filter: null; fileterIntensity: null; filterMask: null; captureOrientation: 0; runfunc: 0; algolist: 0; multi-frame: 1; brp_mask:0; brp_del_th:0.0000,0.0000; brp_del_sen:0.0000,0.0000; motionR: 0; delta:1; bokeh:1; module: portrait;hw-remosaic: false;touch: (-1.0, -1.0);sceneMode: 12582912;cct_value: 0;AI_Scene: (-1, -1);aec_lux: 107.858826;aec_lux_index: 0;albedo: ;confidence: ;motionLevel: 0;weatherinfo: weather?Sunny, icon:0, weatherInfo:101;temperature: 35;zeissColor: bright;

[CITY OVERVIEW] เมืองสระบุรี

Start
50 views
14 mins read

รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี

เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร ครั้นปี 2517 มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลจากเดิมมาเป็น 20.13 ตารางกิโลเมตร จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ 12,581.25 ไร่ ตั้งอยู่บนที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางที่ระดับความสูงประมาณ 15-16 เมตร มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฯ โดยไหลมาจากอำเภอมวกเหล็ก สู่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง และอำเภอเสาไห้ ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ ปัจจุบัน ประชาชนใช้อุปโภค และเทศบาลฯ นำน้ำดิบจากแม่น้ำป่าสักมาผลิตน้ำประปาบริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาลฯ และนอกเขตรัศมี 1 กิโลเมตร

จังหวัดสระบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมด 3,576,486 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของพื้นที่ประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางรวมกับอีกส่วนหนึ่งของทิวเขาดงพญาเย็น เป็นทำเลแห่งการเพาะปลูกด้วยได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง เสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์โบราณสถาน โบราณวัตถุ แม้ภายในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสระบุรีส่วนใหญ่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแต่เป็นชุมทางเมืองผ่านสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ เทศบาลเมืองสระบุรีซึ่งเล็งเห็นความสำคัญในการท่องเที่ยวของจังหวัด จึงมีแนวคิดพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นในการเป็นศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2564-2567) แนวทางพัฒนาเทศบาลเมืองสระบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นำพาเมืองสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วย 4 โมเดลคือ 

1.) “ปากเพรียวปลอดภัย” ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วเมือง 1,648 จุด ไฟฟ้าส่องสว่างทั่วซอย 6,400 จุด ตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน 8 จุด 

2.) “ปากเพรียวสะอาด” จัดตั้งธนาคารขยะ จัดการขยะเฉลี่ยกว่า 75 ตันต่อวัน กล้องวงจรปิดเพื่อบริหารจัดการขยะ 20 จุด 

3.) “ปากเพรียวน่าอยู่” สร้างและปรับปรุงถนนทั้งหมดกว่า 3,000 เมตร 22 เส้นทาง ปรับปรุงและซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำประปาเป็นระยะทางรวมกว่า 10 กิโลเมตร เปลี่ยนเกาะกลางถนนสุดบรรทัดเป็นพื้นที่จอดรถ

4.) “ปากเพรียวทันสมัย” จัดทำเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน “เทศบาลเมืองสระบุรี” เป็น One Stop Service 24 ชั่วโมงที่ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำประปา ชำระค่าภาษี แจ้งเรื่องร้องเรียน และติดตามข่าวสารต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและสังคมเข้มแข็งด้วยการมีส่วนร่วม จัดทำแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (CDP-City Data Platform) และ GIS (Geographic Information System ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)

มีจุดบริการสัญญาณ Wi-Fi 50 จุด ส่งผลให้เทศบาลเมืองสระบุรีได้รับใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และได้ดำเนินการประเมินเมือง “Smart City” ที่จะมีการประกาศผลในปีงบประมาณ 2568

29 ชุมชนของเทศบาลเมืองสระบุรี มี 29,156 ครัวเรือน ประชากร 57,135 คน (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2567) ประกอบด้วยประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงมาจากจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มาตั้งถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพเนื่องจากตำบลปากเพรียวเป็นย่านใจกลางเมืองและศูนย์กลางของจังหวัด โดยตั้งบ้านเรือนประกอบกิจการค้าอยู่ตามเส้นทางคมนาคมสายหลักต่าง ๆ ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุดบรรทัด และถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ส่วนผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเส้นทางแม่น้ำป่าสัก อย่างไรก็ดี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระบุรีรายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2567 ว่าในปี 2566 จังหวัดสระบุรีมีจำนวนประชากรรวม 638,826 คน เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 125,766 คน คิดเป็นสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด ร้อยละ 19.69 ใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ขณะที่ประชากรท้องถิ่นเทศบาลเมืองสระบุรีมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากประชากร 59,263 คนในปี 2563 ลดลงเหลือ 57,817 คนในปี 2565 ส่งผลให้พื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรีต้องเผชิญกับปรากฏการณ์เมืองหดตัว (Shrinking City) ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจที่การค้าขายและการจับจ่ายใช้สอยลดลง

#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens