“ปู่ผมทำนาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ยังไม่มีการสร้างสถานีรถไฟโคกเสม็ดชุน หรือชุมทางหาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ ตอนผมเป็นนักเรียน เมืองหาดใหญ่ยังมีถนนหน้าสถานีรถไฟแค่ 3 สาย ซึ่งตอนแรกยังไม่มีชื่อด้วยซ้ำ เราเลยเรียกกันว่าถนนสาย 1 สาย 2 และสาย 3 บ้านเรือนสมัยนั้นเป็นเรือนไม้อยู่ห่างๆ กัน พ้นจากถนน 3 สายนี้ไปก็เป็นทุ่งนาแล้วสมัยก่อนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีหาดใหญ่ส่วนหนึ่งจะใช้สำหรับขนปศุสัตว์ไปขายที่มาเลเซีย ข้ามอุโมงค์เลยพื้นที่ที่ตอนนี้คือถนนศรีภูวนาถไป เคยเป็นด่านกักสัตว์เพื่อให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนส่งออก…
“อาตมาเป็นคนสมุทรสาคร บวชอยู่กรุงเทพฯ ได้ 6 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2514 พระอาจารย์ว่วยจง เจ้าอาวาสวัดฉื่อฉาง ถึงแก่มรณภาพ อาตมาจึงเดินทางมาหาดใหญ่เป็นครั้งแรกเพื่อร่วมงานศพ และช่วยดูวัดนี้ต่อ จนปี พ.ศ. 2517 เขาก็ให้เป็นเจ้าอาวาส จึงต้องอยู่ที่วัดแห่งนี้ไม่ได้ไปไหนตั้งแต่นั้นฉื่อฉางเป็นคำภาษาจีนเพี้ยนมาจาก ‘ฉื่อซ่านซื่อ’ แปลว่าเมตตากรุณา…
“ผมสอนหนังสือในเมืองหาดใหญ่มา 20 กว่าปีแล้ว ผ่านการทำงานวิจัยหลากหลายเรื่อง แต่เกือบทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสงขลา โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นโครงการแรกที่ผมได้ทำในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ผมเข้ามาทำโครงการนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และรู้สึกประหลาดใจไม่น้อย เมื่อพบว่าที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนและการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นในพื้นที่เทศบาลเท่าไหร่ ทั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคสำคัญคือการระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยเนื้อหาของงานวิจัยที่เราทำ ซึ่งมีเป้าหมายจะเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการ โครงการจึงตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คนในเวลานั้นพอดีผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 2…
“พ่อกับแม่ผมเปิดร้านนิยมรส ปี พ.ศ. 2512 เมื่อก่อนร้านอยู่ในบ้านไม้ห้องเดียวในย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ พ่อเป็น เถ่าชิ่ว หรือพ่อครัวหลัก ส่วนแม่เป็นผู้ช่วยเรียกว่า ยีชิ่ว ทำมาได้สัก 10 ปี พ่อก็ย้ายมาเปิดที่ตึกบนถนนธรรมนูญวิถีร้านนี้ เพราะมีพื้นที่มากกว่า ผมเกิดที่บ้านหลังนี้ ก็ช่วยพวกเขาเสิร์ฟอาหารและรับลูกค้าตั้งแต่เด็ก กลับจากโรงเรียนมา ก็ใส่ชุดนักเรียนเสิร์ฟเลย (หัวเราะ)…
“บริษัท โพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด เริ่มต้นปี พ.ศ.2505 ตั้งแต่รุ่นคุณปู่ค่ะ เราเป็นบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถเส้นทางระหว่างอำเภอหาดใหญ่ไปยังอำเภอเมืองสงขลา เริ่มมาตั้งแต่ยังเป็นรถบัสความยาว 12 เมตร ก่อนจะปรับชนิดของรถไปตามยุคสมัย โดยวิ่งอยู่สองเส้นทางคือสายเก่าและสายใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว สมัยนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถส่วนตัว กิจการเดินรถของเราจึงเฟื่องฟูมาก เพราะผู้คนต้องเดินทางไป-กลับสองเส้นทางนี้ตลอด เราทำรถบัสขนาดใหญ่ที่บางรอบจุคนเกือบร้อย…
“เราคิดว่าการสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมเพื่อรู้จักตัวเอง รู้จักชุมชน และรู้จักเมืองที่พวกเขาอยู่ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ช่วยให้เมืองเมืองนั้นมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะแม้เราจะรู้กันดีว่าหาดใหญ่เป็นเมืองการค้าและศูนย์กลางการศึกษาของภาคใต้ แต่เมื่อเราและทีมงานเมืองแห่งการเรียนรู้ มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้คนในชุมชนเลียบคลองเตยย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ กลับพบว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีงานอดิเรก บางส่วนเป็นผู้ประกอบการที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน บางส่วนเป็นคนวัยเกษียณที่รับจ้างเฝ้าร้านให้ผู้ประกอบการอีกทอดหนึ่ง หากไม่ใช่การพักผ่อน คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าจะทำอะไรในเวลาว่าง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะหาดใหญ่ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอ หรือถ้ามีก็กลับใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมองในมุมที่เราเป็นทั้งแม่และอาจารย์ (อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ -…
“ปี 2565 นี้ a.e.y.space จะมีอายุครบ 10 ปี เรียกได้ว่าอาร์ทสเปซแห่งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สมดุลชีวิตของผมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ลงตัวก็ไม่ผิดนัก ผมออกจากงานประจำในฐานะอาร์ทไดเรคเตอร์ของค่ายเพลงแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับมาสงขลาเมื่อราว 15 ปีก่อน ความที่ครอบครัวมีธุรกิจทำประมงและส่งออกอาหารทะเลจึงต้องมาช่วยเขา แต่ทำไปได้สักพักก็พบว่านี่ไม่ใช่ทาง เลยหาเวลาไปรับงานกราฟิกดีไซน์ที่หาดใหญ่มาทำบ้าง เพราะเป็นงานที่ผมถนัดและสนุกกับมันมากกว่า พอรับจ๊อบกราฟิกดีไซน์มากเข้าก็อยากเปิดสตูดิโอออกแบบที่นี่ แต่ก็รู้กันว่าผู้ประกอบการต่างจังหวัดมักไม่ลงทุนกับค่าออกแบบ ผมจึงตัดสินใจเปิดโรงพิมพ์ครบวงจรชื่อ Print…
“สถานีวิทยุ ม.อ. หาดใหญ่ FM 88 MHz เดิมเคยเป็นหน่วยทดลองด้านการแพร่สัญญาณวิทยุของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ก่อนพัฒนาเป็นสถานีวิทยุเพื่อรองรับการเรียนการสอน ต่อมาก็มีการปรับให้เป็นวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจการค้า จนมาช่วงปี 2540 พอสถานีวิทยุอื่นๆ เน้นเปิดเพลงเป็นหลักเหมือนกันหมด เราเลยปรับทิศทางมาเป็นการเผยแพร่งานวิชาการให้สนุก และทำสื่อบันเทิงให้มีสาระ เรามีทีมงานทั้งหมด…
“แม้จะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าของภาคใต้ แต่หาดใหญ่ก็กลับเป็นเมืองที่เล็กมากๆ เพราะเอาเข้าจริงก่อนเมืองมีการขยายออกในรอบหลายปีหลังมานี้ แต่เดิมความเจริญกระจุกตัวอยู่ในระยะเส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 2 กิโลเมตรเท่านั้น เรียกว่าเดินถึงกันได้หมด แต่ในพื้นที่เล็กๆ แค่นั้น หาดใหญ่กลับเต็มไปด้วยความหลากหลายของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ตั้งแต่การเกิดขึ้นของชุมทางรถไฟเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน ยุคสมัยของเหมืองแร่ สวนปาล์ม ยางพารา มาถึงของหนีภาษี และการท่องเที่ยว ซึ่งต้องยกเครดิตให้ชัยภูมิของเมือง เพราะมันมีภูเขาที่บีบเส้นทางลำเลียงทรัพยากรให้ผ่านมาทางนี้…
“โอเดียนเป็นห้างสรรพสินค้ารายแรกๆ ของหาดใหญ่ เริ่มจากการที่เพื่อนผู้ประกอบการในย่าน 10 คน รวมตัวกันเพื่อจัดสรรพื้นที่ขายของภายในอาคารหลังเดียว ใครถนัดอะไรก็ขายสิ่งนั้น บางคนดีลเครื่องเขียนมาขาย กางเกงยีนส์ เสื้อผ้าผู้หญิง และซูเปอร์มาร์เก็ต เราเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2524 โดยตั้งพื้นที่อยู่ตรงข้ามศูนย์การค้าในปัจจุบัน จนปี พ.ศ. 2535 ก็ย้ายมาเปิดอยู่ในอาคารสูง 9…