ชวนอ่านเรื่องราวหลากหลายของผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าที่ชื่อ "เชียงใหม่" เมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นยาวนานหลายศตวรรษ หลายระลอกประวัติศาสตร์ที่เชียงใหม่ได้ก้าวผ่านมาจนถึงปัจจุบันที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม เมืองแห่งผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม หลายช่วงอายุ มาอยู่อาศัยร่วมกัน อ่านเรื่องราวของการเรียนรู้เพื่อร่วมเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ได้ในรูปแบบของ E-book ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/dxpa/
โครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 3 พื้นที่ ได้แก่ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ชุมชนช้างม่อย และชุมชนป่าห้า-นิมมานฯ โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลท้องถิ่น โดยร่วมกับคนในชุมชนและคนภายนอกในการวิเคราะห์ นำเสนออนาคตการพัฒนาชุมชนในหลายแง่มุม ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ infographic ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1ZN3F0WQoDA5G9uM90El0fB74gqPYSvRG/view?usp=sharing ข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) จากโครงการโครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.สันต์…
Timeline ประวัติศาสตร์และพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงชุมชนเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เรื่องราวความทรงจำและหมุดหมายวันเวลาของ 3 ชุมชนหลักในเขตเมืองเก่า และย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ (ช้างม่อย, ควรค่าม้าสามัคคี และชุมชนป่าห้า-นิมมานฯ) จากเมืองเก่า และย่านที่อยู่อาศัย สู่ความเป็นย่านการค้าสำคัญ ทั้งธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจสร้างสรรค์ ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ infographic ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/16EoYcFQwCjPlZEsCiSIL_kQATNkpy-3p/view?usp=sharing ___ ข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น…
จากยอดดอยสู่สายน้ำ สำรวจพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตามคำขวัญเมืองเชียงใหม่ 10 ล้านคนต่อปีคือจำนวนโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนเชียงใหม่ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมากเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่ข้อมูลจากสื่อท่องเที่ยวระดับสากลยังระบุอีกว่าเชียงใหม่ได้รับการโหวตให้ติดอันดับ top 10 เมืองน่าเที่ยวที่สุดในเอเชียต่อเนื่องมาหลายปี กระนั้นก็ตาม เชียงใหม่ก็หาได้มีดีแค่การท่องเที่ยว อดีตเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา เมืองต้นธารทางศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ ศูนย์กลางของสล่าหัตถกรรม นครแห่งศิลปะ พื้นที่บุกเบิกการปลูกพืชเมืองหนาวไปจนถึงเมืองต้นแบบของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศ และแน่นอน เมืองหลวงของภาคประชาสังคม…
“ผมสนใจทฤษฎีพื้นที่ทางสังคม (social space) เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาผมจะศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีรูปแบบเป็นทฤษฎีเป็นหลัก ไม่ได้ลงไปทำกับชีวิตของคนจริงๆ จนพอดีกับที่ บพท. ประกาศทุนเรื่อง learning city ผมจึงเห็นเป็นโอกาสอันดีในการทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผมได้ลงไปทำงานกับผู้คนในเมืองเชียงใหม่จริงๆ และที่สำคัญ ผมมองว่านี่เป็นโอกาสจะใช้งานวิจัยในการมีส่วนแก้ปัญหาเมือง ก่อนทำงานโครงการนี้ ผมทำวิจัยร่วมกับพี่ตา (สุวารี วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่…
“สารตั้งต้นของโครงการ ‘เชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อพลวัตรที่ยั่งยืน’ มาจากเวทีเชียงใหม่ฮอม เวทีสาธารณะที่ชวนผู้คนในภาคส่วนต่างๆ มาแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) ในเวทีนั้นผู้คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าปัญหาที่เมืองเรากำลังเผชิญมีสองเรื่องใหญ่ คือเรื่องเศรษฐกิจอันเกิดจากผลกระทบของโควิด-19 และปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงเลยนำสองเรื่องนี้มาตั้งโจทย์ว่าถ้างั้นเราจะสนับสนุนให้คนเชียงใหม่เรียนรู้เรื่องใดบ้าง ที่จะนำมาสู่กระบวนการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมาคิดถึงการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้สอดรับกับความเป็นเมืองท่องเที่ยว ส่วนประเด็นที่สองเรามองเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมเพื่อเป็นโมเดลในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเมือง แม้จะแบ่งเป็น 2 โครงการย่อยที่แตกต่างอย่างชัดเจน…
“แม้เชียงใหม่จะมีคูเมืองที่เป็นเหมือนสวนหย่อมใจกลางเมือง และมีดอยสุเทพเป็นฉากหลัง แต่ข้อเท็จจริงคือ คนในเมืองกลับมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก โดยเมื่อเทียบขนาดพื้นที่กับประชากรโดยเฉลี่ย เราจะมีพื้นที่สีเขียวราว 6 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตร นี่ยังไม่นับรวมประชากรแฝง เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือแรงงานอื่นๆ ที่ประมาณ 5 แสนคน ถ้านับรวมจำนวนนี้เข้าไป…
“สมัยยังเด็ก ผมมีความฝันอยากเรียนและทำงานด้านอนิเมชั่น แต่ป๊าอยากให้เรียนไปทางสายวิทย์ เขามองว่าอาชีพหมอหรือวิศวกรมั่นคงกว่า แกก็เคี่ยวเข็ญให้ผมไปทางนั้น ซึ่งนั่นทำให้ผมเริ่มไม่สนุกกับการเรียน น่าจะเป็นช่วงมัธยมสองที่ญาติไปเปิดร้านอาหารไทยในกัวลาลัมเปอร์ ผมเลยดร็อปเรียน และขอตามไปช่วยงานครัวที่นั่น ซึ่งนั่นแหละครับ หลังจากนั้นผมก็ไม่ได้กลับไปเรียนหนังสือสายสามัญอีกเลย ผมโตมาในครอบครัวค่อนข้างใหญ่ มีพี่น้องและลูกพี่ลูกน้องอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 คน ความที่ผมเป็นคนเกือบโตสุด เลยมักเป็นคนทำอาหารให้น้องๆ กิน ซึ่งทักษะนี้ได้มาจากปู่ แกสอนให้ผมจับมีดหั่นผัก…
“ระหว่างเรียนมัธยมปลายที่พิษณุโลก ผมมีโอกาสลงพื้นที่ชุมชนที่อำเภอพรหมพิราม ในฐานะอาสาสมัครโครงการยุววิจัยของ สกว. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม: สกสว. - ผู้เรียบเรียง) การลงพื้นที่ครั้งนั้นเปิดโลกผมมาก เพราะมันไม่ใช่แค่ความสนุกจากการได้ทำงานเป็นทีม หรือการได้เรียนรู้จากชาวบ้าน แต่ยังทำให้เราตระหนักว่าหากมีแผนยุทธศาสตร์ชัดเจน การทำงานภาคประชาสังคมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนในพื้นที่ได้จริงๆ จนพอถึงเวลาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมจึงเลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าถ้าเราอยากทำงานสายนี้ การอยู่ในเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของภาคประชาสังคม จะทำให้ผมได้เรียนรู้มากขึ้น…
“หลายคนเข้าใจผิดว่าแรมป์ในสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่เป็นลานสเก็ต แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นสนามฝึกซ้อมของนักกีฬาจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ก่อนที่คุณตัน (ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจเจ้าของโครงการหลากหลายในย่านนิมมานเหมินท์ – ผู้เรียบเรียง) จะพัฒนาพื้นที่บางส่วนตรงกาดเชิงดอยให้เป็นพื้นที่เปิดสำหรับเล่นสเก็ตและเซิร์ฟบอร์ด เมืองเชียงใหม่เราเลยไม่มีสเก็ตพาร์ค (skatepark) หรือลานสเก็ตจริงๆ เมื่อก่อนข้างๆ กาดสวนแก้ว เร็ดบูลเคยทำแรมป์สเก็ตเปิดให้ทุกคนได้เล่น ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากๆ แต่ก็ปิดตัวไปหลายปีแล้ว ผมกับเพื่อนๆ ก็เลยต้องเล่นกันตามทางเท้าหรือลานโล่งๆ…