Citizen

ถ้าเมืองเราดี หรือมีพื้นที่ที่ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกมีความหวัง พวกเขาจะกลับมาเอง

“ผมเคยเป็นผู้จัดการร้านเหล้าที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นงานที่ทำระหว่างเรียนปริญญาตรีจนกระทั่งเรียนจบ จากนั้นก็ไปลองใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างที่แอลเอ ราว 2 ปี ก่อนกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่อีกสักพัก แล้วกลับมาอยู่บ้านที่พะเยาก็ได้รู้จักอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา อาจารย์โป้งเป็นอีกคนที่ทดลองใช้ชีวิตมาหลายที่ก่อนจะมาปักหลักที่พะเยา ผมกับอาจารย์โป้งเห็นตรงกันว่าพะเยายังขาดพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เราจึงร่วมหุ้นกันเปิด Junk Yard เป็นทั้งบาร์และอาร์ทสเปซ มีกิจกรรมฉายหนัง แสดงงานศิลปะ และดีเจ นั่นคือเมื่อเกือบ…

2 years ago

ลำปางเป็นเมืองที่มีศักยภาพ มีกลุ่มคนที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมเพื่อเมืองไม่น้อย แต่กลับไม่มีพื้นที่ของกิจกรรมร่วมสมัยเพื่อรองรับคนรุ่นใหม่เท่าที่ควร

“สมัยปู่ผมเป็นหนุ่ม แกซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ที่ติดแม่น้ำวังในชุมชนบ้านต้าไว้ และก็ปล่อยให้มันเป็นป่ารกมาอย่างนั้นมาหลายปี มีเหตุการณ์หนึ่งที่จุดประกายสู่อาชีพของผมทุกวันนี้ คือความที่พ่อผมเอาป้ายคำว่ายินดีต้อนรับมาติดไว้ตรงรั้วของที่ดินนั้น แล้วมีคนจากตัวเมืองลำปางขับรถมาถามพ่อว่าร้านอาหารเราเปิดหรือยัง พ่อก็บอกเราไม่ได้ทำร้าน ตรงนั้นเป็นแค่ที่ดินรก ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ส่วนแฟนทำงานนิตยสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เราก็คุยกันว่าจริงๆ ที่ดินตรงนั้นมันมีศักยภาพนะ ขนาดร้าง คนยังเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเลย ก็ประจวบเหมาะกับที่ผมรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมา 8 ปีแล้วด้วย ก็เลยบอกกับแฟนว่างั้นเรากลับลำปาง…

2 years ago

พนักงานเสิร์ฟทุกคนเป็นนักเรียนนักศึกษาพาร์ทไทม์ มีตั้งแต่มอสี่ ปวช. ปวส. ไปจนถึงจบปริญญา

“พื้นเพเราเป็นคนอุทัยธานี ส่วนสามีเป็นคนลำปางที่โตมาในกาดกองต้า ความที่เราทั้งคู่ชอบกินของอร่อยๆ เหมือนกัน เลยตัดสินใจเช่าอาคารในย่านกาดกองต้าเปิดร้านเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน โดยตอนแรกทำในรูปแบบธุรกิจโต๊ะจีน พอขายได้อยู่ แต่ดันมาเจอช่วงฟองสบู่แตกช่วงปี 2540 ร้านเลยโดนกระทบหนัก จึงเปลี่ยนรูปแบบมาขายอาหารที่ราคาย่อมเยาลง เราใช้ตำรับอาหารและทรัพยากรเดิมเลย แต่ปรับเมนูและระดับราคาให้ขายง่ายขึ้น โดยใช้ชื่อร้านว่า ‘อร่อยบาทเดียว’ ขายข้าวต้มถ้วยละบาท รองรับลูกค้าทุกระดับ ธุรกิจตอนแรกยังทรงๆ เพราะตอนนั้นเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ก็กัดฟันสู้อยู่หลายปี…

2 years ago

นอกจากบทบาทด้านประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว สถานีรถไฟลำปางยังเชื่อมโยงกับเมืองในด้านสังคมด้วย

“สถานีรถไฟลำปางสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเมืองในอดีต เพราะในยุคสมัยนั้นลำปางมีธนาคารแห่งชาติ มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ธุรกิจอะไรต่างๆ ก็มาเปิดกันที่นี่ โดยมีสถานีรถไฟแห่งนี้เหมือนเป็นประตูเชื่อม เพราะนอกจากการขนส่งผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ รถไฟยังใช้ขนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ พืชผักผลไม้ ยาสูบ ไปจนถึงเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรจากกรุงเทพฯ ส่งมายังธนาคารแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ทหารก็ใช้รถไฟขนยุทโธปกรณ์ กระทั่งรถถังก็ยังเคยขึ้นรถไฟมาแล้ว…

2 years ago

ช่วงปี 2560 ผมมีอาการเส้นเลือดในสมองแตก ร่างกายครึ่งซีกขยับไม่ได้ ลูกชายใช้เจ้าจูมงที่เป็นม้าที่คุ้นเคยกับผมมากที่สุดมาเป็นหมอทำอาชาบำบัด

“ตอนหนุ่มๆ ผมเป็นช่างกลึงในอู่ซ่อมรถ แต่มีความฝันมาตลอดว่าอยากขับรถม้า พอเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งเลยซื้อม้ามาเลี้ยงก่อน จำได้ว่าซื้อมาตัวละ 900 บาท สมัยสัก 50 ปีก่อน ลำปางยังมีรถไม่เยอะ เลยมีคนเอาม้ามาขี่เล่นกลางถนน ผมก็เอามาขี่เล่นด้วย ทำความคุ้นเคยกับมันไป จากนั้นก็ไปเรียนวิธีการขับรถม้าจากคนที่ขับมาก่อน จนลูกชายขึ้น ม.1 ผมจึงตัดสินใจลาออก แล้วหันมาขับรถม้าเต็มตัว สมัยนั้นรถม้าในลำปางเป็นที่นิยมมาก…

2 years ago

จุดประสงค์ของ We Market คือการได้รวมตัวของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การสร้างเครือข่ายให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และวัตถุดิบ

“ผมเริ่มตลาด We Market เมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากการที่ได้รู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้าน ก็คุยกันว่าเราน่าจะมีช่องทางในการทำมาหากินมากขึ้นด้วยการทำตลาดที่จำหน่ายอาหารปลอดภัย ต้นไม้ และผลิตภัณฑ์ที่มีความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ตอนแรกคิดถึงการของบประมาณจากหน่วยงานรัฐต่างๆ มาทำ เพราะผมก็เคยทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน แต่มาคิดดูแล้วว่าถ้าเราของบเขามาทำ คนให้งบเขาก็คาดหวังในภาพของเขา ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนกว่าภาพของเรา สุดท้ายก็ลงมือทำกันเอง เพราะผมก็มีทักษะด้านการทำสื่อวิดีโอและสื่อออนไลน์ด้วย ก็มีต้นทุนในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อยู่พอสมควร เราเปิดตลาดที่แรกหลังโรงเรียนอนุบาลลำปาง…

2 years ago

สิ่งที่ควรส่งเสริมให้คนลำปางเรียนรู้เป็นพิเศษ คือการเรียนรู้ที่จะร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

“ลำปางเป็นเมืองที่มีต้นทุนที่ดีเลยนะครับ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงความร่วมมือในด้านวิชาการ และภาคประชาสังคมที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเมืองมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ผมมองว่าพอต้นทุนเหล่านี้มันไม่ได้ถูกเชื่อมประสานร่วมกัน เมืองมันจึงค่อนข้างเดินช้ากว่าที่ควรจะเป็น เช่นว่าพอรัฐโปรโมทให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว แต่เรากลับยังขาดโครงสร้างพื้นฐานมารองรับหรือกระทั่งการสื่อสารวิธีการท่องเที่ยวในเมืองเราก็ยังไม่มี คือถ้านักท่องเที่ยวไม่ได้ขับรถส่วนตัวมาเอง เขานั่งเครื่องบิน รถทัวร์ หรือรถไฟมา ถ้าไม่ใช่รถสองแถวที่วิ่งประจำ หรือมีเบอร์รถแท็กซี่ส่วนบุคคลที่มีค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว เขาก็ไม่มีทางเลือกอื่นเลย หรือถ้าเขาจะไปวัดพระธาตุลำปางหลวง หรือวัดเฉลิมพระเกียรติที่อยู่อำเภอแจ้ห่ม…

2 years ago

เสน่ห์ของลำปางคือความเรียบง่าย ไม่แฟนซี แต่ขณะเดียวกันก็มีทุกอย่างที่ตอบโจทย์ชีวิต

“ผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ​ แต่ก็เหมือนคนกรุงเทพฯ หลายคนที่อยากหนีจากชีวิตวุ่นวายในเมืองใหญ่ เลยตัดสินใจย้ายมาเปิดร้านกาแฟที่เชียงใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่พออยู่ๆ ไป ก็รู้สึกว่าเชียงใหม่ไม่ตอบโจทย์ คือแค่ไม่มีตึกสูง เชียงใหม่ก็รถติดไม่ต่างจากกรุงเทพฯ แถมเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ของผมก็ล้วนเป็นคนกรุงเทพที่มาทำธุรกิจ หรือไม่ก็ชาวต่างชาติหมด รู้สึกเหมือนหนีชีวิตมาเพื่อเจอกับชีวิตแบบเดิมแค่เปลี่ยนสถานที่ไปเท่านั้นเอง จนมีอยู่วันหนึ่ง ราว 7 ปีที่แล้ว ผมตามแฟนที่เป็นทนายความมาว่าความที่จังหวัดแพร่ เราตัดสินใจแวะค้างคืนที่ลำปาง พอเช้าวันถัดมา เราพบว่าเราหากาแฟดื่มไม่ได้เลย…

2 years ago

จุดแข็งของชุมชนท่ามะโอ นอกจากต้นทุนทางประวัติศาสตร์ คือการที่มีคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการ กลุ่มคนทำงานด้านสื่อมาร่วมกันขับเคลื่อน

“ถ้าพิจารณาจากความเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของเมือง ท่ามะโอถือเป็นชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่และร่มรื่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศเลยนะครับ หลายคนจดจำที่นี่ในฐานะที่ตั้งขององค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสัมปทานค้าไม้กับอังกฤษ รวมถึงที่ตั้งของบ้านไม้สักสวยๆ มากมาย แต่ในอีกมุม ที่นี่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่เป็นจุดเชื่อม 3 เมืองโบราณสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ซึ่งก็ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคก่อตั้งเขลางค์นครนั่นเลย โดยโบราณสถานหลายแห่งก็ตั้งอยู่ท่ามกลางบ้านไม้เก่าแก่ในยุคสัมปทานค้าไม้อย่างกลมกลืนและมีเสน่ห์ ชื่อเต็มของโครงการที่ผมรับผิดชอบคือ ‘โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ’ ซึ่งเริ่มจากการสำรวจข้อมูลจากชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อสกัดภูมิวัฒนธรรมของย่าน…

2 years ago

การเริ่มต้นจากการสร้างความร่วมมือเพื่อปลุกพื้นที่เรียนรู้ในย่านเล็กๆ แต่มีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์

“เราเป็นคนย่านสบตุ๋ย ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่เราทำงานอยู่ก็ตั้งอยู่ย่านนี้ พอได้รับโจทย์งานวิจัยเรื่องพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในย่านสบตุ๋ย ทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพราะเราเป็นลูกหลานที่คุ้นเคยกับคนในย่าน แต่โครงการนี้ก็มีส่วนในการกลับมาเรียนรู้บ้านเกิดของเราในเชิงลึก อันมีส่วนในการพัฒนาเมืองในภาพรวมด้วย สบตุ๋ยเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่เคยเป็นศูนย์กลางของเมืองลำปาง พร้อมกับการมาถึงของรถไฟเมื่อศตวรรษก่อน ทำให้ความเจริญทุกอย่างมารวมกันอยู่ในย่านนี้ โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งรกรากและทำธุรกิจของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน อันทำให้เกิดสถาปัตยกรรม ร้านรวง และร้านอาหารที่มีตำรับเก่าแก่มากมายส่งผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ และก็เพราะมรดกทางภูมิปัญญาหลากหลายในอดีต ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทีมวิจัยของเราจึงเห็นตรงกันว่าสบตุ๋ยไม่ต่างอะไรกับ ‘พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต’ พื้นที่เก่าแก่ที่ผู้คนร่วมสมัยยังคงใช้ชีวิต โดยหาได้ปรับเปลี่ยนวิถีอะไรจากรากเหง้าเดิมนัก…

2 years ago