“การพัฒนาเมืองต้องร่วมมือกัน ถ้าปราศจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน มันไม่เกิดขึ้น แล้วควรเป็นความร่วมมือแบบจริงใจ เอาจริง ๆ แค่ทุกคนทำตามหน้าที่ตัวเอง ผมว่าเราทำได้ ภาครัฐก็ควรเชื่อมโยงกันทุกหน่วยงาน ในยุคนายกฯ คนล่าสุด (ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี) เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า เมืองพัฒนาไปหลายรูปแบบ ตรงโน้นตรงนี้มีการเปลี่ยนแปลง…
ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข หัวหน้าโครงการวิจัย “การพัฒนาฟื้นฟูศูนย์กลางพาณิชยกรรมเมืองสระบุรีเพื่อรับมือกับสภาวะเมืองหดตัว” และ ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยโครงการ จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่ศักยภาพในการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจในเขตภาคกลางตอนบน เนื่องจากมีระบบโครงข่ายการคมนาคมเพียบพร้อมสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่าง ๆ ได้สะดวก ภายในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร แหล่งผลิตอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการก่อสร้าง และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ…
ตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสระบุรีสมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2564 ธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นำพาคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสระบุรี ร่วมกันพัฒนาเมืองด้วยวิสัยทัศน์ “ยกระดับคุณภาพคน ชุมชน เมือง เศรษฐกิจ สังคม และดิจิทัล ให้ดีขึ้น อย่างทั่วถึง สมดุล และยั่งยืน” ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนา…
รู้จักเมืองสระบุรีใน 5 นาที กับข้อมูลเมือง เรียบเรียงโดย WeCitizens ข้อมูลจากโครงการ CIAP เมืองสระบุรี, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี ตั้งอยู่ในตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ได้ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองสระบุรี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระบุรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่เพียง 5 ตารางกิโลเมตร…
เทศบาลเมืองสระบุรีโจทย์อันท้าทายการรับมือสภาวะเมืองหดตัว จังหวัดสระบุรีมีจุดแข็งเชิงยุทธศาสตร์หลายด้านทั้งเป็นพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมการขนส่ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงในอนาคตกำลังมีการพัฒนาระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งตามนโยบายอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดีเจ้าพระยาแม่น้ำโขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekong Exonomic Cooperation Strategy:…
WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี) ของถนนมิตรภาพ ถนนสายสำคัญที่รถทุกคันต้องวิ่งผ่านจากกรุงเทพฯ สู่ภาคอีสาน ไม่เพียงเท่านั้น อำเภอแห่งนี้ยังเรียงรายไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่…
WeCitizens นัดพบ หม่อง - นพดล ธรรมวิวัฒน์ ที่อาคารใกล้สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย ใจกลางตลาดเก่าเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อาคารที่ว่าเป็นอาคารพาณิชย์ มีป้ายติดด้านหน้าว่า ‘ห้องนั่งเล่นแก่งคอย’ คุณหม่องเล่าว่าแต่เดิมอาคารหลังนี้เคยเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างของครอบครัว เมื่อครอบครัวไม่ได้ทำกิจการนี้ต่อแล้วจึงปิดไว้ กระทั่งเขาได้มาเป็นโต้โผในการขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอย จึงกลับมาฟื้นฟูอาคารนี้อีกครั้ง เปลี่ยนเป็นห้องนั่งเล่น ในความหมายของการเป็นห้องรับแขกบ้านแขกเมือง และห้องที่ให้ผู้คนมาสุมหัวคิด เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเมืองแก่งคอยร่วมกันใช่,…
นิ่ม - อรอุษา จึงยิ่งเรืองรุ่ง เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดและทำงานในสระบุรี เธอเป็นรองประธานหอการค้าจังหวัด รวมถึงหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ร่วมกับ หม่อง - นพดล ธรรมวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอยเมื่อต้นปี 2566 คุณนิ่มและคุณหม่องในฐานะตัวแทน บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง…
“ผมเป็นผู้รับเหมามาก่อน ทำได้พักใหญ่ๆ ก็กลับมาสานต่อธุรกิจของแม่ที่แก่งคอย เป็นรุ่นสอง ร้านทองร้านนี้เริ่มโดยคุณแม่ แม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในแก่งคอย ตอนเด็กๆ แกเคยเล่าให้ฟังว่ายังวิ่งหนีลูกระเบิดอยู่เลย หลังสงครามโลกสิ้นสุด ผู้คนที่รอดชีวิตในสมัยนั้นก็มาเริ่มธุรกิจจากศูนย์กันใหม่ๆ แม่ก็เริ่มทำงานหลากหลายจนได้มาเปิดร้านทอง ลูกค้าหลักๆ คือคนแก่งคอยและอำเภอใกล้เคียง ทั้งผู้ประกอบการในตลาด ข้าราชการ รวมถึงคนทำงานโรงงานรอบๆ ผมก็จะไปเลือกทองคำรูปพรรณจากร้านขายส่งที่เยาวราช พิจารณาจากความนิยมของคนที่นี่ และนำมาวางขายที่ร้านข้อได้เปรียบของการขายทองคือต่อให้เศรษฐกิจแย่ยังไง ถึงกำลังซื้อลดลง…