“ผมเป็นเกษตรกรโดยตรงเลย ทำสวนส้มมาก่อน แถวนี้เดิมก็สวนส้มทั้งนั้น พอไม่ค่อยดีก็ต้องแปลงอาชีพแล้วล่ะ ก็มาขายไม้ใบ ไม้ป่า พวกต้นสาละ แล้วก็ทำไม้ดัด (ไม้ประดับตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่ดัดด้วยโครงเหล็ก) ขายควบคู่ ทำหลายอย่าง อันไหนเวิร์กสุดก็ทำอันนั้น ที่มาทำพืชเศรษฐกิจไม้ดัดกับไม้ต่อยอดก็ตามเพื่อน ตอนนั้นก็มีไม่กี่สวน เห็นต้นไทรเขาทิ้ง ต้นไทรไม่อยากให้ปลูกในบ้าน ชาวบ้านไม่เอา ก็ไปขอเขา…
“ผมเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี เพราะเห็นจากเฟซบุ๊กเพจเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ผมว่าน่าสนใจ แล้วตอนนั้นผมมีการบ้านของอาจารย์ที่ให้ไปถ่ายรูปทำโฟโต้บุ๊ก ก็เลยทำพ่วงกัน ผมออกไปหามุมถ่ายรูป ไปคลอง 3 คลอง 6 แต่วันนั้นไปถ่ายแล้วก็ยังไม่ได้ภาพถูกใจ พอกลับมาหน้ามอ (มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คลอง 3) ตอนประมาณหกโมงเย็น แสงอาทิตย์กำลังตก สวยดี…
“งานพัฒนาชุมชนทำงานอิงกับนโยบายหลักของกรมการพัฒนาชุมชน แต่ละช่วงกรมจัดสรรเรื่องอะไร พัฒนาชุมชนเมือง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพ กลุ่มโอทอปชุมชน งานหลากหลายแล้วแต่เขากำหนดให้ ต้องทำงานประสานกับหลายส่วนหลายหน่วยงาน เราเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลบึงยี่โถ ก็ทำผลงานไปตามกำลังความสามารถจนได้รับรางวัลอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด เราเป็นคนมีความรู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับชาวบ้านเยอะ แต่งานอาสาเป็นงานที่ต้องมีเงิน มีเวลา ต้องทุ่มเท แต่ก็ต้องไม่เบียดบังเวลาชีวิตตัวเองด้วย คนที่มาทำก็จะเป็นคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ สูงอายุบ้าง คนวัยกลางคนก็จะทำธุรกิจส่วนตัวเพราะเขาจัดสรรเวลามาได้ พื้นที่อำเภอธัญบุรีโดดเด่น จะพูดไปก็อยู่ที่งบบริหาร…
"ชุมชนเราเป็นชุมชนเมือง มีขยะประเภทรีไซเคิลเยอะ ป้าก็เป็นแกนนำตั้งกลุ่มจิตอาสารักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเอื้ออาทร 10/2 คลอง 10 เมื่อปี 2558 จากนั้นก็ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนถูกต้อง พัฒนาขยะรีไซเคิล ทำผลิตภัณฑ์ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ของเราก็จะมีน้ำยาล้างจานที่ทำจาก EM (Effective Microorganisms กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีประโยชน์ต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม)…
“ปีแรกบีจะลงพื้นที่กับอาจารย์เอ (รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์) เป็นหลักก่อน ไปสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาว่าเรากำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเราทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ ส่วนน้องๆ คนอื่นๆ จะเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแยกกันไป จะทำพวกสืบค้นงานวิจัย งานสถิติ ประสานงาน หรือทำเอกสารเราไม่รู้จักกันมาก่อน มาเจอกันที่นี่ ทุกคนมีพื้นเพต่างกัน บีเรียนรัฐศาสตร์ ต้องตาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนแตงกวาและเนสเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม…
“กว๊านพะเยากับการทำปลาส้มคือสองสิ่งที่แม่คุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด กว๊านนี้เพิ่งมาสมัยพ่อแม่ของแม่ ส่วนปลาส้มนี่ทำขายกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตอนเด็กๆ แม่ยังเคยรับจ้างขอดเกล็ดปลาจีน ควักไส้และขี้ออกมา และทุบปลาทั้งตัวเพื่อเอาไปทำปลาส้ม ได้ค่าจ้างวันละหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ นี่เป็นทักษะที่ได้มาตั้งแต่เล็ก พอโตมาแม่ก็ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ทำปลาส้มขายอย่างเดียว นี่ก็ 40 กว่าปีแล้ว เริ่มจากชำแหละปลาก่อน แยกก้าง หัว หาง และไข่ออก เอาเฉพาะเนื้อ…
“ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผมมีโอกาสลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และพบโรงเรียนที่ถูกปิดและทิ้งร้างหลายแห่ง บางแห่งยังมีอาคารที่มีสภาพดีอยู่เลย จึงนึกเสียดายที่จังหวัดเรามีสถานที่ที่มีศักยภาพหลายแห่ง แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน และระหว่างสำรวจความต้องการของประชาชน ผมพบว่าเมืองของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง. การจัดสรรอำนาจและงบประมาณที่มักกระจุกตัวอยู่ในตัวเมือง พื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่ได้รับการพัฒนา บางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ต้องพูดถึงเด็กๆ ที่ไม่เคยได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ และสอง. ในเชิงสังคม ทั้งในแง่ที่เมืองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย…
“พี่เริ่มรวมกลุ่มก่อนโควิดมาหลายปีแล้ว ตอนนั้นทางเทศบาลเมืองพะเยาเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านและคนวัยเกษียณที่อยู่บ้านเฉยๆ ในชุมชน ก็รวมกลุ่มกันได้สามสิบกว่าคนมาคุยกันว่าอยากทำอะไร แล้วสรุปได้ว่าเป็นงานกระเป๋าที่ทำจากผ้า พวกกระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าสตางค์ รวมถึงงานผ้าอื่นๆ เพราะทุกคนสามารถทำเองได้จากที่บ้านช่วงแรกๆ ก็ได้เทศบาลนี่แหละที่หาตลาดให้ เพราะเขาจะมีเทศกาลหรือพวกงานออกร้านสินค้าจากชุมชนอยู่บ่อยๆ หรือเวลาข้าราชการจากองค์กรไหนท่านเกษียณ เขาก็ออร์เดอร์ให้ทางกลุ่มทำกระเป๋าเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็สร้างรายได้ให้ทางกลุ่มให้ทุกคนพออยู่ได้ แต่พอโควิดเข้ามา งานจัดไม่ได้ เราก็ขายกระเป๋ากันไม่ได้ ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยหยุดไปพักหนึ่งมาจน อาจารย์เอ…
“นักท่องเที่ยวมักถามผมว่าทำไมจึงมีบ่อน้ำผุดขึ้นมาในกว๊าน ก็ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งน้ำทำไมยังมีบ่อน้ำอยู่ (หัวเราะ) คือกระทั่งคนพะเยาเองบางคนก็อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อ 80 กว่าปีก่อน พื้นที่กว๊านตรงนี้ทั้งหมดเคยเป็นหมู่บ้าน คนที่อยู่ทันเห็นสภาพเดิมส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว บ่อน้ำตรงนั้นจึงเป็นอนุสรณ์ให้เรายังจำได้อยู่ว่าเมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นอะไรผมเป็นคนตำบลบ้านตุ่น ตรงท่าเรือโบราณบ้านทุ่งกิ่ว เมื่อก่อนพ่อผมเป็นทหารรับใช้จอมพล ผิน ชุณหะวัน ที่กรุงเทพฯ แกย้ายมาอยู่พะเยาช่วงสงครามโลก สมัยนั้นพะเยายังมีถนนไม่ทั่วถึง การจะเดินทางไปโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตตัวเมือง คือต้องนั่งเรือข้ามกว๊านไป ผมจำได้ว่าค่าเรือรอบหนึ่งแค่ 50…
“พี่กับสามีเริ่มทำสวนนนดาปี 2548 เนื่องจากเราเป็นข้าราชการทั้งคู่ ก็เลยจะมีเวลาทำสวนแห่งนี้เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ จึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนวันหยุด ทำไปได้สักพัก สามีพี่ตัดสินใจลาออกจากราชการมาทำสวนเต็มตัว ส่วนพี่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2565 นี้เอง เราทำเกษตรปลอดสารและสวนสมุนไพร เพราะเห็นว่าสองสิ่งนี้คือขุมสมบัติดีๆ นี่เอง ไม่ได้หมายถึงว่าสวนนี้เป็นแหล่งธุรกิจจริงจังอะไร แต่ทั้งราก ทั้งใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก เราสามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้หมด จึงมองว่านี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด…