ยะลา

กิจกรรมวงออร์เคสตราเยาวชนมาไกลกว่าการเป็นเครื่องมือสลายความขัดแย้ง แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นความภูมิใจหนึ่งของเยาวชนยะลา

“ย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2547 ยะลาเคยเป็นเมืองที่น่ารักและน่าอยู่มากๆ จำได้ว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรก็ล้วนเป็นมิตร คนในชุมชนรู้จักและเข้าถึงกัน บางคนต่างศาสนาแต่กินข้าวโต๊ะเดียวกันก็มีให้เห็นบ่อย แต่พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พอเกิดความรุนแรง ผู้คนก็หวาดระแวงกัน แถมยังมีกระแสว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในชุมชน จากที่เคยไปมาหาสู่กัน เราก็ค่อยๆ ถอยห่างคนที่อยู่ต่างศาสนา พอมีคนต่างถิ่นหรือคนแปลกหน้าเข้ามา จากที่เราเคยยิ้มแย้มต้อนรับ ก็กลายเป็นความตึงเครียดไม่ไว้วางใจ และพอไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตรงไหนหรือเวลาไหน กิจกรรมในเมืองก็ถูกระงับหมด…

2 years ago

เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้

“เราเติบโตมาในสังคมมุสลิม เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางบรรยากาศที่ค่อนข้างเคร่งครัด ขัดแย้งกับตัวตนที่เป็น LGBT ของเรา ตอนเป็นวัยรุ่นเราคิดมาตลอดว่าสิ่งที่เราเป็นคือปมด้อย เราก็พยายามกลบปมด้อยด้วยการตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันที่นั่นที่นี่ และทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้ เป็นความเคยชินในวัยเด็กที่ดูตลกร้ายมากๆ จนได้มารู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์) ในช่วงที่เราเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละ ที่ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง พี่บอลเป็นเหมือนแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกสาวอย่างพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร…

2 years ago

คนเราเกิดมา สิ่งสัมผัสแรกก็คือผ้า และสิ่งสุดท้ายที่จะอยู่กับร่างกายเราจนตายก็คือผ้า ผ้าคือวิถีชีวิตของมนุษย์ ผมจึงคิดว่า ทำไมเราไม่สนใจเขาหน่อยหรือ

“ปี 2558 ผมเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหานิทรรศการที่ TK Park ยะลา และมีโอกาสได้จัดนิทรรศการผ้าพื้นถิ่นภาคใต้ชื่อว่า ‘นุ่ง ห่ม พัน วิถีแดนใต้’ โดยนำผ้าโบราณจากภาคใต้ขึ้นไปจัดแสดงที่กรุงเทพฯ งานค่อนข้างใหญ่ และมีนักสะสมผ้าจากทั่วสารทิศมารับชมนิทรรศการนี้จุดประกายให้ผมสนใจศึกษาเรื่องผ้าพื้นถิ่นในเชิงลึกอย่างมาก ขณะเดียวกัน ระหว่างที่จัดงาน ก็มีกูรูเรื่องผ้าคนหนึ่งมาทักว่ามีข้อมูลในงานจุดหนึ่งคลาดเคลื่อน ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับผ้าเปอลางี ซึ่งเป็นเทคนิคการทำผ้ามัดย้อมชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมมลายู ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นปมในใจผมมาก…

2 years ago

ผมเหมือนคนที่ตกค้างอยู่ในกระแสของกาลเวลานะ อาชีพที่ดูเหมือนจะสูญหายไปจากสังคมแล้ว แต่ก็ยังมีผมที่หลงเหลืออยู่

“เริ่มจากอาของผมที่เป็นนายช่างเขียนคัทเอาท์ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตในอำเภอสุไหงโกลก ตอนนั้นผมเรียน ม.1 เรียนได้ครึ่งเทอม เห็นว่าที่บ้านไม่ค่อยมีเงินส่งผมเรียนแล้ว จึงลาออก และขอตามไปอยู่กับอา ไปให้อาฝึกเขียนรูปให้ หวังทำเป็นอาชีพผมไม่มีทักษะทางศิลปะเลย ก็เริ่มจากไปช่วยอาเตรียมเฟรมวาดรูป กวนสี และล้างพู่กันให้ ระหว่างที่อาเขียนรูป ผมก็ดูวิธีการทำงานของเขาแทบไม่กะพริบตา ทำแบบนี้อยู่สองปี จนรู้แล้วว่าจะวาดเส้น ลงสี หรือลงน้ำหนักพู่กันอย่างไร อาก็ให้ผมลองลงมือเขียน ที่โรงหนังเฉลิมเขตจะมีช่างใหญ่ซึ่งก็คืออาผมหนึ่งคน…

2 years ago

เราจัดงานให้หน่วยงานรัฐก็ย่อมมีการเมืองเข้ามาบ้าง แต่พอทำงานจนเชี่ยวชาญ ก็ทำให้เรารู้ว่าจะต้องคุยกับใครอย่างไร ต้องรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร

“ที่บ้านทำธุรกิจติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์มาก่อนค่ะ ทำได้พักใหญ่จนพ่อรู้สึกอิ่มตัว แกก็เลยขยับไปทำเครื่องเสียง PA หรือระบบกระจายเสียงกลางแจ้งสำหรับงานมหรสพและคอนเสิร์ต พ่อเป็นคนที่มีความครีเอทีฟสูง พอทำเครื่องเสียงไปได้สักพัก แกก็รับจัดออร์แกไนซ์พวกงานหรือเทศกาลต่างๆ ด้วยตัวเอง จนเปิดเป็นบริษัทที่รับจัดงานออร์แกไนซ์ที่ครบวงจรที่สุดในจังหวัดยะลา เราซึมซับกับสิ่งที่พ่อทำมาตลอด แต่ตอนแรกไม่คิดจะสานต่อเลย เราอยู่กับเขามาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบก็อยากไปทำงานของตัวเองบ้าง ก็เริ่มจากงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก่อนจะย้ายมาทำงานในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ความที่เรายังอยู่บ้านเดียวกัน พ่อเป็นคนควบคุมงานด้วยตัวของแกเองคนเดียว จึงเห็นว่ามีบ่อยครั้งที่พ่อต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น…

2 years ago

ลูกค้าประจำบางคนสนิทกัน มาสั่งก๋วยจั๊บตีนชามนึง หรือแบบสั้นๆ ‘ขอตีนถ้วย’ ก็มี

“พ่อผมมีลูก 12 คน พ่อส่งทุกคนเรียนด้วยการขายก๋วยจั๊บ น้องชายคนเล็กทำงานสายการบิน อีกคนเปิดบริษัทขายส่ง อีกคนเป็นหมอ ส่วนผมทำงานธนาคาร เกษียณมา 8 ปีแล้ว ตอนนี้เป็นประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยะลา ถ้าวันไหนว่างก็จะมาช่วยน้องชายและน้องสาวขายก๋วยจั๊บ ซึ่งทั้งคู่สืบทอดกิจการต่อมาจากพ่อโดยตรง ก๋วยจั๊บเริ่มขายรุ่นพ่อ ทุกวันนี้ขายมา 60 ปีแล้ว เมื่อก่อนพ่อจะทำก๋วยจั๊บบนรถเข็น ตั้งขายอยู่ในตรอกเล็กๆ…

2 years ago

“ความงดงามของการให้ คือการที่ผู้รับรับบางสิ่งมาอย่างรู้คุณค่า และหาวิธีส่งต่อให้ผู้อื่นเป็นทอดๆ อย่างนี้ไม่สิ้นสุด”

“หนูเกิดและโตที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พอเรียนถึง ม.6 แม่บอกว่าที่บ้านไม่มีเงินส่งให้หนูเรียนต่อแล้ว จบ ม.6 ต้องออกมาช่วยทำงานเลยครอบครัวหนูทำงานรับจ้างทั่วไปค่ะ มีพี่น้องอยู่ 4 คน ไม่มีใครได้เรียนต่อเลย ไม่ใช่ว่าไม่อยากช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงินนะ แต่หนูคิดว่าถ้าได้เรียนต่ออย่างน้อยระดับปริญญาตรี การศึกษาจะทำให้เรามีโอกาสได้ทำงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวได้ ซึ่งก็พอดีกับที่หนูเคยร่วมกิจกรรมของกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้) ทราบว่าทางกลุ่มมีโครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาส หนูเลยเขียนจดหมายไปขอทุนการศึกษา หนูสอบติดคณะวิทยาการจัดการ…

2 years ago

ขณะที่คนในภาคอื่นๆ พบปะเพื่อนฝูงตามร้านอาหารในมื้อเย็น คนยะลาส่วนใหญ่จะเจอหน้ากันตอนเช้า ร้านอาหารเช้าจึงเหมือนเป็นชีพจรของคนที่นี่

“สูตรอาหารของยายส่วนใหญ่ได้มาจากคุณยายของยายอีกที ยายจะทำอาหารเช้าที่คนที่นี่กินกันโดยเฉพาะพี่น้องมุสลิม เช่น โรตีมะตะบะ นาซิดาแฆ ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ข้าวยำ และอื่นๆ เมื่อก่อนขายอยู่ที่ย่านตลาดเก่า ก่อนข้ามทางรถไฟมาเปิดร้านตรงทางเข้าตลาดสดยะลาตอนปี พ.ศ.​ 2500 ตอนนี้ก็รุ่น 4 เป็นรุ่นหลานยายดูแลเป็นหลักแล้ว ถึงจะส่งต่อให้รุ่นหลัง ยายก็ยังชอบทำอาหารอยู่ ทุกวันนี้ก็ยังตื่นตี 4 มาช่วยเขา…

2 years ago

นี่คือเมืองเล็กๆ ที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย วิถีชีวิตผู้คนค่อนข้างแตกต่างกันมาก แต่ทุกคนกลับเป็นมิตร

“หนูเป็นคนอำเภอรามัน ย้ายมาอยู่ในตัวเมืองยะลา เพราะเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ หนูเรียนคณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ เพราะชอบทำสื่อ และอยากทำภาพยนตร์ค่ะระหว่างเรียน หนูก็มีโอกาสทำหนังสั้นและสารคดีส่งประกวดตามเวทีต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะทำตามโจทย์ของการประกวด เช่น ประเด็นสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างหลังที่หนูสนใจเป็นพิเศษ แต่ขณะเดียวกัน เมื่อค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองยะลาเพื่อจะนำมาพัฒนาเป็นบทสารคดี หนูกลับพบว่ามีข้อมูลเชิงเอกสารที่ถูกเผยแพร่ค่อนข้างน้อย ทั้งๆ ที่มีเรื่องน่าสนใจตั้งเยอะ ที่ผ่านมา…

2 years ago

“การศึกษาไม่ได้มีแค่การฟังครูสอนหรืออ่านตำราเท่านั้น แต่การทำกิจกรรมอื่นๆ หรือกระทั่งการเล่นสนุก ก็เป็นการเรียนรู้ได้”

“คุณครูเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 ธนวิถี ยะลา โดยโรงเรียนของครูจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีทั้งคนมุสลิมและพุทธ โดยหลักๆ เราเน้นให้เด็กระดับปฐมวัยสามารถอ่านออกเขียนได้ ขณะเดียวกันเราก็พยายามปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเด็กๆ ทุกช่วงวัย หนึ่งในแนวทางที่ว่าคือแผนการพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมตามความถนัดของเด็กๆ ซึ่งนี่เป็นนโยบายที่ครูพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นมา โดยนักเรียนห้องหนึ่งจะมีราว 30 คน สายชั้นหนึ่งจะมี 5 ห้องเรียน ทางเราก็จะจัดกลุ่มความสนใจและความถนัดของเด็กแต่ละคน…

2 years ago