[THE CITIZENS นครปากเกร็ด] กฤษณ์ จันทร์ทับ ครูสอนศิลปะโรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116

“ครั้งหนึ่งผมมีโอกาสไปดูงานที่โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหนึ่งเดือน สิ่งที่ได้เห็นคือการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน รวมถึงการบูรณาการศาสตร์วิชาต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อขับเคลื่อน แนวทางนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ผมกลับมาพัฒนาการเรียนการสอนที่โรงเรียนผาสุกฯ ที่ผมสอนอยู่

ผมมักจะบอกนักเรียนเสมอว่า เราไม่ได้เรียนศิลปะเพื่อที่จะเป็นศิลปิน แต่การได้เรียนศิลปะจะทำให้มีความคิดที่เป็นระบบ รู้จักวิเคราะห์ มีความอ่อนโยน และเข้าใจคนอื่น ซึ่งมันเป็นทักษะสำคัญในการดำรงชีวิต

พื้นเพผมไม่ใช่คนปากเกร็ด แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาจะ 10 ปีแล้ว เรียกได้ว่าเป็นคนที่นี่ได้เต็มปาก ปากเกร็ดเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่วัฒนธรรมมอญ ไปจนถึงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของเกาะเกร็ด ไม่นับรวมการมีสถานที่ที่เอื้อให้เกิดการเข้าถึงและเข้าใจในสุนทรียะทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่บรรยากาศดีมาก ๆ หรือวัดกู้ (พระนางเรือล่ม) ที่มีพระนอนและจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม

ผมพยายามนำสิ่งเหล่านี้มาบูรณาการกับการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เช่น การให้เด็กออกแบบและสร้างสรรค์หุ่นละครเงาที่เล่าเรื่องราวท้องถิ่น ไปจนถึงการบอกเล่าถึงวิธีการรับมือกับปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นหนึ่งในสื่อการเรียนรู้ที่พวกเราทำกันเอง หรือการทดลองพัฒนาเนื้อดินจากเกาะเกร็ดสำหรับเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น ขณะเดียวกัน เด็ก ๆ  ในโรงเรียนของเราก็มีความสามารถ มีตัวแทนนักเรียนของเราหลายคนสามารถคว้ารางวัลศิลปหัตถกรรมระดับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะครูของเราภาคภูมิใจอย่างมาก

ผมเห็นด้วยอย่างมากที่ทีมนักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดของ บพท. ให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยี Metaverse เข้ามาเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติสำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล 
อย่างไรก็ดี ผมมีข้อเสนอว่า ควรเสริมไปพร้อมกับที่ให้พวกเขาได้เรียนรู้เทคโนโลยี การให้พวกเขาเข้าใจกลไก และกระบวนการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นฐานความคิดที่มั่นคงให้กับเด็ก ๆ และนำสองสิ่งนี้มาสอดประสานเข้าด้วยกัน สิ่งนี้จะช่วยต่อยอดด้านการเรียนรู้ให้กับพวกเขา ไปสู่พลเมืองที่มีคุณภาพ ไม่ว่าพวกเขาจะประกอบอาชีพอะไรในอนาคต”    

#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens

Wecitizens Editor

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago