[THE CITIZENS]ณรัศมิน เทพมณีนักธุรกิจและนักพัฒนาเมืองกลุ่ม “ลำพูนพัฒนา”

“พื้นเพของครอบครัวผมเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ คุณตาของผม สันติ์ เทพมณี เป็นอดีตรัฐมนตรี สส. และ สว. ของจังหวัดลำพูน พ่อของคุณตา – สุข เทพมณี ก็เป็นอดีตนายกเทศมนตรีเมืองลำพูน (พ.ศ. 2488-2496) คุณตาท่านโลดแล่นอยู่ในวงการเมืองมายาวนาน

นอกจากงานด้านการเมือง คุณตาและคุณยายยังเป็นนักธุรกิจด้วย บ้านที่ผมอยู่บริเวณหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยทุกวันนี้ แต่เดิมคือโรงงานทอผ้าอินทพานิช ซึ่งเป็นของคุณยาย เช่นเดียวกับโรงงานทอผ้าหริภุญชัยที่ตั้งอยู่ที่เวียงยองที่เป็นของคุณตา ทั้งสองแห่งเป็นทั้งโรงงานและโรงเรียนสอนทอผ้าแห่งแรกของเมือง ซึ่งเปิดทำการช่วงปี 2470-2492 หรือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวได้ว่าเป็นธุรกิจที่ช่วยวางรากฐานอุตสาหกรรมการทอผ้าของจังหวัดลำพูน


ทุกวันนี้โรงงานทั้งสองแห่งปิดทำการไปแล้ว ครอบครัวผมก็ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็นร้านค้า ขายพวกเครื่องเงินและผ้าไหม ส่วนผมก็ทำตลาดพระเครื่องซึ่งเป็นความสนใจส่วนตัว

อันที่จริง ผมสามารถทำธุรกิจของผมไปได้เรื่อย ๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ความที่อยู่เมืองนี้มาตั้งแต่เกิด และตระหนักดีว่าเมืองมันจะพัฒนาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเมืองท้องถิ่นและการสร้างความร่วมแรงร่วมใจของประชาชน ผมจึงพยายามมีส่วนร่วมในการทำงานการเมืองมาตลอด โดยเริ่มจากการก่อตั้งสภาเด็กและเยาวชนในปี 2548 ก่อนจะทำงานจิตอาสาด้านการพัฒนาเมืองในนามกลุ่ม ‘ลำพูนพัฒนาเมือง’ ที่ครอบครัวฝั่งแม่ของผมก่อตั้งขึ้นหลายสิบปีก่อน ซึ่งผมทำงานนี้มาร่วมสิบกว่าปีได้แล้ว

จริงอยู่ที่แต่เดิมกลุ่มลำพูนพัฒนาเมืองเป็นคู่แข่งทางการเมืองกับกลุ่มคุณธรรมของนายกบุ่น (ประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูนคนปัจจุบัน) แต่ผมก็ไม่ได้มองเห็นประโยชน์อะไรที่ต้องขัดแย้งกัน โดยที่ผ่านมา ผมก็พยายามรวมเสียงจากคนรุ่นใหม่สะท้อนไปยังเทศบาลฯ เพื่อช่วยในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ผมมองว่าสิ่งที่เทศบาลฯ ขาดอยู่ตอนนี้คือพลังจากคนรุ่นใหม่ มีบ้างที่เขารับฟังเสียงของพวกเรา แต่กับหลายเรื่องที่เขาไม่รับฟัง เราก็ทำในพื้นที่ของเราต่อไป

ผมหวังว่าเมืองลำพูนจะเป็นเมืองแห่งโอกาส ที่คนรุ่นใหม่สามารถใช้ชีวิต และทำงานในบ้านเกิดของเขาโดยมีฐานะที่มั่นคง ผู้สูงอายุก็สามารถอยู่ได้ด้วยสวัสดิการที่ยั่งยืน ทำให้ลำพูนเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนทุกวัยอย่างแท้จริง”  

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Citizens]<br />พินิจ ราชตา

“มหาวิทยาลัยวัยที่สามคือพื้นที่ของคนสูงวัยที่หัวใจไม่แก่ตาม” “นักศึกษาในมหาวิทยาลัยวัยที่สามของเรามีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป อาวุโสสุดนี่ก็ 80 กว่าปี ใช่ครับ… ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ที่นี่คือโรงเรียนผู้สูงอายุทำไมจึงเรียกมหาวิทยาลัย? เพราะโรงเรียนเราเริ่มต้นดำเนินการโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็เลยเรียกชื่อนั้น แต่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนผู้สูงอายุทั่วไปก็ตรงที่ คณะกรรมการของเราเป็นประชาชนทั่วไปในชุมชนต่าง…

1 day ago

[The Insider]<br />สรวงสุดา คุณาแปง

“เพราะไม่ใช่แค่คนในเมืองมีความสุข แต่อาชีพฐานรากของเมืองอย่างเกษตรกร ก็ต้องมีความสุขด้วย” “จริง ๆ ชุมชนป่างิ้ว และชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่บริเวณหาดเชียงราย เขาริเริ่มทำเกษตรปลอดภัยมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเทศบาลนครเชียงรายก็เล็งเห็นว่าที่นี่คือชุมชนต้นแบบสำหรับเมืองอาหารปลอดภัย จึงนำมาสู่การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรปลอดภัยภายใต้โครงการ ‘ปลูกเพาะรักษ์’ ขึ้นเมื่อปี 2566…

1 day ago

[The Citizens]<br />สนอง บุญเรือง

“ทุกวันนี้ป่าในเมืองใหญ่เหลือน้อยเต็มทีแล้วแต่ที่พิเศษคือที่นี่เป็นทั้งป่าชุมชนและแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน” “ในพื้นที่ระดับเทศบาลนคร มีไม่กี่เมืองหรอกที่จะมีภูเขา ป่าชุมชน และวิถีดั้งเดิมของชาวบ้านเหลืออยู่ ชุมชนดอยสะเก็นที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงรายคือหนึ่งในนั้นชุมชนเราอยู่ห่างจากย่านใจกลางเมืองแค่ 5 กิโลเมตร ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและยังคงมีวิถีในการหาของป่า โดยมีดอยสะเก็นที่อยู่ติดกับหมู่บ้านเป็นแหล่งทรัพยากร และความที่เรามีเอกลักษณ์เช่นนี้ ทางชุมชนและเทศบาลนครเชียงรายจึงเห็นศักยภาพในการพัฒนาที่นี่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่ของเมืองขึ้นจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อโรงเรียนบ้านทุ่งมน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่เชิงเขาในหมู่บ้านปิดตัวลงเมื่อหลายสิบปีก่อน พื้นที่โรงเรียนถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามกีฬาของหมู่บ้าน ขณะที่อาคารเรียนก็ถูกใช้เป็นที่ประชุมเหมือนศาลาประชาคม…

1 day ago

[The Insider]<br />รุ่งธรรม ธรรมรักษ์

“เขื่อนป้องกันน้ำท่วมเป็นการรับมือที่ปลายเหตุสำคัญกว่านั้นคือวิธีบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง” “พูดถึงเรื่องน้ำท่วมเชียงราย จริง ๆ แล้ว เทศบาลฯ เรามีการทำโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับพอสมควร แต่ต้องยอมรับว่าครั้งที่ผ่านมา (ปี 2567) เป็นครั้งที่หนักที่สุดในรอบหลายสิบปี และเราไม่อาจรับมือได้ทันการหนึ่งในข้อจำกัดของเมืองคือ พื้นที่ริมแม่น้ำกกที่พาดผ่านเมืองส่วนใหญ่เป็นที่ดินเอกชน ทำให้มีการจัดการที่ยากกว่าหลาย ๆ…

1 day ago

[The Researcher]<br />ดร.สิรินันท์ สุวรรณาภรณ์

“เชียงรายเผชิญปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุพืชเชิงเดี่ยวมานาน เราจึงใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกใหม่ ให้เกษตรกรค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านสู่การปลูกพืชสมุนไพรคุณภาพสูงแทน” อาจดูเหมือนเป็นความบังเอิญ แต่ในปี 2562 ปีเดียวกับที่เทศบาลนครเชียงรายได้รับเลือกให้เป็น “เมืองแห่งการเรียนรู้” เมืองแรกของประเทศไทยในเครือข่าย UNESCO Global Network of Learning Citiesมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงก็ได้จัดตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร”…

1 day ago

[The Mayor] วันชัย จงสุทธานามณี

พลวัตการเรียนรู้ สู่เมืองเชียงรายที่น่าอยู่ “ถามว่าเชียงรายน่าอยู่อย่างไร คำตอบมีเยอะมากครับแต่สำหรับผม เชียงรายที่น่าอยู่ คือเมืองที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ เติบโต และใช้ศักยภาพของตัวเองสร้างชีวิตที่ดีขึ้น” ในห้องประชุมบนชั้น 2 ของสำนักงานเทศบาลนครเชียงราย นอกจากจะเห็นโล่และเหรียญรางวัลด้านการบริหารและพัฒนาเมืองที่เทศบาลฯ แห่งนี้ได้รับมากมาย เรายังเห็นแผนภาพกรอบวิสัยทัศน์การพัฒนาเมือง พร้อมภาพถ่ายการปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายเต็มสองข้างของผนัง…

2 days ago