[The Citizens] ทีมครูโรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต (ท.6)และกรรมการตัดสินอีสปอร์ตสมาคมกีฬาอีสปอร์ตจังหวัดนครสวรรค์

มนตรี นามแฮด / เพิ่มยศ บำรุงศรี / จิรพัส รอดศรีสมุทร / ธิติสวรรค์ แตงเหลือง / อัครเดช ขวัญเมฆ

“นอกจากครูมนตรี พวกเราไม่ได้สอนวิชาสายเทคโนโลยีเลยนะครับ คนหนึ่งสอนภาษาไทย คนหนึ่งสอนภาษาอังกฤษ คนหนึ่งสอนดนตรี แต่จุดร่วมที่เรามีเหมือนกันคือชอบเล่นเกม และอยากช่วยพัฒนาทักษะ และความรับผิดชอบให้นักเรียนผ่านการเล่นเกม

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2565 ครูกระชายเป็นคนแรกที่พาเด็ก ๆ ไปแข่งขันอีสปอร์ตในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตอนนั้นเรายังไม่รู้หรอกว่า มันจะพาเราไปถึงจุดไหน รู้แค่ว่าเด็ก ๆ สนใจ และเราเองก็อยากเข้าใจมันให้ลึกกว่านี้ พอได้เข้ามาเรียนรู้จริง ๆ เรากลับพบว่า เกมไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป แต่มันคือศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยีเกือบทุกอย่าง คอมพิวเตอร์แรง ๆ มือถือจอรีเฟรชเรตสูง ซีพียูเร็ว ๆ แรมเยอะ ๆ ล้วนเกิดจากความต้องการของโลกเกมทั้งนั้น เกมจึงเป็นแรงขับของนวัตกรรมของโลกอย่างแท้จริง

ความที่โรงเรียนเทศบาล 6 มีชื่อเสียงด้านดิจิทัล จากที่ครูมนตรีได้บุกเบิกไว้ ทั้งด้านโค้ดดิ้ง และโรโบติกส์ รวมถึงมีห้องเรียนดิจิทัลที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็ก ๆ พอเทศบาลฯ ตัดสินใจขับเคลื่อนเรื่องอีสปอร์ตในสถานศึกษา โรงเรียนเราเลยเป็นที่แรกที่นำร่อง

เราจึงรวมตัวกันเพื่อช่วยกันพัฒนาหลักสูตรอีสปอร์ต โดยการค้นคว้างานวิจัยจากต่างประเทศ และออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนโดยเริ่มที่มัธยมต้นและมัธยมปลายก่อน จากนั้นก็ส่งหลักสูตรไปให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณา

ขณะเดียวกัน เมื่อสมาคมอีสปอร์ตจังหวัดนครสวรรค์ก่อตั้ง เขาก็ส่งพวกเราไปอบรมเป็นโค้ชและกรรมการตัดสินกีฬาอีสปอร์ตอย่างจริงจัง ก่อนที่หลักสูตรนี้จะได้รับการอนุมัติในปี 2566 พอปีต่อมา เราก็เปิดอีสปอร์ตเป็นวิชาเลือกอย่างเป็นทางการ โดยเราเป็นโรงเรียนรัฐแห่งแรกในประเทศที่มีหลักสูตรนี้

เราไม่ได้ตั้งเป้าจะสร้างนักกีฬาอีสปอร์ต แต่เป็นการส่งเสริมให้เกิดบุคลากรในนิเวศอีสปอร์ตและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ทั้งโค้ช กรรมการ ผู้จัดการแข่งขัน แคสเตอร์พากย์เกม คนรับหน้าที่สตรีมมิงถ่ายทอดสด และเทคนิคเชียน รวมถึงบุคลากรในสายเทคโนโลยีและสื่ออื่น ๆ  เช่น ดิจิทัลออร์แกไนเซอร์ หรือคอนเสิร์ต

เด็กที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้จึงไม่ได้แค่เล่นเกม แต่พวกเขาได้ฝึกปฏิบัติจริง ผ่านการจัดการแข่งขันที่เราทำร่วมกับสมาคมกีฬาอีสปอร์ตของนครสวรรค์ รวมถึงเทศบาลฯ และ บพท. ยังได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งห้องเรียนอีสปอร์ต เปิดให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนเราเอง และโรงเรียนในสังกัดมาใช้เป็นที่ฝึกซ้อม และเรียนรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ  ของเกม

พวกเขาจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จัดทีม วางระบบ ไปจนถึงลงสนามจริง ซึ่งพอมีการแข่งขันระดับจังหวัดที่ไหน พวกเราจะรับหน้าที่เป็นกรรมการ ขณะที่เด็ก ๆ  ก็จะได้เป็นทีมงานเบื้องหลังจัดการแข่งขัน รวมถึงบางคนยังเป็นอนุกรรมการตัดสินเกมด้วย   

ทุกอย่างเราวางไว้เพื่อให้เด็กได้เจอของจริง เราไม่อยากให้มันจบแค่ในห้องเรียน เพราะเรารู้ว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องผ่านประสบการณ์ ยิ่งเด็กได้ลงมือทำเอง ยิ่งจำแม่น และที่สำคัญคือพวกเขาจะเริ่มเห็นภาพว่าทักษะที่เรียนไปนั้น สามารถเอาไปใช้ทำมาหากินในอนาคตได้

ในมุมของครู เราหวังให้สิ่งนี้ช่วยทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากที่ผ่านมา เราเคยติดตามเด็กที่จบการศึกษาไป บางคนก็ไปทำงานใช้แรงงานเพราะไม่มีทักษะอื่น เราเลยอยากเปลี่ยนตรงนี้ อยากให้เขาได้เรียนรู้ทักษะที่ไปต่อได้ในชีวิตจริง จนสามารถมีทางเลือกในอาชีพการงานอย่างมั่นคง 

เราเชื่อว่าถ้าเราทำต่อเนื่อง สร้างระบบนิเวศให้แข็งแรง ไม่เพียงเด็กในโรงเรียนเรา แต่ยังส่งผลต่อเด็กในจังหวัด รวมถึงการทำให้นครสวรรค์จะกลายเป็นเมืองต้นแบบด้านอีสปอร์ตของภาคเหนือ

ไม่ต้องรอกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอพัทยา หรือภูเก็ต ถ้าในอนาคตใครพูดถึง ‘อีสปอร์ตในภาคกลางตอนบน’ เราอยากให้ทุกคนนึกถึงนครสวรรค์เป็นชื่อแรก และนั่นแหละครับ คือสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวัน”

#เทศบาลนครนครสวรรค์ #นครสวรรค์นครอีสปอร์ต #มหาวิทยาลัยนเรศวร #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #ciap #wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

3 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

3 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago