[CITY OVERVIEW] เมืองสระบุรี

รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี

เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร ครั้นปี 2517 มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลจากเดิมมาเป็น 20.13 ตารางกิโลเมตร จนถึงปัจจุบัน พื้นที่ 12,581.25 ไร่ ตั้งอยู่บนที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางที่ระดับความสูงประมาณ 15-16 เมตร มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฯ โดยไหลมาจากอำเภอมวกเหล็ก สู่อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง และอำเภอเสาไห้ ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำ ปัจจุบัน ประชาชนใช้อุปโภค และเทศบาลฯ นำน้ำดิบจากแม่น้ำป่าสักมาผลิตน้ำประปาบริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาลฯ และนอกเขตรัศมี 1 กิโลเมตร

จังหวัดสระบุรีมีเนื้อที่ทั้งหมด 3,576,486 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของพื้นที่ประเทศ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางรวมกับอีกส่วนหนึ่งของทิวเขาดงพญาเย็น เป็นทำเลแห่งการเพาะปลูกด้วยได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง เสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์โบราณสถาน โบราณวัตถุ แม้ภายในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสระบุรีส่วนใหญ่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแต่เป็นชุมทางเมืองผ่านสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ทั้งทางรถไฟ และรถยนต์ เทศบาลเมืองสระบุรีซึ่งเล็งเห็นความสำคัญในการท่องเที่ยวของจังหวัด จึงมีแนวคิดพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ มุ่งเน้นในการเป็นศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวของจังหวัดสระบุรี

ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2564-2567) แนวทางพัฒนาเทศบาลเมืองสระบุรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นำพาเมืองสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วย 4 โมเดลคือ 

1.) “ปากเพรียวปลอดภัย” ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วเมือง 1,648 จุด ไฟฟ้าส่องสว่างทั่วซอย 6,400 จุด ตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน 8 จุด 

2.) “ปากเพรียวสะอาด” จัดตั้งธนาคารขยะ จัดการขยะเฉลี่ยกว่า 75 ตันต่อวัน กล้องวงจรปิดเพื่อบริหารจัดการขยะ 20 จุด 

3.) “ปากเพรียวน่าอยู่” สร้างและปรับปรุงถนนทั้งหมดกว่า 3,000 เมตร 22 เส้นทาง ปรับปรุงและซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำประปาเป็นระยะทางรวมกว่า 10 กิโลเมตร เปลี่ยนเกาะกลางถนนสุดบรรทัดเป็นพื้นที่จอดรถ

4.) “ปากเพรียวทันสมัย” จัดทำเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน “เทศบาลเมืองสระบุรี” เป็น One Stop Service 24 ชั่วโมงที่ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำประปา ชำระค่าภาษี แจ้งเรื่องร้องเรียน และติดตามข่าวสารต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและสังคมเข้มแข็งด้วยการมีส่วนร่วม จัดทำแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง (CDP-City Data Platform) และ GIS (Geographic Information System ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์)

มีจุดบริการสัญญาณ Wi-Fi 50 จุด ส่งผลให้เทศบาลเมืองสระบุรีได้รับใบประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และได้ดำเนินการประเมินเมือง “Smart City” ที่จะมีการประกาศผลในปีงบประมาณ 2568

29 ชุมชนของเทศบาลเมืองสระบุรี มี 29,156 ครัวเรือน ประชากร 57,135 คน (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2567) ประกอบด้วยประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงมาจากจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มาตั้งถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพเนื่องจากตำบลปากเพรียวเป็นย่านใจกลางเมืองและศูนย์กลางของจังหวัด โดยตั้งบ้านเรือนประกอบกิจการค้าอยู่ตามเส้นทางคมนาคมสายหลักต่าง ๆ ได้แก่ ถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุดบรรทัด และถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ส่วนผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเส้นทางแม่น้ำป่าสัก อย่างไรก็ดี สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสระบุรีรายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2567 ว่าในปี 2566 จังหวัดสระบุรีมีจำนวนประชากรรวม 638,826 คน เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 125,766 คน คิดเป็นสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด ร้อยละ 19.69 ใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ขณะที่ประชากรท้องถิ่นเทศบาลเมืองสระบุรีมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากประชากร 59,263 คนในปี 2563 ลดลงเหลือ 57,817 คนในปี 2565 ส่งผลให้พื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรีต้องเผชิญกับปรากฏการณ์เมืองหดตัว (Shrinking City) ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจที่การค้าขายและการจับจ่ายใช้สอยลดลง

#เทศบาลเมืองสระบุรี #คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาดในระดับพื้นที่ #CIAP #บพท #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Citizens]<br />พินิจ ราชตา

“มหาวิทยาลัยวัยที่สามคือพื้นที่ของคนสูงวัยที่หัวใจไม่แก่ตาม” “นักศึกษาในมหาวิทยาลัยวัยที่สามของเรามีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป อาวุโสสุดนี่ก็ 80 กว่าปี ใช่ครับ… ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ที่นี่คือโรงเรียนผู้สูงอายุทำไมจึงเรียกมหาวิทยาลัย? เพราะโรงเรียนเราเริ่มต้นดำเนินการโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็เลยเรียกชื่อนั้น แต่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วไปก็ตรงที่ คณะกรรมการของเราเป็นประชาชนทั่วไปในชุมชนต่าง…

16 hours ago

[The Insider]<br />สรวงสุดา คุณาแปง

“เพราะไม่ใช่แค่คนในเมืองมีความสุข แต่อาชีพฐานรากของเมืองอย่างเกษตรกร ก็ต้องมีความสุขด้วย” “จริง ๆ ชุมชนป่างิ้ว และชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่บริเวณหาดเชียงราย เขาริเริ่มทำเกษตรปลอดภัยมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเทศบาลนครเชียงรายก็เล็งเห็นว่าที่นี่คือชุมชนต้นแบบสำหรับเมืองอาหารปลอดภัย จึงนำมาสู่การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัยภายใต้โครงการ ‘ปลูกเพาะรักษ์’ ขึ้นเมื่อปี 2566…

17 hours ago

[The Citizens]<br />สนอง บุญเรือง

“ทุกวันนี้ป่าในเมืองใหญ่เหลือน้อยเต็มทีแล้วแต่ที่พิเศษคือที่นี่เป็นทั้งป่าชุมชนและแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน” “ในพื้นที่ระดับเทศบาลนคร มีไม่กี่เมืองหรอกที่จะมีภูเขา ป่าชุมชน และวิถีดั้งเดิมของชาวบ้านเหลืออยู่ ชุมชนดอยสะเก็นที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงรายคือหนึ่งในนั้นชุมชนเราอยู่ห่างจากย่านใจกลางเมืองแค่ 5 กิโลเมตร ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและยังคงมีวิถีในการหาของป่า โดยมีดอยสะเก็นที่อยู่ติดกับหมู่บ้านเป็นแหล่งทรัพยากร และความที่เรามีเอกลักษณ์เช่นนี้ ทางชุมชนและเทศบาลนครเชียงรายจึงเห็นศักยภาพในการพัฒนาที่นี่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของเมืองขึ้นจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อโรงเรียนบ้านทุ่งมน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่เชิงเขาในหมู่บ้านปิดตัวลงเมื่อหลายสิบปีก่อน พื้นที่โรงเรียนถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามกีฬาของหมู่บ้าน ขณะที่อาคารเรียนก็ถูกใช้เป็นที่ประชุมเหมือนศาลาประชาคม…

18 hours ago

[The Insider]<br />รุ่งธรรม ธรรมรักษ์

“เขื่อนป้องกันน้ำท่วมเป็นการรับมือที่ปลายเหตุสำคัญกว่านั้นคือวิธีบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง” “พูดถึงเรื่องน้ำท่วมเชียงราย จริง ๆ แล้ว เทศบาลฯ เรามีการทำโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับพอสมควร แต่ต้องยอมรับว่าครั้งที่ผ่านมา (ปี 2567) เป็นครั้งที่หนักที่สุดในรอบหลายสิบปี และเราไม่อาจรับมือได้ทันการหนึ่งในข้อจำกัดของเมืองคือ พื้นที่ริมแม่น้ำกกที่พาดผ่านเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ดินเอกชน ทำให้มีการจัดการที่ยากกว่าหลาย ๆ…

18 hours ago

[The Researcher]<br />ดร.สิรินันท์ สุวรรณาภรณ์

“เชียงรายเผชิญปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุพืชเชิงเดี่ยวมานาน เราจึงใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกใหม่ ให้เกษตรกรค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านสู่การปลูกพืชสมุนไพรคุณภาพสูงแทน” อาจดูเหมือนเป็นความบังเอิญ แต่ในปี 2562 ปีเดียวกับที่เทศบาลนครเชียงรายได้รับเลือกให้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” เมืองแรกของประเทศไทยในเครือข่าย UNESCO Global Network of Learning Citiesมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็ได้จัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร”…

18 hours ago

[The Mayor] วันชัย จงสุทธานามณี

พลวัตการเรียนรู้ สู่เมืองเชียงรายที่น่าอยู่ “ถามว่าเชียงรายน่าอยู่อย่างไร คำตอบมีเยอะมากครับแต่สำหรับผม เชียงรายที่น่าอยู่ คือเมืองที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ เติบโต และใช้ศักยภาพของตัวเองสร้างชีวิตที่ดีขึ้น” ในห้องประชุมบนชั้น 2 ของสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย นอกจากจะเห็นโล่และเหรียญรางวัลด้านการบริหารและพัฒนาเมืองที่เทศบาลฯ แห่งนี้ได้รับมากมาย เรายังเห็นแผนภาพกรอบวิสัยทัศน์การพัฒนาเมือง พร้อมภาพถ่ายการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายเต็มสองข้างของผนัง…

1 day ago