เมืองสระบุรี เมืองแห่งโอกาสและการมีส่วนร่วม กับการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองสู้โจทย์เมืองหดตัว อ่าน Ebook ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/ptxz/ Download PDF File : https://shorturl.asia/W362o บอกเล่าเรื่องราวมุมมองพลเมือง ทีมวิจัย และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี นำโดย นายกฯ ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี นายกเทศมนตรีเมืองสระบรุรี และคณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี และหัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” ผศ.สรายุทธ…
“สืบเนื่องจากงานวิจัยเมื่อปีก่อน (แนวทางการพัฒนาเมืองสระบุรีสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ โดยคณาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากทุนวิจัยของบพท. ปี 2566) จนมาถึงงานวิจัยการพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัวในปีนี้ ได้สำรวจพื้นที่เทศบาลเมืองสระบุรี ว่าพื้นที่ตรงไหนมีศักยภาพ ใครใช้ประโยชน์บ้าง ก็จะมีโครงการมารองรับการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ให้คนยังอยากใช้ชีวิตอยู่ในเมือง รู้สึกว่าเมืองตอบโจทย์การใช้ชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านการประกอบอาชีพ หรือการมีอนาคตที่ดีกับเมือง อยากลงหลักปักฐาน มากกว่าไปทำงานในกรุงเทพฯ คือสระบุรีจะมีรถไฟความเร็วสูง มีระบบคมนาคมขนส่ง…
“เราย้ายจากเทศบาลเมืองเขาสามยอด ลพบุรี มาอยู่เทศบาลเมืองสระบุรีประมาณ 2 ปี ก็พอดีกับท่านนายกฯ คนใหม่ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ปี 2564-ปัจจุบัน) ที่เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง วาง 4 ยุทธศาสตร์ ‘สร้างเมืองน่าอยู่ สร้างคนคุณภาพ’ ทำงานโดยการประสาน ลงพื้นที่…
“นโยบายของท่านนายกฯ (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) คืออยากเพิ่มช่องทางการบริการให้ประชาชน เมื่อก่อน เวลาประชาชนมาติดต่อราชการ จะมีเสียงบ่นว่า นาน ช้า เสียเวลา ทำเรื่องยาก เอกสารเยอะ ประกอบกับช่วงนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 การมาติดต่อราชการคือลดไปเลย จึงพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของเทศบาลเมืองสระบุรีขึ้นมา เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชน ไม่ต้องเดินทางมาเทศบาลฯ จะได้ร้องเรียน ร้องทุกข์…
“ความเป็นเมืองสระบุรี เราเป็นเมืองผ่านไปสู่จังหวัดต่าง ๆ เป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีโรงงานเยอะ แต่ถ้าในบริบทตำบลปากเพรียวที่เป็นเขตเทศบาลเมืองสระบุรีคือไม่มีโรงงาน ยังเป็นชุมชนชาวบ้าน มีตลาดนัด ตลาดต่าง ๆ แต่หลังจากที่มีโรคโควิด-19 คือจุดเปลี่ยน คนที่เคยอยู่ตรงนี้ ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นมากขึ้น ทำให้สภาพบ้านเมืองเงียบเหงาลง ที่เห็นชัดคือร้านปิดตัว ห้างที่มีคือห้างทวีกิจ ห้างสุขอนันต์ ก็เริ่มดรอปลง คนที่เคยเดินเยอะก็เงียบเหงา…
“โดยหน้าที่ของผมคือประชาสัมพันธ์กิจกรรม เทศกาลต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลเมืองสระบุรีเป็นผู้จัดขึ้น โพรโมตสถานที่ท่องเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจในเมืองของเราให้ชาวเมืองสระบุรีรวมถึงผู้อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับรู้และอยากมาเยี่ยมเยียน เราเพิ่งจัดแคมเปญ ‘วันเดียวเที่ยว 9 วัด’ เช่น วัดศรีบุรีรตนาราม หรือวัดปากเพรียว เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เรามีวัดใหม่ที่สร้างขึ้นมาไม่นาน คือวัดเชิงเขา มีพระมหาธาตุเจดีย์ปาสาทิโก เป็นจุดแลนด์มาร์กใหม่ล่าสุด ขึ้นไปด้านบนเจดีย์มองเห็นเมืองสระบุรีได้ 360…
พื้นที่ 20.13 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลเมืองสระบุรีคือสังคมเมืองขนาดกำลังพอดี มีบรรยากาศไม่เร่งรีบอย่างเมืองมหานคร และมีเสน่ห์เรียบง่ายของเมืองเล็ก ที่สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะครบถ้วนในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิต เทศบาลฯ ผลักดันโครงการพัฒนาเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง มีแผนพัฒนาท้องถิ่นที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ เช่น สร้างพื้นที่สีเขียวแห่งแรกของเมืองสระบุรี กว่า 20 ไร่ ปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรีและพื้นที่โดยรอบ สร้างสถานที่ที่ใช้รักษาร่างกายด้วยธาราบำบัด ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเมืองร่วมสมัย และโครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และการพักผ่อนสำหรับประชาชนและผู้มาเยือน หากโจทย์อันท้าทายของเทศบาลเมืองสระบุรีอยู่ที่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตั้งแต่การมีสะพานต่างระดับ…
“ความตั้งใจคือ ถ้าจะพัฒนา หรือขับเคลื่อนเมือง ควรมีภาควิชาการมาช่วยทำให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของทั้งประชาชน ของผู้บริหาร ความใฝ่ฝัน ความต้องการในการพัฒนาเมืองของผู้บริหาร อยู่บนพื้นฐานข้อมูลข้อเท็จจริง ประกอบกับการมีเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนเป็นเครื่องมือสำคัญในการอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็นวิธีการใหม่ คือโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP : The Program for…
“ครอบครัวตั้งแต่รุ่นอากงอาม่าอยู่ที่นี่กันหมด ค้าขายอยู่ตรงท่าน้ำดับเพลิง สมัยก่อนเรียก ท่าปากเพรียว คนจีนเรียก ปั๊กเพียว เป็นท่าเรือริมแม่น้ำป่าสักที่ลงของจากกรุงเทพฯ เข้ามา บ้านที่อยู่ก็โยกย้ายบ้างแต่ก็อยู่บริเวณตลาดนี่แหละ เราเคยชินกับชีวิตที่อยู่ใจกลางเมือง เราหิวเดินไปซื้อได้ เหงา ๆ ก็เดินมาหาเพื่อนในตลาด ทุกคนในตลาดก็รู้จักกันเกือบทั้งหมด เราเคยไปอยู่กรุงเทพฯ กับต่างประเทศหลายปี ช่วงโควิด-19 ก็อยากกลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว เมื่อปีที่แล้ว…
“อธิบายความเป็นเมืองสระบุรีก่อนว่า เป็นเส้นทางที่มีถนน 2 เส้นคือถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ เมืองเป็นศูนย์กลางของทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ เศรษฐกิจ สังคม ทีนี้ เกิดถนนวงแหวนเส้นเลี่ยงเมือง จากอำเภอเมืองไปเชื่อมต่ออำเภอเสาไห้เป็นเส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก เส้นเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกไปทางตำบลตะกุด ทางอำเภอแก่งคอย จริง ๆ คนในเมืองคือคนในตลาด คนชุมชนเก่าแก่ชาวจีน ก็ไม่ต่างจากพฤติกรรมชุมชนตลาดของแต่ละจังหวัดนะ ที่ไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอย แต่เมื่อมีการกระจายของเมืองเป็นวงกลมที่เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นรัศมีกว้างขึ้น…