“ก่อนหน้านี้ เวลาชาวประมงในปากพูนจับสัตว์ทะเลมาได้ ก็มักจะเจอปลาตัวเล็กๆ อย่างปลาจวดหรือปลาดาบเงินติดมาด้วย เขาก็จะแยกพวกมันไปปล่อยลงทะเล เพราะปลาพวกนี้ขายไม่ได้ หรือถ้าขายก็จะได้ราคาไม่คุ้ม เพราะคนรับซื้อเขาจะเอาไปทำอาหารสัตว์จนมีช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจในชุมชนซบเซา ชาวบ้านก็มาคุยกันว่าเราจะทำยังไงจะหาเงินเพิ่มได้ ก็เลยคิดถึงการเอาปลาตัวเล็กๆ มาแปรรูป เพราะคนแก่ๆ อย่างป้าและแม่บ้านในชุมชนมีกันหลายคน ส่วนมากอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร ถ้ารวมตัวกันมาแปรรูปอาหารทะเล นอกจากมีรายได้เพิ่มเข้ามา ยังได้เจอเพื่อน ได้มีอะไรทำด้วย ทางกรมประมงจังหวัด และผู้ใหญ่กระจาย…
“เหนียวห่อกล้วยก็คือข้าวต้มมัดในภาคกลางนั่นแหละ บ้านยายทำมาตั้งแต่รุ่นคุณยายของยายแล้ว ตอนเด็กๆ ยายก็ช่วยคุณยายและแม่ของยายห่อ ตอนนั้นขายห่อละ 25 สตางค์ ขายที่บ้านบ้าง ไปฝากขายตามร้านค้า บางครั้งเอาไปขายแผงลอยริมถนน หรือไม่ก็เดินเร่ขายในปากพูน ตอนกลับมาเริ่มขายใหม่ คนในชุมชนเขาก็สงสัยว่าเหนียวห่อกล้วยนี่นะ คือที่ไหนเขาก็ทำกัน จะขายได้สักเท่าไหร่เชียว แต่ยายก็บอกว่าเราไม่ได้ขายให้คนในชุมชนน่ะ เพราะพอหลานมาช่วย เขาก็ทำเพจเฟซบุ๊คและมีหน้าร้านใน Shopee ช่วงปี…
“ในส่วนของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน พวกเรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 5 การประเมินและพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนปากพูน ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าโครงการให้ไปสอบถามชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนประสบปัญหาเรื่องใด และต้องการให้โครงการวิจัยมาหนุนเสริมเรื่องใดเป็นพิเศษเราทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน โดยได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 21-60 ปี เกือบ 400 คน พร้อมไปกับการจัดเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในภาพรวมเราพบว่าชาวปากพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในแง่มุมด้านสุขภาพ การทำงาน และสัมพันธภาพ ยังอยู่ในระดับปานกลาง…
“ก่อนที่ อบต.ปากพูนจะได้รับการยกระดับเป็นเทศบาลเมืองปากพูน ช่วงปี 2542-2543 ผมได้ทำฐานข้อมูลประชากรชาวปากพูน ที่รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รายได้ ไปจนถึงข้อมูลสุขภาพเก็บไว้ เพราะคิดว่าถ้าอยากทำให้เมืองมีการพัฒนาไปพร้อมกับบรรยากาศของการเรียนรู้ การทำความเข้าใจต้นทุนและศักยภาพของตำบล ซึ่งในที่นี้หมายถึงการรู้จักชาวบ้านทุกคน เป็นเรื่องสำคัญพอได้ข้อมูลพื้นฐานตรงนี้ ผมก็ชักชวนบุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ สมมุติว่าเป็นชาวประมง ผมก็ขีดกลมๆ กลุ่มประมงไว้ เรารู้จักเขา และก็สร้างกิจกรรมให้เขาได้รู้จักผู้ประกอบการด้วยกันเอง มีกี่กลุ่มก็ทำแบบนั้น กลุ่มใบกระท่อม…
“ผมเป็นคนหมู่ 4 ตำบลปากพูน เรียนจบมัธยมต้นที่โรงเรียนปากพูน และย้ายไปเรียนต่อที่อื่น จนกลับมาบรรจุเป็นครูสอนวิชาเคมีที่โรงเรียนเดิม สาเหตุที่เลือกกลับมาทำงานที่นี่ ข้อแรกคือผมต้องกลับมาดูแลครอบครัว และข้อที่สอง คือผมเห็นโอกาสที่มีในบ้านเกิดแห่งนี้ ปากพูนเป็นตำบลที่ผู้คนมีทรัพยากรเยอะมากนะครับ ประมงอุดมสมบูรณ์ ส่วนชาวสวนส่วนใหญ่ก็มีที่ดินทำกินค่อนข้างมาก อาจจะเพราะความที่อะไรก็สมบูรณ์อยู่แล้วด้วย ชาวบ้านจึงไม่ได้คิดขวนขวายกับการพัฒนาอาชีพเท่าไหร่ อย่างถ้าคุณทำสวนมะพร้าว ถึงเวลาก็จะมีล้งมารับซื้อไป บางช่วงเขาไม่มารับ คุณขายไม่ได้ ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก…
“พวกเรารู้จักกันเพราะความสนใจในหนังตะลุง บางคนรู้จักเพราะเป็นเพื่อนร่วมคณะ แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักจากการประกวดการแสดงหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งจะจัดขึ้นในงานบุญเดือนสิบของทุกปี จนนำมาสู่การร่วมชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของมหาวิทยาลัย หนังตะลุงอยู่ในวิถีชีวิตของคนใต้ ทั้งในงานเทศกาล งานบุญ งานรื่นเริง หรือกระทั่งงานศพ เราเรียกคนเชิดและพากย์หนังว่านายหนัง โดยในแต่ละคณะจะต้องมีนายหนังแค่คนเดียว มีตัวละครให้เชิดกี่ตัวก็ว่าไป นายหนังจะต้องรับบทในการเล่าเรื่องและพากย์เสียงพูดคุยให้ตัวละครทั้งหมด นายหนังที่เก่งจะแยกบุคลิกตัวละครแต่ละตัวออกมาอย่างชัดเจน และทำให้ผู้คนติดตามเรื่องราวด้วยความสนุกสนานจนจบ เราหลายคนในกลุ่มอยากเป็นนายหนังเพราะมีโอกาสได้ดูนายหนังเก่งๆ เชิดหุ่น หรือเราบางคนก็มีความสนใจอยู่ในสายเลือด เพราะเป็นลูกหลานของศิลปินหนังตะลุงอยู่แล้ว…
“พื้นเพครอบครัวผมทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลในตำบลปากพูน และส่งขายให้พ่อค้าคนกลางในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้ ผมไม่ได้มีความคิดจะกลับมาทำตรงนี้เลย ผมจบมาทางด้านการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทำงานบริษัทอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร กระทั่งภรรยาผมเสียชีวิต เหลือผมกับลูก จึงตัดสินใจลาออก กลับมาช่วยธุรกิจที่บ้าน เพราะจะได้มีคนช่วยเลี้ยงลูก และเตี่ยก็อยากให้ผมกลับมาสานต่อธุรกิจอยู่แล้วด้วย หลังจากทำงานที่บ้านได้ไม่นาน ผมก็พบปัญหาว่าหากมีช่วงเวลาไหนที่ปูล้นตลาด พ่อค้าคนกลางจะไม่รับซื้อปูจากฟาร์มผมและชาวบ้านคนอื่นๆ พวกเราเลยไม่มีรายได้ ก็ปรึกษากับเตี่ยว่า เอางี้ไหม ผมเคยทำงานที่มหาชัยและพอรู้ว่าที่นั่นมีแหล่งรับซื้อปู เราน่าจะไปขายเขาได้ เลยตัดสินใจแพ็คปูใส่กล่องขึ้นรถทัวร์ไปหาคนรับซื้อเอง…
“ความที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลปากพูนเป็นดินตะกอนที่เกิดจากการทับถมของทะเล ดินที่นี่จึงมีความเค็มเป็นที่โปรดปรานของต้นมะพร้าว พืชดั้งเดิมในพื้นที่ นั่นทำให้วิถีชีวิตของชาวปากพูนเกี่ยวข้องกับสวนมะพร้าวจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นที่รู้กันว่าถ้านึกถึงมะพร้าวคุณภาพดี คนนครก็จะนึกถึงเมืองปากพูน ชาวปากพูนมีภูมิปัญญาในการสร้างรายได้จากมะพร้าวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ปลูกมะพร้าวขายเป็นลูก น้ำมะพร้าว กะทิ น้ำตาลมะพร้าว ไปจนถึงเอาก้านมาทำเครื่องจักสาน สถานะของการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ในตำบลปากพูนจึงมีความชัดเจนมาก ทางทีมวิจัยจึงเห็นว่าหากเรานำงานวิชาการเข้าไปเสริมและสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ขึ้น ก็น่าจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และเศรษฐกิจในชุมชนได้มาก เราจึงทำโครงการ ‘พร้าวผูกเกลอ’ ขึ้น…
“สมัยที่นครศรีธรรมราชยังไม่มีร้านหนังสือที่เป็นเชนสโตร์ตามศูนย์การค้า คนนครส่วนใหญ่จะไปหาซื้อหนังสือที่ร้าน ‘สวนหนังสือนาคร-บวรรัตน์’ ตรงสี่แยกท่าวัง ใจกลางเมือง ที่นี่เป็นร้านหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนและนักอ่านรวมถึงผมอย่างมากร้านหนังสือร้านนี้เป็นของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช คุณหมอที่มีงานอดิเรกเป็นนักเขียน ซึ่งทางร้านก็มักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเชิญนักเขียนที่มีชื่อเสียงมาบรรยายหรือพบปะผู้อ่าน และนั่นมีส่วนทำให้เมืองนครและอีกหลายเมืองในภาคใต้เกิดกลุ่มหรือชุมนุมวรรณกรรมขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มนาครในยุคที่ กนกพงศ์ สงสมพันธ์ (นักเขียนวรรณกรรมซีไรท์ปี พ.ศ. 2539 - ผู้เรียบเรียง) ยังมีชีวิตอยู่…
“พอฟองสบู่แตกปี 2540 บริษัทที่ผมทำงานประจำก็ปิดตัวลง ผมเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่เปิดท้ายนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาขายจนเกิดเป็นตลาดนัด แต่หลังจากสู้อยู่สักพัก ปี 2542 ผมตัดสินใจพาครอบครัวย้ายกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดที่นครศรีธรรมราช และยึดอาชีพเขียนบทความและเรื่องสั้นมาตั้งแต่นั้น เพราะทำงานอยู่กรุงเทพฯ หลายปี เมื่อได้กลับมานครใหม่ๆ ผมพบว่าจังหวะของเมืองเชื่องช้าจนน่าตกใจ เมืองยังมีความเป็นชนบทและผู้คนอยู่กันสบายๆ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่งไปไหน และไม่มีบรรยากาศของการแข่งขัน แม้จะเป็นเรื่องดีต่ออาชีพนักเขียน แต่ตอนมาอยู่ใหม่ๆ ผมก็ใช้เวลาปรับตัวอยู่พอสมควรเหมือนกัน…