“ผมเป็นภูมิสถาปนิก เปิดบริษัทด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะมาสิบกว่าปี ในบทบาทนึงเราก็เป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็เห็นว่ามีปัญหาที่วิชาชีพหรือความรู้ที่เรามีเข้าไปแก้ไขปัญหาเมืองให้น่าอยู่ขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเป็นเจ้าของได้ ทีนี้เรามองว่าสมาชิกทุกคนในเมืองมีทรัพยากรครบอยู่แล้ว ทุน ที่ดิน ความรู้ ความร่วมมือ แต่ไม่เคยมารวมกัน หรือทำกันคนละทีสองที ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะไม่ได้เป็นรูปธรรมจริงจัง แล้วความท้าทายของเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรเพิ่ม โลกร้อน ในขณะที่การเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ หรือเราไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของ…
“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า…
“ชุมชนสวนสมเด็จย่าเข้มแข็งพอสมควร บทบาทคณะกรรมการชุมชนสองสามปีนี้เกี่ยวกับโควิด หนักไปทางบริการชุมชน ติดต่อประสานงานสาธารณสุข ดูแลคนในชุมชนที่ติดโควิด เอาข้าวไปแขวนให้เขา โดยมีผู้ใหญ่ใจดีนำสิ่งของมามอบให้ ลักษณะเราเหมือนจิตอาสา ทุกคนมาทำไม่มีเงินเดือนนะ บางอย่างต้องออกเงินไปก่อนค่อยไปเบิกเงินที่เขต ถือว่าชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกลุ่มกัน ไทย จีน แขก เพราะชุมชนเก่าแก่อยู่กันมาเป็นร้อยปี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน นับญาติกัน คนใหม่เข้ามา คนเก่าย้ายไป…
“อาตมารู้จักอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) สิบกว่าปีที่อาจารย์มาทำโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่น่ามอง มีนิทรรศการเล็กๆ ข้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ มีเวทีเสวนาเรื่องความเข้มแข็งในชุมชน อาตมาในฐานะพระเลขาของวัดประยุรฯ ก็เล่าเรื่องนกมูลไถ (สกุณัคฆิชาดก) ให้ฟังว่า นกมูลไถที่เอาชีวิตรอดได้เพราะเขารู้จักถิ่นอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ทำให้เขาเข้มแข็งได้ ก็เป็นการตอบรับที่ดีมาก แล้วโครงการฯ ก็เข้าทุกตรอกซอกซอยในชุมชนด้วยแนวคิดว่า…
“ชุมชนซอยช่างนาค-สะพานยาวเปลี่ยนไปเยอะ คนพื้นที่เดิมขยับขยายไปซื้อที่อื่น เอาที่มาทำบ้านเช่า คนนอกพื้นที่มาเช่าอยู่เยอะ แต่ที่อยู่ๆ กันมา ก็มีทั้งคนจีน แขกขาวก็เยอะ มุสลิมก็มี จุดขายของเราคือมัสยิดเซฟี เพื่อนบ้านเราคือท่าดินแดง ก็มีศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลปึงเถ่ากงม่า สมัยก่อนตลาดท่าดินแดงของกินเยอะกว่านี้ เที่ยงคืนตีหนึ่งคนยังแน่น เดี๋ยวนี้ไม่มีละ ที่ลดลงคือคนท่าดินแดงย้ายออก โดนไล่ที่ และความเจริญมา คนรุ่นใหม่ไปอยู่บนห้างเยอะ…
“เป็นครูมา 28 ปี เกษียณอายุก่อน แล้วมาทำร้านที่บ้าน เมื่อก่อนขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีเครื่องดื่มพวกนมสด โกโก้ โอวัลติน ขนมปังปิ้งต่างๆ พิซซาเบคอน พอเปิดซักระยะก็มาขายเต็มตัว หยุดเฉพาะวันอังคาร นอกจากมีจอง 6-10 คนขึ้นไปถึงจะเปิดให้พิเศษ เพิ่มรายการอาหารมากขึ้น พวกขนมจีน สเต็ก พาสตาคาร์โบนารา…
“หนังสือ “สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ” บันทึกไว้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวจีนมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ก่อนการขุดคลองลัดบางกอก ทีนี้พอคนจีนมาอยู่ ก็มีศาสนสถาน มีภิกษุจีนมาพำนักอยู่ในกุฎีหรือกุฏิ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็บอกนี่แหละ ที่เรียกว่ากุฎีจีน ก็เป็นที่มาของคำว่า กุฎีจีน คือเป็นกุฎีที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ ชาวจีนที่เข้ามาตอนนั้นผสมกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นจีนใด แต่พอสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมวิไชยเยนทร์…
น้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ คือคุณปู่ (เชย ศรีวิทย์) ได้สูตรมาทำตอนที่บวชเรียนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามตอนนั้น พอคุณพ่อเข้าปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงสงครามโลกที่สอง คุณพ่อก็เป็นเสรีไทย ตกเย็นก็ฝึกอาวุธฝึกอะไรกันตรงใต้ถุนโดมริมน้ำ กลับบ้าน คุณปู่ก็ตักน้ำลูกยอจากโหล 1 ช้อนคาว ให้กินก่อนนอนทุกวัน เพราะสรรพคุณคือ เป็นยาอายุวัฒนะ…
“บ้านหลังนี้เป็นของคุณป้า คุณป้าคุณลุงเสีย ก็ปิดไว้เฉยๆ เพราะลูกชายเขาที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันย้ายไปอยู่นอกกุฎีจีน พอคิดทำพิพิธภัณฑ์เลยทาบทาม เขาก็ตกลง โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินแล้วก็มาปรับโครงสร้างข้างล่างซึ่งสูงแค่เมตรยี่สิบ เราทำอะไรไม่ได้เลย ก็ยกบ้านดีดขึ้นไปเป็นสามเมตรกว่า เสริมคาน ฐานราก ปรับพื้นที่ข้างบน แล้วก็ได้พื้นที่เพิ่มด้านหลังกับที่อีกนิดนึงของสำนักมิสซัง ก็ขออนุญาตเช่าจากวัดซางตาครู้ส แล้วก่อนทำ เราก็เชิญคนรอบบ้านที่จะมีผลกระทบจากการทำตรงนี้มาคุย ก็ไม่มีใครคัดค้าน เขาก็มีข้อแนะนำ คนที่อยู่ในนี้ก็อยู่กันมานาน เป็นพี่เป็นน้อง…
“คำว่า ย่าน คือพื้นที่ที่เป็นจิตสำนึกของคนใน แต่เนื่องจากพื้นที่การบริหารการปกครองเปลี่ยนตั้งแต่อำเภอ ตำบล เขต ทำให้พื้นที่ทางวัฒนธรรมของคนที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ เลือนหายไป เลยคิดว่าเราควรสร้างสำนึกชุมชนของความเป็นย่านขึ้นมา ที่จะใช้ต่อรองกับฝ่ายปกครองได้ ซึ่งทำให้มีโอกาสเจอกับอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) ที่มาทำงานในย่านนี้กว่าสิบปี ต้องบอกว่าอาจารย์มาทางสายสถาปัตย์ฯ แล้วขยายไปทางการผังเมือง…