Learning Cities

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาเมือง’           WeCitizens ฉบับเสียงขอนแก่น พาทุกท่านมาร่วมพูดคุย…

10 months ago

ต้องไม่ลืมว่าขอนแก่นเองก็มีโครงการมากมาย และการเชื่อมร้อยทำความเข้าใจร่วมกันก็เป็นสิ่งสำคัญ Learning City เข้ามาเติมเต็มกลไกตรงนี้

“จริง ๆ การทำงานขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขอนแก่น เข้ามาเติมเต็มให้กับขอนแก่นโมเดลในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นให้กับผู้คน คือต้องเรียนตามตรงว่า ตัวขอนแก่นโมเดลที่ผ่านมาขับเคลื่อนในลักษณะองค์กร ภาคเอกชน วิชาการ ภาครัฐต่าง ๆ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามก็อาจจะงง ๆ อยู่ว่ามันคืออะไร แต่พอมีโครงการ Learning City ขึ้นมา โครงการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม และเติมเรื่องการมีส่วนร่วมการรับรู้ของคนเพิ่มเข้าไป…

10 months ago

เบื้องหลังภารกิจ ‘เดินเมือง’จากเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองเดินได้ และชุมทางเศรษฐกิจยั่งยืน สนทนากับ นพดล ธรรมวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด

WeCitizens นัดพบ หม่อง - นพดล ธรรมวิวัฒน์ ที่อาคารใกล้สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย ใจกลางตลาดเก่าเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อาคารที่ว่าเป็นอาคารพาณิชย์ มีป้ายติดด้านหน้าว่า ‘ห้องนั่งเล่นแก่งคอย’ คุณหม่องเล่าว่าแต่เดิมอาคารหลังนี้เคยเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างของครอบครัว เมื่อครอบครัวไม่ได้ทำกิจการนี้ต่อแล้วจึงปิดไว้ กระทั่งเขาได้มาเป็นโต้โผในการขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอย จึงกลับมาฟื้นฟูอาคารนี้อีกครั้ง เปลี่ยนเป็นห้องนั่งเล่น ในความหมายของการเป็นห้องรับแขกบ้านแขกเมือง และห้องที่ให้ผู้คนมาสุมหัวคิด เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเมืองแก่งคอยร่วมกันใช่,…

11 months ago

Saraburi Food Valley
สนทนากับ อรอุษา จึงยิ่งเรืองรุ่ง ว่าด้วยการขับเคลื่อนสระบุรีให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมอาหารยั่งยืนของประเทศ

นิ่ม - อรอุษา จึงยิ่งเรืองรุ่ง เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดและทำงานในสระบุรี เธอเป็นรองประธานหอการค้าจังหวัด รวมถึงหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ร่วมกับ หม่อง - นพดล ธรรมวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอยเมื่อต้นปี 2566 คุณนิ่มและคุณหม่องในฐานะตัวแทน บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง…

11 months ago

“แนวคิดที่ทำให้ผู้คนที่ยังไม่อิ่มท้องให้อิ่มท้องก่อน เพราะถ้ายังไม่อิ่มท้อง ผู้คนจะอิ่มสมองและอิ่มใจได้ยังไง”

Kalasin Learning Dialogue Forumเบื้องหลังวงสนทนาขับเคลื่อนเมืองผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม WeCitizens พูดคุยกับ ผศ.ดร. พิมพ์ลิขิต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ ถึงการจัดทำ Kalasin Learning Dialogue Forum อีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของโครงการ ที่ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ชักชวนปราชญ์ชาวบ้าน…

1 year ago

ความที่หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง พื้นที่นี้จึงเป็นเหมือนทั้งพื้นที่นัดหมาย หรือพักผ่อนของเด็กๆ ไปในตัว เหมือนให้พวกเขาได้มาใช้ประโยชน์และซึมซับศิลปะไปพร้อมกัน

WeCitizens นัดหมายกับ รศ.ดร.กตัญญู แก้วหานาม อาจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่บริเวณสวนสาธารณะริมปาว ติดกับศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์นี่เป็นการสนทนาที่อาจไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะพื้นที่แห่งนี้กำลังจัดพิธีเปิดมหกรรมฟื้นใจเมือง ‘ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย’ มหกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีของเมืองที่จัดเป็นครั้งแรก โดยต่อยอดมาจากพิธีสักการะพระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) นั่นทำให้การสนทนาของเราถูกแทรกด้วยเสียงจากกิจกรรมบนเวที และเสียงของผู้คนที่มาร่วมงานอยู่บ่อยๆแน่นอน ที่เรานัดคุยกับอาจารย์ในพื้นที่อันแสนอึกทึกขนาดนี้…

1 year ago

ศักยภาพที่มากไปกว่าตลาด
ทอดน่องชมตลาด และสนทนากับ
ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าโครงการ “ย่านเก่าเล่าเรื่อง” เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศบาลนครพิษณุโลก

WeCitizens นัดหมาย อาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มาพบกันที่ตลาดใต้ พิษณุโลก ตอน 9 โมงเช้า แต่ทันทีที่เราบอกเวลา อาจารย์ก็รีบตอบกลับมาว่า 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว นั่นหมายถึงเราจะพลาดอะไรดีๆ ไปเยอะ“ตลาดใต้เป็นตลาดเช้าครับ…

1 year ago

“อำเภอปากช่องประกาศเป็นสมาร์ตซิตี ถามว่าสมาร์ตซิตีแล้วยังไงต่อ มันสมาร์ตตรงไหน สมาร์ตอย่างไร แต่ว่าหน้าที่เราไม่ใช่หน้าที่บ่น เราเป็นนักปฏิบัติ”

เชื่อมเครือข่ายหุบเขาแห่งความสุข อำเภอปากช่อง อำเภอแรกสุดของการเดินทางจากถนนมิตรภาพสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดพื้นที่ใหญ่สุดของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 12 ตำบล 219 หมู่บ้าน ประชากรราว 190,000 คน มากเป็นอันดับสองรองจากอำเภอเมืองนครราชสีมา ความที่อาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ และอุทยานมรดกแห่งอาเซียน ซึ่งมีระดับโอโซนเป็นอันดับ 7 ของโลก ทำให้ชาวเมืองและผู้มาเยือนได้รับอากาศบริสุทธิ์…

1 year ago

“ในงานวิจัยที่เราทำ พบว่า ปัญหาของเขาใหญ่คือการใช้น้ำบาดาลของคนที่อยู่รอบเขาใหญ่มากเกินกว่าปริมาณน้ำใต้ดินที่มีอยู่ เลยทำให้เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย..”

เรียนรู้ พัฒนา เมืองเขาใหญ่                โครงการวิจัย “เมืองแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่เขาใหญ่ ปากช่อง” มุ่งหมายสร้างต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แหล่งความรู้และกระจายความรู้ด้านทฤษฎีใหม่ นำไปสู่การปฏิบัติในท้องถิ่น พื้นที่เขาใหญ่ ปากช่อง…

1 year ago

นครสวรรค์: เมืองหลวงแห่งกฎบัตรไทย
สนทนากับ ฐาปนา บุณยประวิตร
นายกสมาคมการผังเมืองไทย และเลขานุการกฎบัตรไทย

อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร เป็นนายกสมาคมการผังเมืองไทย ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง ‘กฎบัตรไทย’ หนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและชาญฉลาดรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยผ่านสมาคมการผังเมืองไทย อาจารย์ฐาปนาได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือนี้เข้าสู่กลไกการพัฒนาเมือง โดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ ระยอง อุดรธานี ภูเก็ต และนครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2562“ตอนแรกยังไม่มีคำว่า…

1 year ago