Citizen

ธรรมชาติแปรเปลี่ยนไป วัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปอีก แล้วเราจะอนุรักษ์ยังไง
นี่แหละคือปัญหา

“ขลุงเป็นเมืองที่สงบ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่แตกแยก คือก็มีแหละ แต่ไม่ขัดแย้งกันมากนัก เพราะเรามีบรรพบุรุษที่เป็นโรงเรียนศรีหฤทัยซึ่งปีนี้ก็ครบ 75 ปี (สถาปนาโรงเรียนวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2490) ก็หลอมรวมคนคริสต์ พุทธ คนที่อยู่ในตลาด 30% คนนอกอีกประมาณ 60% ทั้งไร่หนองบอน…

2 years ago

อยากให้ชาวสวนขลุงเป็นยังไงเหรอ ผมขอยืมคำในหลวงท่าน “ใครจะว่าเราเชยก็ช่างเขา ขอให้เราอยู่แบบพอมี พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกันจริงๆ ไม่ได้เชย มันล้ำหน้าต่างหาก...”

“ที่สวนลุงต้อยนี่ หน้าผลไม้มา ผมรับเฉพาะเสาร์อาทิตย์ กินฟรีหมด คุณจะซื้อกลับหรือไม่ซื้อกลับไม่เป็นไร อยากให้มาชิมทุเรียนแปลกๆ ของผมเป็นแปลงทุเรียนโบราณ ปีนี้จะมีไม่ต่ำกว่า 15 สายพันธุ์ และผมรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนไว้ ทั้งหมดตอนนี้มี 52 พันธุ์ ทำให้กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงให้ที่นี่เป็นแปลงรวบรวมของเกษตรกรจริงๆ แล้วในสวนผมเป็นต้นแม่ที่ไปหายอดมาปลูก ไม่ได้เพาะเม็ด…

2 years ago

ต้นสันดานเป็นเถาไม้เลื้อย ใบมีรสเปรี้ยว มีช่วงหน้าฝน หน้าแล้ง ถ้าใส่มะนาวเยอะก็เปรี้ยวเยอะ แต่ใบสันดานใส่เท่าไหร่ เปรี้ยวเท่าเดิม คือเปรี้ยวเป็นสันดาน

“จุดเด่นของตะปอนคือความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีที่มีคุณค่ากับชุมชนเรา อย่างประเพณีแห่เกวียนพระบาท มีแต่ที่บ้านเรา ที่อื่นไม่มี เป็นเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยโบราณที่มีโรคห่าระบาด ชาวบ้านมาปรึกษาท่านพ่อเพชร (หลวงพ่อเพชร อินฺทฺปญฺโญ เจ้าคณะและอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิธาราม (วัดตะปอนใหญ่)) ท่านเลยให้เอาผ้าพระบาท (ผ้าเขียนรอยพระบาทจำลองสี่รอยซ้อนกัน) ที่วัดตะปอนน้อย อายุประมาณ 400 กว่าปี อัญเชิญมาจากวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี มาลองแห่ดูเพื่อช่วยปัดเป่าให้ชาวบ้าน…

2 years ago

“ในหลวงสอนว่าให้อะไรก็แล้วแต่
ไม่ดีเท่าความรู้”

“ผมคิดทำศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เพราะได้เรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง ก็อยากมาทำที่บ้านผม รวมหมดทุกอย่างที่จุดนี้ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เรามีเครือข่าย อยากมีความรู้ด้านไหนก็แจ้งมา ด้านการเกษตร ปลูกผัก ปลูกพืช ขยายพันธุ์พืชด้านการตอน การเสียบยอด เลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่ ปั้นกระถาง ทำถ่านอัดแท่ง ผมทำบ้านต้นไม้ไว้ 3 หลัง…

2 years ago

อยากให้ใครมาเที่ยวขลุง ขลุงมีอะไรดี ส่วนใหญ่บอกว่าอาหารทะเล แต่ผมบอกว่าข้าว อ้าว ขลุงมีข้าวด้วยเหรอ นี่ไง ไม่รู้ มันเรียกข้าวสองน้ำ เป็นน้ำจืดน้ำเค็ม

“พื้นที่ของขลุงมี 3 พื้นที่ เดิมทีคนไทยเราอยู่ตามริมคลองขลุง ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไล่มาจนถึงแยกบ้านขลุง รีสอร์ท ชุมชนคนจีนอยู่ในตลาด คนเวียดนามอยู่โซนบ้านล่าง ซึ่งแต่ก่อนเขากีดกันกันหมด คนเวียดนามไม่มีน้ำจืดกิน ต้องเดินมาตักน้ำ ไม่แลกปลากุ้ง เลยทำให้วัฒนธรรมความผูกพันมีก็จริงแต่ไม่ได้ลึกซึ้งนัก ตัวผมเองเข้ามาโครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง แม่ผมเป็นคนขลุงพื้นถิ่นที่นี่ มีเชื้อสายชองมาพัวพันด้วย พ่อผมเป็นลูกจีนกับลูกเวียดนามผสมกัน เป็นคาทอลิก ผมเป็นลูกเสี้ยวละ…

2 years ago

ผมมองทั้งเมืองขลุงเป็นศูนย์เรียนรู้ได้หมด มีเรื่องเล่า เมืองน่าติดตาม และพื้นที่เราเล็ก 3.18 ตารางกิโลเมตร ขี่จักรยานแป๊บเดียวก็รอบเมือง

“เดิมอำเภอขลุงมีฐานะเป็น “เมืองขลุง” มีเจ้าเมืองปกครอง จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 128 ขลุงได้รวมกับเมืองทุ่งใหญ่ คือเมืองแสนตุ้ง รวมมาเป็นเมืองขลุง ต่อมารวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองขลุง เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลจันทบุรี” มาเป็นได้ปีเดียวก็ยกเลิก ทำให้เรามีศาลหลักเมือง ปกติตามอำเภอจะไม่มีศาลหลักเมือง มีตามจังหวัดเท่านั้น…

2 years ago

อำเภอขลุงเป็นอำเภอใหญ่ ก็เหมาะที่จะทำเป็น Learning City เนื่องจากเกษตรกรที่นี่เก่งมาก และข้อเด่นคือมีหลายจุดเรียนรู้

“หน่วยงานเกษตรอำเภอขลุงเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข ทีนี้อำเภอขลุงเป็นอำเภอใหญ่ ก็เหมาะที่จะทำเป็น Learning City เนื่องจากเกษตรกรที่นี่เก่งมาก และข้อเด่นคือมีหลายจุดเรียนรู้ จุดแรกคือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ตำบลตะปอน กลุ่มทองใส สมศรี ซึ่งเป็นตัวแทนให้กรมเราได้เวลามีงานถ่ายทอดความรู้และบูรณาการกับหน่วยงานอื่น อีกจุดก็ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ที่ตำบลซึ้ง เป็นตำบลที่มีทุเรียนมาก เป็นทุเรียนพันธุ์กระดุม ซึ่งปลูกก่อนใคร ออกก่อนใคร เขาทำเชื้อไตรโคเดอร์มา…

2 years ago

คนขลุงเป็นคนแบบ slow life
ไม่ได้เดือดร้อน สบายๆ อยากกินอะไรก็มีหมด ผลไม้ ปลาทะเล ชุมชนยังเหนียวแน่น วันนี้อยากกินปู ก็แบ่งเอาไป ที่อื่นเขาอาจขาย ได้กุ้งมา ก็เอามาให้ ความเอื้ออาทรยังมี ความมีน้ำใจคือข้อดีของเรา

“ตามความเข้าใจของคน ขลุงคืออำเภอขลุงทั้งหมด แต่จริงๆ คำว่า ขลุง คือส่วนเทศบาลเมืองขลุง อย่างที่เขาพูด ตรงนี้คือตำบลตะปอน ตรงนี้ตำบลซึ้ง เลยไปเป็นตำบลบ่อ เขาจะเรียกตัวเองว่า คนบ่อ เราอยู่ในเมือง ก็คนขลุง ในแต่ละที่การใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน คนในเมืองจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง บ้านล่างกับบ้านบนกั้นที่สามแยก ถ้าบ้านบน (อยู่ตอนบนของเขตเทศบาลเมืองขลุง ย่านตลาดขลุง)…

2 years ago

คุณต้องรู้วิถีชีวิตว่าเราอยู่ยังไง เวลาอาบน้ำ เราใช้การอาบน้ำเป็นขันนะ อาบน้ำสามขันได้มั้ย เพราะเป็นประเด็นใหญ่

“พื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางชัน มี 3 หมู่บ้านย่อย บ้านเลนตัก บ้านแหลมหญ้า และบ้านโรงไม้ ตรงนี้ใช้ 3 ชื่อ ชื่อภาษาราชการคือ บ้านปากน้ำเวฬุ เพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำเวฬุ ชื่อภาษาถิ่น เรียก บ้านโรงไม้ มาจากคนจีนที่อพยพมา เก่งเรื่องค้าขาย…

2 years ago

อาหารแต่ละบ้านอาจจะทำเหมือนกันแต่รสชาติไม่เหมือนกัน แล้วแต่รสมือของแต่ละบ้าน เราอยากให้คนต่างถิ่นเข้ามารู้

“ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านตะปอนน้อยมี 2 งาน คืองานฝีมือ กับงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตรซึ่งแปรรูปจากผลไม้ท้องถิ่นของเราเอง คือเรามีปัญหาว่า ในช่วงที่ผลไม้เยอะ อย่างมังคุดนี่เหลือแค่กิโลละ 4 บาทเท่านั้น เลยปรึกษากับอาจารย์ที่มทร.จันทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี) ว่าสกัดน้ำมังคุดไว้แต่ไม่รู้เอาไปทำอะไรได้อีก อาจารย์แนะนำให้ทำน้ำจิ้มสุกี้ มีองค์ความรู้ที่ทำไว้แล้ว ก็เอามาทำ พอเข้าโครงการของ U2T (โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ…

2 years ago