"ป้าเปิดร้านอาหารอยู่ในกองบิน 2 ลพบุรีมาก่อน เรามีหนี้สินเยอะมาก ลองมาทุกอย่างแล้ว มันไม่ได้ ยิ่งดิ้นยิ่งจม พอมาทำเบเกอรี มันได้เป็นชิ้นเป็นอัน ปลดหนี้ซื้อบ้านได้เพราะค่าขนมล้วน ๆ คือเราไปเรียน กศน. ก่อน แล้วก็อาสาไปทำกับร้านขนม แบบขอเขาเรียน ช่วยเขาทำทุกอย่าง ทำหลายเดือนจนได้สูตรมาบ้าง แล้วก็มาเรียนที่รัศมีเบเกอรี กรุงเทพฯ…
“พื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถไม่ใหญ่มาก ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร อยู่เขตปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ก็เป็นพื้นที่รองรับที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา คนเพิ่มอย่างทวีคูณ ตอนนี้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่มีประมาณสามหมื่นสี่พันคน แต่ประชากรแฝงน่าจะมีประมาณเจ็ดหมื่น อย่างที่ใกล้เทศบาลฯ ก็มีโรงงานอุตสาหกรรม คนทำงานเป็นพันๆ คน ซึ่งเขาก็กลางวันมาอยู่ ทำงานในพื้นที่ กลางคืนกลับ ส่วนพื้นที่รองรับเป็นหมู่บ้านจัดสรรประมาณ 40 หมู่บ้าน…
"เทศบาลเมืองบึงยี่โถมีศูนย์กีฬาเทศบาลที่คลอง 4 อยู่แล้ว เป็นโรงยิม ที่ออกกำลังกาย ศูนย์แบดมินตัน สเกตบอร์ด สนามฟุตซอล สวนเฉลิมพระเกียรติ คนก็มาตีแบต เดินเล่น เล่นสเกตบอร์ดทุกวันอยู่แล้ว แต่พอช่วงโควิดนี่ปิดเลย นายกฯ(รังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศบาลเมืองบึงยี่โถ) ก็จัดให้เป็นพื้นที่คัดกรองฉีดวัคซีน แล้วก็ข้ามไปฉีดวัคซีนอีกฝั่งถนนที่ศูนย์การแพทย์บึงยี่โถ ตอนแรกฉีดวันละพันคน ก็เพิ่มขึ้น…
“ผมทำงานมาหลายอย่าง เป็นหนุ่มโรงงานที่นวนครหลังเรียนจบช่างกล ได้งานในแผนกเขียนแบบที่มีเจ้านายเป็นคนญี่ปุ่น ตอนหลังผมเลยไปเรียนภาษาญี่ปุ่นสองปีจบที่สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งก็อยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนครนี่แหละ พอช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (ปี 2540) ก็ไปทำงานเป็นล่าม แล้วก็กลับมาทำงานโรงงานอีก จนมาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มโอทอป ก็ทำมาเรื่อยจนเป็นกรรมการ และเป็นประธานบริหารจัดการเครือข่ายโอทอปอำเภอธัญบุรีในปัจจุบัน การเข้ามาอยู่ในเครือข่ายทำให้คนเข้าถึงได้ กติกาง่าย ๆ คุณอยากพัฒนาสินค้าของตัวเอง ยกระดับสินค้าจากบ้าน…
“บ้านเกิดผมอยู่กำแพงเพชร ใช้ชีวิตอยู่เชียงใหม่หลายปี เพราะไปเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อปริญญาโทที่มช. พอจบก็เป็นอาจารย์พิเศษที่มช. แล้วผมก็ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพนี่ สอนคณะนิเทศศาสตร์ วิชาการรีทัชภาพ และสื่อสารการตลาด กับสอนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมกับเรียนต่อปริญญาเอกที่ม.รังสิตด้วย เหตุผลหนึ่งที่เลือกมาทำงานอยู่โซนชานเมืองเพราะไม่หนาแน่น บรรยากาศไม่แออัด คมนาคมยังโอเค เดินทางสะดวก เหมือนใช้ชีวิตตอนอยู่เชียงใหม่ ค่าครองชีพก็โอเค ผมพักอยู่หอในของมหาวิทยาลัย ใช้ชีวิตอยู่ในนี้ ยังไม่ได้ขยับขยายไปไหน…
“ผมชอบทำอาหารกินเองมาตั้งแต่เด็ก มีเวลาว่างก็ศึกษาทางยูทูบ ดูรายการแข่งทำอาหารในเน็ตฟลิกซ์ เมนูที่ชอบทำก็กะเพราไข่ดาว อร่อยสุดแล้ว ง่าย ๆ นี่แหละ เคล็ดลับผมคือกินที่ไหนอร่อยจะจำรสชาตินั้นมาทำ กะเพรามันทำได้หลายรสชาตินะครับ พอเราไปกินบางทีมันขึ้นมาในหัวเลย รู้ว่าตรงนี้เขาใส่อะไรเยอะอะไรน้อย จำรสชาติมาแล้วก็ปรับ นึกอยากกินรสนั้นเราก็ทำ แต่ก่อนเราทำด้วยความสนุก แต่พอมาทำขายเราต้องทำรสชาติให้เสถียร ตอนแรกเปิดร้านคาเฟ่อยู่ในโรงเรียนบ้านวังทอง ความรู้เรื่องทำร้านเป็นศูนย์แต่เราก็ลองดู ขายเครื่องดื่มอย่างเดียว เพราะเขามีร้านอาหารอยู่แล้ว…
"ผมรับราชการเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ เมื่อเกษียณอายุราชการมาแล้วก็ใช้เวลายามว่าง จริงๆ ทำตั้งแต่ก่อนเริ่มเกษียณแล้ว คือปลูกต้นไม้ เพราะสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กคือเรื่องการดูแลต้นไม้ ก็ทำให้เราติดเป็นนิสัย การปลูกต้นไม้ของผมเริ่มจากปลูกในบ้าน ทดลองปลูกไปเรื่อย ตั้งแต่ไม้ผล ไม้ทานได้ เห็ด ผักสวนครัว แรก ๆ ใช้ปุ๋ยเคมีเพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เคมีทำให้ต้นไม้โตเร็ว แต่ข้อเสียเยอะ เราเริ่มเห็นแล้วว่าสภาพดินมันแข็ง…
“โรงเรียนวัดมูลจินดารามที่ผมสอนอยู่ริมคลองอยู่แล้ว พอเห็นโครงการประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี จากข่าวประชาสัมพันธ์ในเฟซบุ๊กเพจของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ เห็นหัวข้อวิถีชีวิตริมคลองก็ง่าย ผมชอบเล่นกล้อง มีกล้องติดรถอยู่แล้ว คิดว่าไปเจออะไรก็ลองส่องดู จังหวะนั้นไปเจอคนเล่นน้ำอยู่พอดี ก็ถ่ายรูปแล้วส่งภาพประกวด 2 รูป เขามีรางวัล Popular Vote กับรางวัลจากกรรมการตัดสิน ซึ่งภาพ “ชีวาในวารี” ของผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ…
“ผมเติบโตในปทุมธานี เห็นนครรังสิตมาตั้งแต่เด็ก สิ่งแรกที่จำได้คือเห็นห้างฟิวเจอร์พาร์ค ห้างสรรพสินค้ามาตลอด แต่สิ่งที่รังสิตเติบโตขึ้นในความเป็นนคร น่าจะพัฒนาได้มากกว่านี้ ควรมีอะไรเป็นสื่อให้เห็นว่ารังสิตคืออะไร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต โด่งดังเป็นเอกลักษณ์ของรังสิต กับประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งปีนี้ครบรอบปีที่ 126 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ทำพิธีเปิดลำคลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439…
“ผมเป็นเกษตรกรโดยตรงเลย ทำสวนส้มมาก่อน แถวนี้เดิมก็สวนส้มทั้งนั้น พอไม่ค่อยดีก็ต้องแปลงอาชีพแล้วล่ะ ก็มาขายไม้ใบ ไม้ป่า พวกต้นสาละ แล้วก็ทำไม้ดัด (ไม้ประดับตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่ดัดด้วยโครงเหล็ก) ขายควบคู่ ทำหลายอย่าง อันไหนเวิร์กสุดก็ทำอันนั้น ที่มาทำพืชเศรษฐกิจไม้ดัดกับไม้ต่อยอดก็ตามเพื่อน ตอนนั้นก็มีไม่กี่สวน เห็นต้นไทรเขาทิ้ง ต้นไทรไม่อยากให้ปลูกในบ้าน ชาวบ้านไม่เอา ก็ไปขอเขา…