวียนและการสร้างความคึกคักให้เมืองมีความเคลื่อนไหวดึงดูดทั้งคนสระบุรีและคนนอกพื้นที่เข้ามา เทศกาลลอยกระทงมีขบวนแห่ประเพณีลอยกระทงที่เริ่มต้นบริเวณถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตั้งแต่หน้าโรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) มาจนถึงบริเวณท่าน้ำดับเพลิงที่ประชาชนมาลอยกระทงในแม่น้ำป่าสัก มีการประกวดหนูน้อยนพมาศ รำวงย้อนยุค กระทงยักษ์จาก 10 โรงเรียน แสง สี เสียง พลุ ตระการตา ขณะที่งานประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ช่วงเช้าร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ภาคบ่ายต่อด้วยขบวนแห่พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากวัดในเขตเทศบาลฯ ให้ประชาชนร่วมสรงน้ำขอพรตลอดเส้นทางที่ไปสิ้นสุดบริเวณคลองชลประทาน ถนนพิชัยฯ ซ.40 (ตรงข้ามซุ้มวัดเจดีย์งาม) ที่มีการแสดง รำวงย้อนยุคสืบสานประเพณีชนพื้นเมืองชาวปากเพรียว การแสดงดนตรี อุโมงค์น้ำ และกิจกรรมมากมาย
WeCitizens ได้มีโอกาสร่วมงาน “เทศกาลตรุษจีนปากเพรียว 2568” ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้เห็นสีสันของเมืองจากการประดับโคมไฟจีน การไหว้เทพเจ้าขอพรและแก้ปีชง การออกร้านค้า ได้ยินเสียงตอบรับจากชาวเมืองที่ให้ความสนใจมากกว่าปีก่อนมาก จากที่ประดับโคมไฟจีนบนถนนสายเดียว ก็เพิ่มเป็นสองสายรูปตัวยูตั้งแต่บริเวณโรงเจบ้วนเฮงตั๊ว และถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ซอย 7-8 และ 12 เพิ่มจุดเช็กอินจัดกิจกรรมถ่ายภาพครบทุกจุดมาแลกรับของที่ระลึก โพรโมตการแต่งกายด้วยชุดจีนหรือชุดสีแดง ชาวเมืองได้เห็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ผู้คนทุกเพศทุกวัย หลากรสนิยมหลายความสนใจ ครอบครัวสามเจเนอเรชันแต่งชุดจีนจูงมือ (และเข็นรถเข็นผู้สูงวัย) กันมาร่วมงานและถ่ายรูปเป็นที่สนุกสนาน นี่แหละคือสัญญาณแห่งชีวิตชีวาและความหวังของเมืองสระบุรี
#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…