[City Overview] สังคมสูงวัยไม่ใช่ปลายทางหากคือต้นทุนการพัฒนาของเทศบาลนครนนทบุรี

ด้วยสถานะของเทศบาลนครที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศไทย หรือราว 250,000 คน โดยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด เทศบาลนครนนทบุรีถือเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของการเข้าสู่สังคมสูงวัย ไม่เพียงในระดับประเทศ แต่รวมถึงในระดับมหภาคของสังคมโลก

ตั้งอยู่บนพื้นที่ 38.90 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ สวนใหญ่ ตลาดขวัญ บางเขน บางกระสอ และท่าทราย ขณะที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของเทศบาลนครนนทบุรีติดแม่น้ำเจ้าพระยา ชายแดนทางทิศตะวันออกและทิศใต้ยังเชื่อมติดกับกรุงเทพมหานคร ทำให้ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในปริมณฑลสำคัญที่รองรับประชากรที่ขยายตัวมาจากเมืองหลวง พร้อมกับการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายในพื้นที่เอง จากการเป็นที่ตั้งของสำนักงานบริษัทขนาดใหญ่ ศูนย์ราชการแห่งใหม่ ศูนย์การค้าชั้นนำ ไปจนถึงการมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม

กระนั้น ดังที่กล่าวในตอนต้น แม้จะเป็นมหานครที่ทันสมัย และเป็นเทศบาลนครที่สามารถจัดเก็บรายได้สูงที่สุดในประเทศ หากก็เฉกเช่นเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก นนทบุรีกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมสูงวัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

ในปี 2566 นนทบุรีถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศไทย โดยอยู่ในอันดับที่ 9 มีจำนวนผู้สูงวัยรวมทั้งจังหวัด 280,166 คน เฉพาะในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ที่มี 63,302 คน จนถึงปี 2566 ที่มี 76,570 คน โดยปัจจุบันมีสัดส่วนคิดเป็น 31% ของประชากรทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าเมืองได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว เทศบาลนครนนทบุรีจึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข และการให้ความสำคัญกับการขยายพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ผ่อนคลายทั่วเมือง

พร้อมกันนั้น กองการแพทย์ เทศบาลนครนนทบุรี ก็ยังได้ขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพเชิงรุก ทั้งการนำแนวคิด “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” (Lifestyle Medicine) มาใช้ดูแลสุขภาพผู้คนตั้งแต่ต้นทาง การส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ความรู้และตรวจสุขภาพของประชาชนในชุมชน และโปรแกรมสุขภาพอื่น ๆ รวมถึงยังมีการนำเทคโนโลยี NakornNont Smart GIS มาใช้คัดกรองสุขภาพผู้สูงวัยแบบออนไลน์ และระบบ GIS Application Gallery ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพกับพื้นที่บริการ รวมถึงระบบ e-Service สำหรับการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ์เบี้ยยังชีพผู้สูงวัย ฯลฯ

แม้การดำเนินงานเหล่านี้จะทำให้เทศบาลนครนนทบุรีได้รับการยอมรับ และกลายเป็นต้นแบบของเมืองที่มีระบบดูแลผู้สูงวัยอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพในระดับประเทศ กระนั้นก็ตาม เทศบาลนครนนทบุรีก็หาได้หยุดเพียงเท่านี้ ด้วยความตระหนักดีว่า สังคมสูงวัยหาใช่ “ปลายทาง” แต่หากมีกลไกรอบด้านมาช่วยขับเคลื่อน นี่จะเป็น “โอกาส” ใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของเมือง

เทศบาลฯ จึงได้ร่วมกับ บพท. และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขับเคลื่อนโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ทั้งการเก็บข้อมูลประชากรอย่างละเอียด การยกระดับแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมการใช้งาน และการส่งเสริมนิเวศด้านการดูแลสุขภาพ ภายใต้กรอบแนวคิด “เวชศาสตร์วิถีชีวิต” ที่เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกองการแพทย์

ข้อมูลเมือง แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพ และเวชศาสตร์วิถีชีวิต จะเปลี่ยนสถานการณ์สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบของนนทบุรีให้กลายเป็นต้นทุนใหม่ของการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และชาญฉลาดได้อย่างไร WeCitizens อาสาไปหาคำตอบพร้อมกัน


#เทศบาลนครนนทบุรี #บพท #pmua #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE CITIZENS]<br />ณรัศมิน เทพมณี<br />นักธุรกิจและนักพัฒนาเมืองกลุ่ม “ลำพูนพัฒนา”

“พื้นเพของครอบครัวผมเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ คุณตาของผม สันติ์ เทพมณี เป็นอดีตรัฐมนตรี สส. และ สว. ของจังหวัดลำพูน พ่อของคุณตา - สุข เทพมณี ก็เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (พ.ศ.…

1 week ago

[THE INSIDER]<br />สุทธินี สุริยกุล ณ อยุธยา<br />อดีตรองนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน

“ตอนเด็ก ๆ เราแทบไม่ได้ผูกพันกับลำพูน บ้านเกิดเลยนะ เราถูกส่งไปเรียนที่เชียงใหม่ เรียนมหาวิทยาลัยที่ขอนแก่น จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่หลายปี ระหว่างนั้นก็กลับมาเยี่ยมแม่บ้าง ไป ๆ มา ๆ ก็เริ่มรู้สึกเป็นห่วงเขา สุดท้ายเลยตัดสินใจย้ายกลับมาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูนถึงพ่อแม่เราจะรับราชการครู…

1 week ago

[THE KEY SUCCESS]<br />18 เทศบาลนำร่อง & CIAP<br />[ Ep.2 มุมมองผู้นำเมือง ภาคกลาง และภาคใต้]

ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท. คุณสมศักดิ์  ลามอ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครปากเกร็ด (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2567 - มีนาคม 2568) มุ่งยกระดับการบริการประชาชนด้วยนวัตกรรมและยุทธศาสตร์ทันสมัย เทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร มีประชากรในความดูแลกว่า 400,000…

1 week ago

[THE KEY SUCCESS]<br />18 เทศบาลนำร่อง & CIAP<br />[ Ep.1 มุมมองผู้นำเมือง ภาคเหนือ และภาคอีสาน]

ก้าวสู่ความสําเร็จของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดบนฐานงานวิจัยและนวัตกรรม บพท. | ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง (ดำรงตำแหน่ง มีนาคม 2564- มีนาคม 2568) “เทศบาลนครลำปางในปี 2567-2568 เราได้ร่วมงานกับ บพท. ในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยบริหารจัดการเมืองของเราให้เดินหน้าสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ซึ่งก็ตรงกับแนวทางที่เรากำลังทำกันอยู่ที่ ด้วยเป้าหมายสิ่งที่เราปรารถนาที่สุดคือ จะทำให้เมืองของเราเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบ…

1 week ago

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 month ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 months ago