เปิดแนวคิด กลยุทธ์ และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองพะเยา และเมืองหาดใหญ่ สู่การเป็นสมาชิกใหม่เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ UNSECO โดยนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) [ เมืองพะเยา ] - รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่พะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล…
ดาวน์โหลด infographic "เรียนรู้ริมกว๊าน" เพื่อเรียนรู้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/13rkLf-K7r56p2RRhLJrpZY2VaiNTxZ-3/view?usp=sharing
ชวนอ่านเรื่องราวของผู้คนหลายรุ่น หลายที่มา หลายเรื่องราวของชีวิตที่น่าสนใจของผู้คนในเมืองประวัติศาสตร์ เมืองแห่งกว๊าน...เมืองพะเยา ได้ที่ WeCitizens : เสียงพะเยา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศให้เทศบาลเมืองพะเยาเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) พร้อมกับเมืองสุโขทัย และหาดใหญ่ อันเป็นผลจากความร่วมมือในการยื่นเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาเมื่อปลายปีที่แล้ว นอกจาก…
เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลเมืองพะเยา ส่งชื่อพะเยาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ของยูเนสโก พร้อมกับจัดงานฉลองด้วยบรรยากาศชื่นมื่นและเปี่ยมด้วยความหวังร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ณ ลานหน้าอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ริมกว๊านพะเยานอกเหนือจากการใช้เครื่องมือสุดสมาร์ทที่ทีมวิจัยนำกลไกการบริหารจัดการแบบสตาร์ทอัพอย่าง Hackathon หรือโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มาปรับใช้กับพื้นที่การเรียนรู้ท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานนอกระบบ ความเจ๋งอีกเรื่องของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของที่นี่คือ…
“ปีแรกบีจะลงพื้นที่กับอาจารย์เอ (รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์) เป็นหลักก่อน ไปสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาว่าเรากำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเราทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ ส่วนน้องๆ คนอื่นๆ จะเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแยกกันไป จะทำพวกสืบค้นงานวิจัย งานสถิติ ประสานงาน หรือทำเอกสารเราไม่รู้จักกันมาก่อน มาเจอกันที่นี่ ทุกคนมีพื้นเพต่างกัน บีเรียนรัฐศาสตร์ ต้องตาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนแตงกวาและเนสเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม…
“กว๊านพะเยากับการทำปลาส้มคือสองสิ่งที่แม่คุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด กว๊านนี้เพิ่งมาสมัยพ่อแม่ของแม่ ส่วนปลาส้มนี่ทำขายกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตอนเด็กๆ แม่ยังเคยรับจ้างขอดเกล็ดปลาจีน ควักไส้และขี้ออกมา และทุบปลาทั้งตัวเพื่อเอาไปทำปลาส้ม ได้ค่าจ้างวันละหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ นี่เป็นทักษะที่ได้มาตั้งแต่เล็ก พอโตมาแม่ก็ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ทำปลาส้มขายอย่างเดียว นี่ก็ 40 กว่าปีแล้ว เริ่มจากชำแหละปลาก่อน แยกก้าง หัว หาง และไข่ออก เอาเฉพาะเนื้อ…
“ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผมมีโอกาสลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และพบโรงเรียนที่ถูกปิดและทิ้งร้างหลายแห่ง บางแห่งยังมีอาคารที่มีสภาพดีอยู่เลย จึงนึกเสียดายที่จังหวัดเรามีสถานที่ที่มีศักยภาพหลายแห่ง แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน และระหว่างสำรวจความต้องการของประชาชน ผมพบว่าเมืองของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง. การจัดสรรอำนาจและงบประมาณที่มักกระจุกตัวอยู่ในตัวเมือง พื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่ได้รับการพัฒนา บางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ต้องพูดถึงเด็กๆ ที่ไม่เคยได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ และสอง. ในเชิงสังคม ทั้งในแง่ที่เมืองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย…
“พี่เริ่มรวมกลุ่มก่อนโควิดมาหลายปีแล้ว ตอนนั้นทางเทศบาลเมืองพะเยาเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านและคนวัยเกษียณที่อยู่บ้านเฉยๆ ในชุมชน ก็รวมกลุ่มกันได้สามสิบกว่าคนมาคุยกันว่าอยากทำอะไร แล้วสรุปได้ว่าเป็นงานกระเป๋าที่ทำจากผ้า พวกกระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าสตางค์ รวมถึงงานผ้าอื่นๆ เพราะทุกคนสามารถทำเองได้จากที่บ้านช่วงแรกๆ ก็ได้เทศบาลนี่แหละที่หาตลาดให้ เพราะเขาจะมีเทศกาลหรือพวกงานออกร้านสินค้าจากชุมชนอยู่บ่อยๆ หรือเวลาข้าราชการจากองค์กรไหนท่านเกษียณ เขาก็ออร์เดอร์ให้ทางกลุ่มทำกระเป๋าเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็สร้างรายได้ให้ทางกลุ่มให้ทุกคนพออยู่ได้ แต่พอโควิดเข้ามา งานจัดไม่ได้ เราก็ขายกระเป๋ากันไม่ได้ ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยหยุดไปพักหนึ่งมาจน อาจารย์เอ…
“นักท่องเที่ยวมักถามผมว่าทำไมจึงมีบ่อน้ำผุดขึ้นมาในกว๊าน ก็ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งน้ำทำไมยังมีบ่อน้ำอยู่ (หัวเราะ) คือกระทั่งคนพะเยาเองบางคนก็อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อ 80 กว่าปีก่อน พื้นที่กว๊านตรงนี้ทั้งหมดเคยเป็นหมู่บ้าน คนที่อยู่ทันเห็นสภาพเดิมส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว บ่อน้ำตรงนั้นจึงเป็นอนุสรณ์ให้เรายังจำได้อยู่ว่าเมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นอะไรผมเป็นคนตำบลบ้านตุ่น ตรงท่าเรือโบราณบ้านทุ่งกิ่ว เมื่อก่อนพ่อผมเป็นทหารรับใช้จอมพล ผิน ชุณหะวัน ที่กรุงเทพฯ แกย้ายมาอยู่พะเยาช่วงสงครามโลก สมัยนั้นพะเยายังมีถนนไม่ทั่วถึง การจะเดินทางไปโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตตัวเมือง คือต้องนั่งเรือข้ามกว๊านไป ผมจำได้ว่าค่าเรือรอบหนึ่งแค่ 50…