Learning City

ย่านกะดีจีน-คลองสาน พื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมอันรุ่มรวยชีวิต

ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานฝั่งธนบุรีที่มีความสำคัญควบคู่กับการสร้างบ้านแปงเมืองฝั่งพระนครมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันยังคงหลงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้อันทรงคุณค่าจำนวนมาก ทั้งเป็นพื้นที่ย่านเก่าที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ หากหลอมรวมเป็นอัตลักษณ์หนึ่งเดียว อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข พร้อมด้วยความเข้มแข็งของชุมชนอันเป็นต้นทุนทางสังคมสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่จะดึงดูดผู้คนให้เข้ามาในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการแทนที่ด้วยคนกลุ่มใหม่ (Gentrification) และส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในย่าน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ชาวชุมชน เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในสังคมสมัยใหม่ให้แก่ชาวชุมชน…

2 years ago

“มหาลัยในย่าน” และ “ศิลป์ในซอย” เชื่อมการเรียนรู้ฐานชุมชน
ย่านกะดีจีน-คลองสาน

WeCitizens สนทนากับคณะทำงานชุดโครงการ “การวิจัยและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และกลไกความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน” อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อํานวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 “มหาลัยในย่าน: โครงการขับเคลื่อนการเรียนรู้ฐานชุมชน” ธนพร โอวาทวรวรัญญู ผู้ช่วยผู้อํานวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หัวหน้าโครงการย่อยที่ 2 “ศิลป์ในซอย:…

2 years ago

ขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสานสู่เมืองแห่งการเรียนรู้บนเศรษฐกิจฐานความรู้

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการและกิจกรรมขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาเป็นเวลากว่า 12 ปี โดยร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน (บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ) และภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา…

2 years ago

“ทุกวันนี้การเรียนประวัติศาสตร์ในบ้านเรามันยังวนเวียนอยู่แค่กระแสหลัก อย่างสุโขทัยและอยุธยา แต่จริงๆ การเกิดขึ้นของไทยเรายาวนานกว่านั้น และราชบุรีก็เป็นพื้นที่ที่เคยมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงยุคทวารวดี”

เรียนรู้ราชบุรีผ่านวิถี ประวัติศาสตร์ และความครีเอทีฟ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว “เวลาพูดถึงราชบุรี คนส่วนมากจะคิดถึงโอ่งมังกรและสวนผึ้ง แต่ถ้ามองลึกลงไป เมืองแห่งนี้คือพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของดินแดนสุวรรณภูมิในอดีต พ่อค้าจากจีนและอินเดียต่างเดินทางมาค้าขาย จนเกิดการแลกเปลี่ยนและสั่งสมทางศิลปวัฒนธรรม ราชบุรีจึงเป็นทั้งพื้นที่การค้าและวัฒนธรรมในระดับโลก เรื่องราวตรงนี้แหละคือบทเรียนสำคัญ ถ้าคนราชบุรีได้เรียนรู้ พวกเขาจะเกิดความภาคภูมิใจ และสิ่งนี้จะกลายมาเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาเมืองต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี…

2 years ago

“เราใช้โมเดลบูรณาการในรูปแบบที่ไม่ใช่ขนมชั้น แต่เป็นขนมเปียกปูน” กล่าวคือบูรณาการศาสตร์และศิลป์จากคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมา mold ด้วยกันอย่างกลมกล่อม”

จากเมืองสร้างสรรค์และน่าอยู่ สู่ ‘ราชบุรี เมืองแห่งการเรียนรู้’ ศาสตราจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ “ความที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น อว. ส่วนหน้าของจังหวัดราชบุรี (หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ประจำจังหวัดราชบุรี) จึงมีพันธกิจในการพัฒนาและบูรณาการงานวิจัยให้มาช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในราชบุรีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อ บพท. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยในระดับพื้นที่…

2 years ago

ขลุง ภาพเมืองแห่งการเรียนรู้
ที่ไม่ได้อยู่แค่บนก้อนเมฆ

ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้  (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของอำเภอขลุง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการข้อมูล ถอดอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรม วิถีเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลของอำเภอขลุง ขับเคลื่อนกระบวนการบริหารเมืองบนพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้อำเภอขลุง ด้วยแนวคิด “เมืองขลุงพหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้”…

2 years ago

ขลุง พหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี

ในการดำเนินโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้  (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” อาศัยการสร้างกระบวนการศึกษาและสังเคราะห์เนื้อหาที่ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกด้านวัฒนธรรมและเกษตร อำเภอขลุง นำมาสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างและจัดทำพื้นที่การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการรวบรวมชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาหารพื้นถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนของอำเภอขลุง…

2 years ago

การที่งานนี้ทำให้ทุกคนได้รู้ว่าใครเป็นใครในยะลา และแต่ละคนตระหนักถึงศักยภาพของตัวเองในการร่วมกำหนดอนาคตของเมืองที่พวกเขาอาศัย ตรงนี้แหละที่เป็นผลลัพธ์อันแท้จริงของงานวิจัย

กว่าจะเป็น Yala Storiesเยาวชนยะลากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพวกเขากับ วรานุช ชินวรโสภาค วรานุช ชินวรโสภาค เป็นหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยในโครงการยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้ เธอเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นสาธารณสุขและเพศศึกษาในเยาวชน และร่วมกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในการขับเคลื่อนโครงการทักษะวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของผู้คนหลากวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเธอทำโครงการนี้มาเข้าปีที่ 14 ด้วยพื้นเพเป็นคนยะลา และเข้าใจบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่…

2 years ago

‘ยะลาศึกษา’ กับการสร้างหุ้นส่วนสรรค์สร้างเมือง
สนทนากับ อภินันท์ ธรรมเสนา ว่าด้วยการแปลงต้นทุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมสู่เครื่องมือพัฒนาเมืองยะลา

กับแง่มุมของการพัฒนาเมือง คุณเห็นว่ายะลามีดีอย่างไร? ผู้ให้สัมภาษณ์: โครงสร้างของเมืองที่ดี มีนโยบายในการพัฒนาเมือง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และรุ่มรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แล้วยะลายังขาดอะไร? เราถามต่อ ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดคิดหนึ่งอึดใจ: ผู้คนยังไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเมืองนัก ขาดการมีส่วนร่วม และแม้เมืองจะมีพร้อมด้วยสถาบันการศึกษาในทุกระดับ หากอ้างอิงจากงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเมืองก็อยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับความพร้อมที่มี เหล่านี้คือสิ่งที่ อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรประมวลให้เราฟัง…

2 years ago

คลองเตย LINK
ภารกิจเปลี่ยนคลองหลังบ้านให้กลายเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองหาดใหญ่
สนทนากับ สิทธิศักดิ์ ตันมงคล สถาปนิกแห่ง Songkhla Urban Lab

อาจารย์เจี๊ยบ - สิทธิศักดิ์ ตันมงคล บอกว่าถ้าไปถามคนรุ่นใหม่หรือคนที่เพิ่งมาอยู่หาดใหญ่ใหม่ๆ ว่ารู้จัก ‘คลองเตย’ หรือไม่ บางคนอาจเข้าใจว่านั่นคือชื่อเขตเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้วยซ้ำ “ถ้าไม่ใช่คนดั้งเดิม น้อยคนนะครับที่จะจดจำชื่อคลอง ซึ่งความที่มันเป็นคลองระบายน้ำเสีย และหลายพื้นที่ก็ถูกดาดปิด แม้คนหาดใหญ่จะขับรถผ่านทุกวัน หลายคนก็แทบไม่ได้จดจำด้วยซ้ำว่ามันคือคลอง” อาจารย์เจี๊ยบ สถาปนิกจากกลุ่ม Songkhla Urban Lab…

2 years ago