[City Overview] เมืองนครสวรรค์จากชุมทางการค้าสู่ต้นแบบเมืองอีสปอร์ตแห่งแรกของไทย

“แม้จะเป็นการเล่นเกม แต่นครสวรรค์ก็ไม่ได้มาเล่น ๆ 
เพราะนี่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เปลี่ยนให้เมืองผ่าน
กลายมาเป็นจุดหมายของใครหลายคน”


เมื่อเอ่ยถึงนครสวรรค์ คุณนึกถึงอะไร?

ประตูสู่ภาคเหนือ, “เมืองปากน้ำโพ” ชุมทางการค้าทางเรือในอดีต, เทศกาลตรุษจีน, ขนมโมจิ, ดินแดนอาหารอร่อย หรือ “พาสาน” แลนด์มาร์กแห่งใหม่กลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาพจำเหล่านี้คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึง — เมืองผ่านทางภาคเหนือตอนล่าง ที่ดูเงียบ ๆ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวโดดเด่นนัก

แต่นั่นล่ะ หลายคนอาจยังไม่ทราบ จาก “ปากน้ำโพ” เมืองหน้าด่านทางการค้าที่เคยรุ่งเรืองในอดีต สู่เมืองสมัยใหม่ที่กำลังเผชิญกับภาวะหดตัวของคนรุ่นใหม่ และปัญหาเศรษฐกิจดังเช่นอีกหลายเมืองทั่วประเทศ หากปัจจุบัน ไม่เพียงนครสวรรค์จะพยายามยกระดับตัวเองในหลายมิติ และกำลังมีเป้าหมายใหม่ในการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจ

ทั้งการฟื้นฟูย่านเก่าเพื่อให้ปักหมุดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ การขับเคลื่อน “เมืองศิลปะ” ผ่านความร่วมมือของภาคเอกชน ไปจนถึงนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อน “เมืองอัจฉริยะ” ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศมาแล้วมากมาย และล่าสุด “เทศบาลนครนครสวรรค์” ศูนย์กลางการบริหารจัดการท้องถิ่น ก็มีโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ผ่านการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ อันแตกต่างไปจากภาพเดิมของเมืองอย่างน่าใคร่ครวญ 

นั่นคือการผลักดันให้เป็น “เมืองต้นแบบอีสปอร์ต (Esports) แห่งแรกของประเทศไทย”

คุณอ่านไม่ผิด Esports หรือ Electronic Sports – กีฬาที่แข่งขันผ่านเกมอิเล็กทรอนิกส์ ถ้ากล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือการเป็นเมืองที่ชวนคนรุ่นใหม่มาสนุกกับ “การแข่งขันเล่นวิดีโอเกม” นั่นเอง 

แม้จะเป็นการเล่นเกม แต่เมืองแห่งนี้ก็ไม่ได้มาเล่น ๆ เพราะไม่เพียงเครือข่ายภาคเอกชนและภาครัฐจะร่วมกันจัดตั้ง “สมาคมกีฬาอีสปอร์ตจังหวัดนครสวรรค์” ซึ่งเป็นแห่งแรกของภาคกลางและภาคเหนืออย่างเป็นทางการ การลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอีสปอร์ตในระดับภูมิภาค และรวมไปถึงการที่เทศบาลนครนครสวรรค์บรรจุหลักสูตรอีสปอร์ตเข้าไปในสถานศึกษาภายใต้สังกัด 

ไม่เพียงเท่านั้น ล่าสุด เทศบาลนครนครสวรรค์ยังร่วมมือกับ บพท. และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร การขับเคลื่อนกีฬาชนิดนี้ให้เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ภายใต้กรอบของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจสงสัยว่าการเป็นเมืองแห่งการเล่นวิดีโอเกม เกี่ยวอะไรกับเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และจะกลายเป็นกลไกในการรับมือความท้าทายที่เมืองเผชิญอยู่ตอนนี้ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคมสูงวัย ไปจนถึงภาวะลดลงของประชากรได้อย่างไร “WeCitizens เทศบาลนครนครสวรรค์” เล่มนี้ จะพาไปหาคำตอบร่วมกัน

#เทศบาลนครนครสวรรค์ #มหาวิทยาลัยนเรศวร #นครสวรรค์เมืองesports #บพท #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #มหาวิทยาลัยมหาสารคาม #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago