“พื้นเพของครอบครัวผมเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ คุณตาของผม สันติ์ เทพมณี เป็นอดีตรัฐมนตรี สส. และ สว. ของจังหวัดลำพูน พ่อของคุณตา - สุข เทพมณี ก็เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (พ.ศ. 2488-2496) คุณตาท่านโลดแล่นอยู่ในวงการเมืองมายาวนานนอกจากงานด้านการเมือง คุณตาและคุณยายยังเป็นนักธุรกิจด้วย บ้านที่ผมอยู่บริเวณหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยทุกวันนี้ แต่เดิมคือโรงงานทอผ้าอินทพานิช…
“ตอนเด็ก ๆ เราแทบไม่ได้ผูกพันกับลำพูน บ้านเกิดเลยนะ เราถูกส่งไปเรียนที่เชียงใหม่ เรียนมหาวิทยาลัยที่ขอนแก่น จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่หลายปี ระหว่างนั้นก็กลับมาเยี่ยมแม่บ้าง ไป ๆ มา ๆ ก็เริ่มรู้สึกเป็นห่วงเขา สุดท้ายเลยตัดสินใจย้ายกลับมาทำงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูนถึงพ่อแม่เราจะรับราชการครู เราก็ไม่เคยคิดจะทำงานราชการมาก่อน แต่แล้ววันหนึ่ง นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่นิด้าของเจ้านายเราในตอนนั้น กำลังหาคนรุ่นใหม่มาช่วยทำงาน…
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ แม้เธอจะไม่ใช่ “คนใน” แต่เธอเข้าใจอินไซด์ของคนลำพูนเป็นอย่างดี “เทศบาลเมืองลำพูนมีแผนในการพัฒนาเมืองที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ความท้าทายสำคัญคือ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป ผ่านการทำร้าน ‘อภิรมย์ลำพูน’ โดยยังคงความงามผ้าไหมในเอกลักษณ์การทอ มีการคิดรวบรวมเทคนิคการทอต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่ จึงย้อนกลับมามองบ้านเกิดเราว่าจริง ๆ เมืองเราก็เป็นแบบนั้นได้ โดยที่ผ่านมา เราก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนต่าง…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ชวนผมร่วมทำงานในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้ เพราะปกติเขาก็มีคนทำโคมขายกันอยู่แล้ว จนเทศบาลฯ ริเริ่มความคิดให้ชุมชนมาช่วยกันทำโคมขายนี่แหละ ปีนี้ชุมชนเรา (ชุมชนชัยมงคล)…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง สี เสียง แบบเดียวกับคอนเสิร์ตพี่เบิร์ดริมแม่น้ำบ้านเราได้น่ะ เห็นแล้วก็รู้สึกว่า โห…
“ผมเคยทำงานที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาก่อน พอเกษียณก็มาเป็นอาสาสมัครชุมชน และก็อยู่บ้านเฉย ๆ จนเทศบาลเขาชวนผมกับภรรยาไปเรียนทำโคม เพื่อจะให้ชุมชนเราผลิตโคมไปขายให้กับเทศบาลฯ ต่อ ชุมชนเรา (ชุมชนสันป่ายางหลวง) เป็นชุมชนแรกที่เข้าไปเรียนทำโคม น่าจะ 6-7 ปีก่อนได้ ตอนแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะจริงจังอะไรนัก แค่เห็นว่าเป็นงานฝีมือที่น่าสนใจ และสามารถสร้างรายได้เสริมได้ด้วย แต่ทำไปทำมาชักสนุก พอเห็นว่าโคมที่เราทำมันถูกไปใช้ในเทศกาลโคมแสนดวงด้วย ก็รู้สึกภูมิใจเราทำโคมกันเองที่บ้าน ผมเป็นคนขึ้นโครง ภรรยาเป็นคนติดกระดาษและตบแต่ง ปีนี้เรามีออร์เดอร์ 800…
“ผมเกิดและโตที่ลำพูน บ้านผมอยู่นอกเขตเทศบาล แต่ห่างจากเมืองแค่ 6 กิโลเมตร ตอนเด็กเรียนโรงเรียนประถมแถวบ้าน ก่อนเข้าเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย ผมบวชเรียนอยู่ 2 ปี แล้วจึงย้ายไปเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนประจำจังหวัดหลังจากเรียนจบ ผมเข้ารับราชการ งานแรกอยู่ที่เชียงใหม่ ก่อนจะย้ายไปหลายเมือง กระทั่งได้กลับมาประจำที่เทศบาลเมืองลำพูนเมื่อธันวาคม 2566 แม้ในอนาคตอาจต้องย้ายตามระบบราชการ แต่ผมหวังเสมอว่าจะได้กลับมาประจำที่นี่อีกครั้ง สิ่งที่ทำให้ลำพูนเป็นเมืองที่พิเศษสำหรับผม ไม่ใช่แค่โบราณสถานหรือประวัติศาสตร์…