“ความที่ยะลาเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่กลับมีสถาบันการศึกษาที่ครบในทุกระดับและทุกระบบ รวมถึงเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ TK Park ในระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทยด้วย สิ่งนี้เป็นต้นทุนที่ดีมากๆ ในการส่งเสริมการศึกษาท่านนายกเทศมนตรี (พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) มักจะบอกกับทุกคนเสมอว่า ยะลาคือตักศิลาของการศึกษาทางภาคใต้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องเกินเลยแต่อย่างใด เพราะถ้าเทียบกับหาดใหญ่ที่เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสถาบันอุดมศึกษาที่มากกว่า แต่หาดใหญ่ก็ไม่มีสถาบันที่หลากหลายเท่ายะลา เรามีตั้งแต่โรงเรียนตำรวจไปจนถึงมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตั้งอยู่ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่มีการจัดการศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมในระดับท้องถิ่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในส่วนของเทศบาลนครยะลา เราค่อนข้างมีอิสระในการจัดการศึกษาด้วยตัวเอง…
“แม้จังหวัดยะลาจะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ก็กลับมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจตั้งแต่พื้นที่เมือง ท้องไร่สำหรับทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำ ผืนป่า และภูเขา ทั้งนี้ยะลายังต่างจากสามจังหวัดในชายแดนใต้ที่ต่างมีป่าเขตร้อนชื้นมลายูเหมือนกัน คือยะลามีผืนป่าฮาลาบาลา ที่มีเขตภูเขาฮาลาเป็นภูเขาสูง เป็นป่ามลายูบนพื้นที่สูงแห่งเดียว และเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากอย่างนกไต่ไม้สีน้ำเงิน นกแว่นภูเขา และอื่นๆ ซึ่งมีให้ดูที่นี่ที่เดียวในไทย ภูมิศาสตร์ที่หลากหลายเช่นนี้นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้มากมายมหาศาลที่เกี่ยวเนื่องกัน พวกเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้มันไม่ถูกเผยแพร่ ได้ทำให้เยาวชนในยะลาตระหนักถึงคุณค่าอันนำมาซึ่งการอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นทุนในการพัฒนาเมืองของเราต่อไป…
“พี่เป็นคนนครศรีธรรมราช มีโอกาสมาเยือนยะลาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ชอบความที่เมืองไม่เอะอะวุ่นวาย ผู้คนเป็นมิตร อากาศดี มีสวนสาธารณะที่ร่มรื่น และผังเมืองที่สวยมาก เลยคิดว่ายังไงเสียเราจะต้องสอบบรรจุเป็นข้าราชการที่นี่ให้ได้ ปัจจุบันพี่เป็นผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครยะลา หน้าที่หลักคือทำแผนยุทธศาสตร์ของเมือง นำนโยบายของผู้บริหารแปลงออกมาเป็นงานปฏิบัติการ ดูเรื่องการจัดสรรงบประมาณ แผนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศของเทศบาล เทศบาลนครยะลาเรามีพื้นที่การเรียนรู้หลักๆ คือ TK Park Yala…
“ก่อนหน้านี้เรากับสามีเป็นวิศวกรอยู่กรุงเทพฯ พอเราคลอดลูก ความที่ไม่อยากรบกวนพ่อแม่ให้ขึ้นมาช่วยเลี้ยง และเราก็ไม่ไว้ใจสถานรับเลี้ยงเด็กในยุคนั้น จึงตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับบ้านที่ปักษ์ใต้มาเลี้ยงลูก เราอยู่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ครอบครัวเราทำธุรกิจโรงพิมพ์ ตอนนั้นลูกยังเล็ก ก็พอช่วยงานครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ อยู่พักใหญ่ จนมีอยู่วันหนึ่ง ป้าฝากให้เราขับรถมาส่งของที่ร้านดอกไม้ในตัวเมือง เราเห็นดอกไม้สวยดี ก็เลยซื้อกลับมาสองห่อ กะจะเอาไปขายปลีกที่บ้าน ปรากฏว่าขายวันเดียวหมด เลยขับรถกลับไปซื้อมาขายใหม่…
“ผมเกิดที่ยะลา เรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจนถึง ม.6 แล้วไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อื่น สมัยที่ผมเรียนที่นี่ ชั้นเรียนของผมครึ่งหนึ่งเป็นคนพุทธ อีกครึ่งเป็นคนมุสลิม แต่เราเป็นเพื่อนกันหมด หรือกระทั่งครอบครัวผมที่เป็นคนเชื้อสายจีน ยายและแม่ของผมก็ค้าขายกับคนมุสลิมจนสนิทสนมเป็นเพื่อนฝูงกันมาตลอด แต่ไหนแต่ไร คนยะลาอยู่มาแบบนี้ กระทั่งวันหนึ่งจู่ๆ ทั้งรัฐและสื่อต่างๆ ก็มาบอกว่าเราไม่เหมือนกัน จากนั้นเหตุการณ์ความไม่สงบช่วงปี 2547 ก็มาซ้ำสถานการณ์ ช่องว่างของความแตกต่างจึงถูกถ่างออกไปใหญ่ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ยะลา…
“ส่วนบริหารการศึกษา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กำลังอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องราวท้องถิ่นของเมืองยะลา เพราะเราคิดว่าการทำให้คนยะลารู้จักประวัติศาสตร์และที่มาของบ้านเกิดตัวเองได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากการปูพื้นที่การศึกษาในห้องเรียนตั้งแต่เด็กก่อนหน้านี้เรามีการบรรจุวิชาท้องถิ่นเมืองยะลาไว้อยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังไม่มีตำราเรียนใช้อย่างเป็นทางการที่สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้อ่าน ทั้งนี้ การที่เทศบาลนครยะลาได้ร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดงาน ‘ยะลาสตอรี่’ ซึ่งมีรูปแบบการเล่าเรื่องเมืองยะลาอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย ก็มีส่วนสำคัญทำให้ทางเรากลับมาปรับปรุงหลักสูตรการสอนเรื่องท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของคนรุ่นใหม่ เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ก่อนว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม เรียนเพื่อได้รู้จักตัวเอง รู้จักบ้านเกิดของเราเอง และรู้จักที่จะใช้ต้นทุนตรงนี้มาพัฒนาเมืองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราเอง จากนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่บทเรียนเรื่องท้องถิ่นมีความสนุกสนานหรือเพลิดเพลิน เพราะสิ่งนี้จะทำให้การศึกษาเข้าถึงนักเรียนได้มากที่สุด หลังจากปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียนการสอนอันนี้…
“พ่อแม่ผมเป็นคนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมเกิดที่นั่น ก่อนที่พ่อและแม่ตัดสินใจย้ายกลับมาเปิดร้านอาหารที่เมืองยะลาตอนผมอายุ 2 ขวบร้านอาหารที่ยะลาของครอบครัวตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมไปยังจังหวัดปัตตานีและหาดใหญ่ พอผมจำความได้ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งถนนหน้าบ้านผมนี่มีการวางระเบิดกันบ่อย เพราะมันเป็นเหมือนเส้นเลือดหลัก บ่อยขนาดที่ว่าคนแถวนั้นได้ยินเสียงระเบิดจนชิน เป็นความเคยชินที่ชวนหดหู่นะครับ ช่วงที่ผมโตมานี่ยอมรับว่ายะลาไม่น่าอยู่เลย แต่ละวันดำเนินไปด้วยความหวาดระแวง ขณะเดียวกันบรรยากาศในเมืองมันก็เหมือนถูกประโคมด้วยความแตกแยกทางวัฒนธรรม การที่คุณเป็นคนมุสลิมเข้าไปในบางชุมชนก็จะได้ความรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจในชุมชนนั้น เช่นเดียวกับที่คุณเป็นคนพุทธ และเข้ามาในชุมชนมุสลิมก็จะเจอความรู้สึกคล้ายๆ กันอย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ว่านี้มันกลับไม่เกิดในโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่ ทุกคนไม่ว่าคุณจะนับถืออะไรก็ล้วนเป็นเพื่อนกัน…
“ยะลาเป็นเมืองตักศิลาของการศึกษา เราเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาในระดับภูมิภาคที่มีสถาบันการศึกษาในทุกระดับ ขนาดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคใต้ตอนล่าง ก็ยังตั้งอยู่ที่นี่ ผมตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และนั่นทำให้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครยะลา จึงมีวิสัยทัศน์อันเด่นชัด โดยวาง motto ไว้ว่า ‘สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน’ และเพราะเหตุนี้ เทศบาลนครยะลาจึงให้ความสำคัญกับพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ เพราะเราเห็นว่าพื้นที่ของการใช้ชีวิตและพื้นที่ของการเรียนรู้คือพื้นที่เดียวกัน เรามีอุทยานการเรียนรู้ TK Park…
“ผมเป็นคนอำเภอยะรัง เรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ ม.อ. ปัตตานี ช่วงที่เรียนผมมีความฝันอยากทำภาพยนตร์ และสนใจบอกเล่าวัฒนธรรมร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เลยรวมเพื่อนทั้งหมด 5 คน ตั้งกลุ่มทำหนังสารคดีประกวดของโครงการ Deep South Young Film Maker เรื่องแรกที่เราทำด้วยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีสามรุ่นในสังคมมุสลิมของสามจังหวัด ตอนส่งประกวด กรรมการเขาก็ให้ตั้งชื่อกลุ่ม คุยกันอยู่สักพัก แล้วมาลงเอยที่ชื่อ…
“ถามว่าเด็กยะลาขาดอะไร มองในภาพรวม ผมว่าคงจะตอบยาก เพราะเอาจริงๆ เด็กยะลามีต้นทุนที่ดีกว่าเด็กในเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองมากกว่า ผมไม่ได้เกิดที่ยะลา แต่เริ่มต้นชีวิตราชการครั้งแรกที่นี่ โดยระหว่างนั้นก็มีโอกาสย้ายไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่นอยู่พักใหญ่ ก่อนกลับมาประจำที่เมืองแห่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิตและสาธารณูปโภคของเมืองอื่นๆ ที่ผมไปเจอมา ผมกล้าพูดว่าถ้ามองเรื่องต้นทุน เด็กยะลากินขาด ในเขตเทศบาลนครยะลาเรามีครบทั้งสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับ มีสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในสวนและพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ…