“พื้นเพผมเป็นคนกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี มาอยู่นครศรีธรรมราชเพราะมาเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม เมื่อก่อนอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน พอจบมาใหม่ๆ ก็ไปอยู่กับพี่ดิเรก สีแก้วพี่ดิเรกค่อนข้างมีอิทธิพลกับผม เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ผมออกจากงานร้านป้ายไปรับงานเขียนรูปเหมือนอยู่เกาะสมุย พอมีโอกาสได้พบปะแกบ้าง เห็นว่าแกหันมาเขียนบทกวี ผมก็สนใจการอ่านการเขียนตามแกไปด้วย จนมีรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์เป็นของตัวเองเล่มแรก (‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’, รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2554 - ผู้เรียบเรียง) หลังจากหันมาเขียนหนังสือเป็นหลักอยู่ 3-4…
“ผมเกิดและโตที่บ้านปากพูนใต้ จำความได้ก็ลงเรือหาปลาแล้ว เลี้ยงชีพด้วยการทำประมงมาทั้งชีวิต ออกเรือทุกวัน จะหยุดเฉพาะวันที่ป่วยหรือมีธุระ บางวันหาปลาได้มากก็จะฝากลูกสาวไปขายในตลาดได้เงินเยอะ แต่วันไหนโชคไม่ดี หาได้ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีปลาที่หามาได้ไว้กินจนมาช่วงปีหลังมานี้ ที่ทางชุมชนมีกิจกรรมล่องเรืออุโมงค์ป่าโกงกาง ผมก็ได้อาชีพเสริมใหม่เป็นคนขับเรือให้นักท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ โดยจะเริ่มจากท่าเรือใกล้ๆ ตลาดท่าแพ ล่องไปในคลองท่าแพผ่านหมู่บ้านปากพูนใต้ ผมจะชี้ให้นักท่องเที่ยวดูสองข้างทางว่ามีอะไร โดยเฉพาะมัสยิดดารุ้ลนาอีม (บ้านปากพูนใต้) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ผมไปทำละหมาดประจำ จากนั้นเรือก็จะเข้าอุโมงค์ป่าโกงกาง จนออกปากอ่าวปากพูน…
“พวกเรามีทั้งลูกหลานชาวปากพูนดั้งเดิม อีกส่วนเป็นคนมุสลิม และลูกหลานคนเพชรบุรีที่อพยพมา เป็นชาวประมงเหมือนกัน แต่ก็มีวิถีที่แตกต่างกันเล็กน้อยอย่างถ้าเป็นลูกหลานคนเพชรจะมีเครื่องมือจับปลาอีกแบบที่เรียกว่า ‘หมรัม’ เอาท่อนไม้มาร้อยต่อกันและล้อมเป็นทรงกลม ล่อให้ปลาเข้ามากินอาหาร และเราก็ขึ้นปลาจากหมรัมได้เลย ส่วนถ้าเป็นคนปากพูนแต่เดิมเลยก็จะใช้อวน ใช้ไซ รวมถึงโพงพาง ซึ่งอย่างหลังนี้เราเลิกใช้ไปแล้วเพราะผิดกฎหมาย เมื่อก่อนคนปากพูนก็ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกันแหละครับ โพงพาง ไซตัวหนอน ไอ้โง่ หรือลากตะแกรง ก็จับปลากันได้เยอะ แต่เพราะเครื่องมือพวกนี้มันจับปลาได้หมด…
ในเชิงกายภาพ ถ้าเป็นมุมมองของคนในพื้นที่ เหมือนเป็นการเกิดใหม่ของสิ่งเรียนรู้ ที่เขาอาจจะมองว่ามันก็เป็นอยู่แล้ว แต่เราทำภาพให้ชัดเจนขึ้น ลงไปขยี้ให้เห็นคุณค่ามากขึ้น ในปทุมธานีมีวิสาหกิจชุมชนเยอะมากที่อยู่ในแต่ละเทศบาล เครือข่ายที่อยู่กับเทศบาลก็เยอะ เพียงแต่เขาไม่รู้ว่าจะวิ่งไปไหน แล้วจะมารวมตัวอะไรกันยังไง มหาวิทยาลัยเองอาจมีบทบาทเป็นตัวกลางเข้ามาประสาน เข้ามาขอความร่วมมือ มันไม่ใช่แค่โครงการนี้เสร็จแล้วจบ มันอาจต่อยอดมาเป็นบริการวิชาการ อย่างหน่วยงานที่เป็นของเทศบาลเองอยากพัฒนาอะไร เขาก็เริ่มตระหนักแล้วว่า เขาจะทำพื้นที่ตรงนี้นะ แล้ววิสัยทัศน์เขาอยากได้แบบนี้ เขาอยากจะไปให้ได้เหมือนเรา อาจารย์มาช่วยหน่อย…
“โจทย์ของโครงการออกแบบแนวคิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ที่อาจารย์ให้ทำในรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม 4 แตกต่างจากโจทย์อื่น ๆ ที่ปกติอาจารย์กำหนดมาเลยว่าให้ออกแบบอะไร ? ใช้งานยังไง ? ซึ่งก็อยู่ที่เราจะออกแบบมาด้วยคอนเสปต์แบบไหน ? ทุกอย่างเราคิดไปเองว่าคนใช้งานอยากได้แบบนี้ตามที่เราคิดว่าจะดี แต่โจทย์นี้ทำให้เราได้ประสบการณ์จริง ได้มุมมองหลายมิติขึ้น คืออาจารย์ก็จับกลุ่มให้ 8 คน 10 กลุ่ม แบ่งตาม…
“คนในชุมชนเขาเรียกเรา อาโกว ก็เป็นลูกหลานชาวจีนที่อพยพมาอยู่ริมคลองรังสิต เมื่อก่อนเราเปิดร้านขายวัสดุ คือเป็นกงสีเนอะ มีสองร้าน อยู่คลองฝั่งตำบลประชาธิปัตย์ร้านนึง ตรงนี้ฝั่งบึงยี่โถอีกร้านนึง พอน้องชายเขาแยกครอบครัวไปตอนปี 2559 ร้านบึงยี่โถที่อาโกวดูแลก็ยุบ เราก็ได้มีเวลามาทำสวน มาดูแลศาลเจ้า (ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า รังสิตคลอง 3) คือที่แปลงนี้เขาบอกขาย อาโกวก็ขออธิษฐานจิตกับท่าน บอกถ้าได้เป็นเจ้าของที่แปลงนี้จะมาเก็บขี้หมามากวาดใบไม้ แล้วก็ได้…
“คนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยขุดคลองรัชกาลที่ 5 ทุกคลองก็สร้างศาลเจ้าเป็นศูนย์รวม ศาลเจ้าคลอง 12 ที่นี่ร้อยปีขึ้น รุ่นพ่อมีแล้ว ผมเป็นรุ่นที่ 2 ตอนนี้อายุเจ็ดสิบกว่า เกิดมาก็เห็นแล้ว แต่เดิมเป็นศาลเจ้าไม้ เป็นสังกะสี เขาก็พัฒนามาเรื่อย เราเป็นคนดูแลศาลเจ้า มาเก็บมากวาด ใครมาไหว้เราก็ดูเขาขาดเหลืออะไร ตรงนี้ปักธูปกี่ดอกเราก็บอกเขา เวลาไปศาลเจ้าที่ไหนต้องไหว้ฟ้าดินด้านหน้าศาลเจ้าก่อน เขาใหญ่สุด…
“เราเป็นมัคคุเทศก์อิสระ ส่วนมากพาเที่ยวตามแหล่งชุมชนในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ แต่พอเกิดสถานการณ์โควิดก็เลยไม่ได้ทำ เราต้องปรับตัว ก็มาคิดว่า ไม่เคยพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวบ้านเลย บ้านเราเองแท้ ๆ ทีนี้เรารู้ว่าทุกปีจะมีการแข่งขันเขียนโปรแกรมการท่องเที่ยว ปีที่แล้วเลยเขียนส่งไป 2 โปรแกรมเป็นเส้นทางท่องเที่ยวและนวัตกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเรานำเสนอนวัตกรรมท่องเที่ยวคือ “ไม้กวาดรักษ์โลก” ที่ชุมชนเราผลิตเองจากของรีไซเคิลในชุมชน และสามารถเอาไปใช้ได้กับทุกสถานที่ในเส้นทางท่องเที่ยวที่เราจัดทำ ก็ได้รางวัลติด 1 ใน 20…
“หลวงปู่ไต่ฮงกง ท่านเป็นพระ ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก เก็บศพไร้ญาติ สร้างถนนหนทางสะพาน จนสำเร็จเป็นพระที่ชาวจีนนับถือมาก องค์เดียวกับที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศาลเจ้าไต่ฮงกงรังสิตอัญเชิญท่านมาประดิษฐาน รวมถึงเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์อย่างจี้กง เจ้าพ่อกวนอู เทพไท้ส่วยเอี๊ยที่มาแก้ปีชง หลวงพ่อโสธร คนก็มาไหว้เพราะศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าเมื่อก่อนเล็ก ๆ คนมีจิตศรัทธาบริจาคก็พัฒนาสร้างไปเรื่อย ๆ จนมาจดทะเบียนจากสมาคมเป็นมูลนิธิรวมใจรังสิตปทุมธานี (ไต่ฮงกงรังสิต) ช่วยเหลือคนในตำบล…
“พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้รับพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ฯ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับบริจาคสิ่งของหลายพันชิ้นจากศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ดร.วินิจ วินิจนัยภาค และภรรยา คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค จึงมอบหมายให้คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นผู้ดูแล เพราะสิ่งของที่ได้รับมีตั้งแต่ฟอสซิลหลายล้านปีจนถึงงานวัตถุทางชาติพันธุ์ อาจจะไม่ได้พิเศษ แต่มีของหลากหลาย มีที่มา มีเรื่องเล่า ซึ่งสาขามานุษยวิทยามีการเรียนการสอนเรื่องโบราณคดี ชาติพันธุ์ มรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ศึกษา…